ร่างทรง เข้าทรง ความหวัง ความเชื่อและความศรัทธา

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ[แก้ไข]

         ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ผู้คนต่างแข่งขันกันในทุกด้านเพื่อพัฒนาปรับปรุงตนเองให้อยู่รอดทั้งในด้านการดำรงชีวิต การทำงานทุกขณะ ทำให้ผู้คนมากมายเกิดความท้อแท้ ขาดที่พึ่ง ขาดกำลังใจเพราะไม่สามารถปรับตัวได้การศึกษาเล่าเรียน ให้สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในใหม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง สิ้นหวังที่จะต่อสู้และใช้ชีวิตในแต่ละวันได้อย่างเป็นสุข เกิดภาวะต้องการที่พึ่ง ต้องการกำลังใจ จนกระทั่งในบางครั้งคิดหวังพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรืออำนาจเหนือธรรมชาติ เพื่อทำให้ตนเองมีจิตใจที่เข้มแข็งเมื่อเกิดภาวะวิกฤติและมีกำลังใจที่จะสามารถเผชิญปัญหาที่กำลังประสบอยู่ให้ผ่านพ้นไปได้อย่างราบรื่น ดังจะสังเกตเห็นได้ทั้งในครัวเรือน เช่น ศาลพระภูมิ รูปเคารพ และในชุมชน เช่น ศาลเจ้า หรือในสถานที่ราชการ ที่ทำงาน เช่น รูปเคารพ เทวรูป เป็นต้น ที่ผู้คนสร้างไว้เพื่อก่อเกิดผลในในด้านจิตใจ และมีความหวังว่าหากบนบาน ขอร้อง หรือแสดงความเคารพนอบน้อมต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น ผี หรือวิญญาณ ต่างๆแล้ว สิ่งคังกล่าวจะให้ความช่วยเหลือต่อผู้ให้ความเคารพในทุกสิ่งตามที่ปรารถนาและหากเป็นไปได้ดังที่ปรารถนาย่อมก่อทำให้เกิดกำลังใจและรู้สึกปลอดภัย จนกระทั่งมีการตอบแทนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ได้บนบานไว้ต่อไป
         ปัจจุบันการทรงเจ้าหรือการเข้าทรงได้มีการพัฒนาไปมาก โดยคนทรงมิได้ประกอบพิธีทรงเข้าเฉพาะในตำหนักทรงหรือหอผีเฉพาะในชุมชนตนเองเท่านั้น แต่ยังได้มีการพบปะสังสรรค์และได้มีการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างกันด้วยการเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทรงเจ้าในงานประจำปีที่คนทรงอื่นขัดขึ้น เช่น งานไหว้ครูประจำบีของบรรดาร่างทรง ที่มีอยู่ทั่วประเทศตามแต่ที่ได้รับการเชื้อเชิญอย่างเป็นประจำและสม่ำเสมอ การกระทำดังกล่าวนอกจากจะเป็นการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ต่อกันให้เกิดขึ้นในกลุ่มของคนทรงแล้วยังเป็นการถ่ายทอดและตอกช้ำความเชื่อของคนที่มีความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติให้มั่นคงยิ่งขึ้นรวมทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งทรงเจ้าให้บุคคลภายนอกได้รับรู้ด้วยเช่นกัน

คำสำคัญ: ร่างทรง, เข้าทรง, ความเชื่อและความศรัทธา

ความหมายของพิธีกรรมการเข้าทรง[แก้ไข]

         พิธีกรรมการเข้าทรง เป็นพิธีกรรมที่มีมานาน โดยมีหลายท่านให้ความหมายไว้ดังนี้ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (2564) กล่าวว่า คนทรง หรือ ร่างทรง หมายถึง คนที่ให้เจ้าหรือผีมาเข้าสิงในตัว การเข้าสิงนั้นเรียกว่า "การเข้าทรง" Lan Anh -VOV5 (2557) กล่าวว่า การทรงเจ้าเป็นพิธีการสื่อสารกับเทพเจ้าต่าง ๆ ผ่านร่างทรง ลักษณะของการเข้าทรงก็คือ การกลายร่างเดิมมาเป็นร่างใหม่ที่มีวิญญาณของเทพเจ้าหรือเทวดาชั้นสูงมาประทับร่างเพื่อประทานพรให้มนุษย์ ณิชาพร จำเนียร และ อรพรรณ พิศลยบุตร (2565) กล่าวว่า พิธีกรรมเข้าทรง หรือ ร่างทรง ในความหมายของคนทั่วไปคือ บุคคลที่สามารถจะรับจิต วิญญาณของผู้อื่นที่จากไปแล้ว หรือ จากจิตวิญญาณของผู้อื่นที่เป็นเทพ เทวดา มาสิงสถิตอยู่ในร่างกายของตัวเองได้
         สรุปความหมายของพิธีกรรมการเข้าทรง คือ การเข้าทรงเพื่อเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของเทพเจ้าต่างๆ ให้เข้ามาประทับร่างของมนุษย์เป็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมโลกของมนุษย์เข้ากับโลกของอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งมีร่างกายของร่างทรงในฐานะเป็นผู้ประกอบพิธีกรรมทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การเชื่อมโลกสองโลกเข้าด้วยกัน

ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมการเข้าทรงของคนไทย[แก้ไข]

         พระครูโสภิตสิริธรรม (สิริธโร ทาอ่อน), บุญส่ง สินธุ์นอก และ สมเดช นามเกตุ (2564) กล่าวว่า ความเชื่อเรื่องพิธีกรรมการเข้าทรงของคนไทยทุกภูมิภาคมีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ความเชื่อและพิธีกรรมเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่มีการถ่ายทอดซึ่งความเชื่อนั้นเป็นเรื่องนามธรรมที่เชื่อมโยงระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนและระหว่างกลุ่มชนกับสภาพแวดล้อมแม้ว่าบุคคลแต่ละบุคคลจะมีความเชื่อเป็นของตนเองแต่ระบบความเชื่อของบุคคลก็เป็นพื้นฐานในการรองรับการอยู่ร่วมกันของกลุ่มเพราะบุคคลที่อยู่ในกลุ่มชนเดียวกันจะผ่านสถาบันแห่งการเรียนรู้ทางสังคมมาคล้ายคลึงกันและสื่อที่จะให้การเรียนรู้ทางสังคมก็จะนำจริยธรรมของศาสนาในสังคมนั้นๆ มาให้การกล่อมเกลาสมาชิกของกลุ่มชนเพื่อให้มีความเชื่อที่คล้ายคลึงกันในทางวัฒนธรรมสำหรับในส่วนของพิธีกรรมนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่ตอกย้ำคุณค่าทางวัฒนธรรมที่แสดงออกโดยการกระทำและถ้อยคำซึ่งในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของขนบธรรมเนียมประเพณีของกลุ่มชนพิธีกรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงชีวิตความเป็นอยู่ความคิดเห็นความรู้สึกของสมาชิกในชุมชนนั้นด้วยการประกอบพิธีกรรมช่วยให้เข้าใจความสัมพันธ์ทางสังคมในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและมนุษย์กับสิ่งที่อยู่เหนือธรรมชาติความเชื่อภายในชุมชนประกอบไปด้วยความเชื่อแบบผีพราหมณ์พุทธซึ่งความเชื่อแบบผีนี้นับเป็นความเชื่อดั้งเดิมที่เป็นรากฐานความเชื่อของคนชนบทและมีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมากและยังคงยึดถือศรัทธามาจนถึงปัจจุบันเสมือนเป็นการให้คุณค่ากับธรรมชาติให้ความเคารพต่อบรรพบุรุษและความเชื่อความเกรงกลัวต่ออำนาจเหนือธรรมชาติโดยได้แสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่ทำให้เห็นว่าคนในสังคมนั้นมีความเชื่อในเรื่องใดบ้างเช่นการแสดงออกมาในรูปของกฎข้อห้ามข้อนิยมต่างๆคำสอนตลอดจนประเพณีพิธีกรรมต่างๆจนกลายเป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตและพัฒนาการของคนในสังคมนั้นๆ ความเชื่อของในสังคมไทยแต่เดิมนั้นไม่ได้มีความแตกต่างจากชนชาติอื่นๆกล่าวคือมีความเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็นว่ามีอำนาจเหนือคนและสามารถบันดาลให้ทั้งคุณและโทษโดยความเชื่อในที่นี้ปรากฏมาในรูปเฉพาะของความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือผี อาทิ การนับถือผีเป็นเทวดาอารักษ์ เช่น รุกขเทวดา เจ้าทุ่ง เจ้าป่าเจ้าเขา การนับถือผีปู่ย่าตายายหรือผีบรรพบุรุษ การถือผีวีรบุรุษ เช่น ผีฟ้า การนับถือผีร้าย เช่น ผีห่า ผีกะ ผีปอบ เป็นต้น ถึงแม้ว่าในทางพุทธศาสนาจะถือว่า การเข้าทรงหรือการทรงเจ้าเป็นเดรัจฉานวิชาแต่กระนั้นความเชื่อเรื่องการเข้าทรงยังคงมีอยู่ในสภาพของสังคมในปัจจุบันที่เป็นสังคมแห่งการแข่งขันเป็นสังคมแห่งการแย่งชิงแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอาความเจริญในด้านวัตถุความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตเป็นสังคมแห่งเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ทำให้ส่งผลให้เกิดความแตกต่างของการดำรงชีวิตระหว่างสังคมชนบทและสังคมเมืองผู้คนในสังคมเริ่มเคยชินกับการอยู่คนเดียวหรือเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้นเวลามีปัญหาต่างๆในชีวิตก็จะแก้ปัญหาด้วยตนเองหรือการที่หันไปพึ่งสิ่งที่ตนเองคิดว่าเป็นที่ปรึกษาที่รอบรู้และสามารถแก้ไขปัญหาของตนเองได้อย่างเช่นการไปหา “ร่างทรง” เพื่อขอให้ประกอบพิธีกรรมการ “เข้าทรง” เพื่อต้องการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงานเรื่องเงินเรื่องเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวหรือเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของตนเองที่กาลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบันอย่างเช่นบางคนเป็นโรคชนิดหนึ่งที่แพทย์ไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคอะไรหรือยังไม่มีวิธีการรักษาการเกิดภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่ไม่สามารถหาคาตอบได้สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้คนหันหน้าไปพึ่งการเข้าทรงมากขึ้นจะเห็นได้จากตำหนักของร่างทรงที่มีจำนวนมากไม่ว่าตำหนักทรงเจ้าเสด็จพ่อ ร.5 ตำหนักทรงเจ้าพระแม่อุมาตำหนักทรงกุมารทองเป็นต้นกระจายไปในตามที่ต่างๆไม่ว่าจะอยู่ในเขตชนบทหรือในเมืองใหญ่แสดงให้เห็นถึงสภาวะการอ่อนแอทางจิตความต้องการหาที่พักพิงผู้ที่ให้คำปรึกษาในด้านต่างๆเพราะมีความเชื่อว่าเทพที่มาเข้าทรงโดยผ่านร่างทรงเป็นเทพที่อยู่บนสวรรค์ต้องการมาช่วยเหลือมนุษย์ยามที่เดือดร้อนเป็นผู้ที่มีอิทธิฤทธิ์สามารถดลปันดาลให้สิ่งที่ตนขอหรือร้องขอได้และเป็นผู้ที่ให้คำตอบทุกปัญหาโดยผ่านกระบวนการ “เข้าทรง”
         ทำไมต้องเข้าทรง
         ยโสธารา ศิริภาประภากร (2557) กล่าวว่า เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงานเรื่องเงินเรื่องเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวหรือเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของตนเองที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน เช่น ปรึกษาเกี่ยวกับรักษาโรคภัยไข้เจ็บชาวบ้านปรึกษาเกี่ยวกับการพยากรณ์ดวงชะตาการสะเดาะเคราะห์การตั้งชื่อและหาฤกษ์ยามการให้ศีลให้พรเสริมบารมีเชื่อว่าร่างทรงคือตัวแทนของผู้เทพผู้มีอำนาจมีอิทธิฤทธิ์เชื่อว่าเจ้าทรงสามารถยกฐานะทางสังคมและฐานะทางเศรษฐกิจให้ดีขึ้นและเชื่อว่าเจ้าทรงสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆให้หายได้

การเข้าทรงในแต่ละพื้นที่[แก้ไข]

         พระครูโสภิตสิริธรรม (สิริธโร/ทาอ่อน), บุญส่ง สินธุ์นอก และ สมเดช นามเกตุ (2564) กล่าวว่า การเข้าทรงเป็นความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับจิตวิญญาณ มีรากเหง้าก่อเกิดขึ้นมาพร้อมกับพัฒนาการทางจิตวิญญาณของมนุษย์ สำหรับสังคมไทยการทรงเจ้าเริ่มปรากฏเป็นหลักฐานที่ชัดเจน แต่การทรงเจ้าถูกปลูกฝังไปพร้อมกับความเชื่อของไทยโบราณ ซึ่งในสังคมไทยโบราณนั้นมีการนับถือผีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นพลังเหนือธรรมชาติ พลังจากบรรพบุรุษ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ ความเชื่อแบบนี้อยู่ในสังคมไทยมาอย่างยาวนาน และการทรงเจ้านั้นก็ยังถูกปลูกฝังไปพร้อมกับหลักธรรมคำสอนของศาสนาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาสนาฮินดู ที่นับถือเทพเจ้ามากมายจนหล่อหลอมเกิดเป็นวัฒนธรรมร่างทรงขึ้นมา การทรงเจ้าและร่างทรงนั้นมีมานานแล้ว ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ ๔ บันทึกไว้ว่ามีการลงโทษคนทรงเจ้า เพราะว่าคนเหล่านี้ก่อให้เกิดความวุ่นวาย รวมถึงปล่อยข่าวลือก่อนเกิดเหตุไฟไหม้อยู่เสมอ เพื่อเป็นการข่มขู่ให้ราษฎรหวาดกลัวไม่กล้าเอาเยี่ยงอย่าง อีกทั้งคนกลุ่มนี้ยังอยู่ในกลุ่มผู้ต้องสงสัยคดีลอบวางเพลิง ดังคำกล่าวที่ว่า “เมื่อกลัวจะมิสมคำดังว่า ก็คิดอ่านการทุจริตทิ้งไฟประกอบเหตุ”
         1. การแต่งกายและเครื่องเซ่นประกอบพิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคเหนือ
         ก่อนวันงานจะมีการจัดเตรียม "ผาม" หรือ "ปะรำ" ขนาดผามแล้วแต่จำนวนคนในตระกูลและผู้เข้าร่วมพิธี หลังคาผามมุงด้วยทางมะพร้าว หญ้าคา หรือใบตองตึง ตกแต่งประดับผามให้สวยงามด้วยทางมะพร้าว ต้นกล้วย ขี้ผึ้ง หม้อน้ำ น้ำต้น ฯลฯ มีผ้าขาวยาวโยงอยู่ตรงกลางผามสำหรับให้ร่างทรงโหนเชิญผีมาเข้าทรง ด้านหน้าผามจะยกพื้นสำหรับวางเครื่องเซ่น เครื่องเซ่นก็จะมีหัวหมูต้ม ไก่ต้มทั้งตัว เหล้า ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ขนม ผลไม้ เช่น กล้วย อ้อย มะพร้าว ฯลฯ ถัดจากอาหารคาวหวานจะมีที่สำหรับจัดวางเครื่องแต่งกายของร่างทรงจำพวก ผ้าโสร่ง ผ้าโพกหัวสีต่างๆ สำหรับผู้ที่จะฟ้อนนุ่งทับลงไปเวลาผีเข้าแล้ว
5-1.jpg

ภาพที่ 1 “ผีมดผีเม็ง” พิธีมอญล้านนา
(ไทยรัฐออนไลน์, 2561)

         2. การแต่งกายและเครื่องเซ่นประกอบพิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคอีสาน
         ฟ้อนผีฟ้า เพื่อเป็นการเซ่นสรวงที่พระองค์เจ้าตื้อ ได้บันดาลให้พวกเขามีความร่มเย็น เป็นสุขในรอบปีที่ผ่านมาอีกด้วย นางเทียมทุกคนจะนั่งสงบในท่าสมาธิ และ ประนมมือ ในระหว่างทำพิธีจะมีหมอแคนขับกล่อมนางเทียม เมื่อผีฟ้าเข้าสิงจะมีอาการตัวสั่น กระทืบเท้า แล้วสั่งให้หาเครื่องแต่งตัวตามที่ชอบมาสวมใส่ ซึ่งแต่ละคนจะทราบแล้วว่าแต่ละองค์นั้น ชอบแต่งตัว ชนิดใด เช่นผีฟ้าผาแดง ชอบผ้าสีแดง สไบแดงและดอกไม้แดง เป็นต้น บางคนก็โพกผ้าขามม้าผ้าไหม เคี้ยวหมากพลู กินเหล้า บางคนก็สูบบุหรี่ ผสมพริกขี้หนู โดยปราศจากอาการไอหรือจาม เมื่อแต่งตัวเสร็จก็ลุกขึ้นรำ บางองค์ ก็ลุกขึ้นร่ายรำเป็นจังหวะเข้ากับเสียงแคน สุดแต่ทำนอง แคนจะพาไป ซึ่งโดยมากเป็นพญาลอบทจรนี้ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ล่องโขง" บ้าง "แมลงภู่ชมดอกไม้" บ้าง ชาวบ้านตามแถบนั้นถ้าใคร เจ็บป่วยต้องการอยากรู้ข่าวถึงญาติพี่น้องที่อยู่ห่างไกลว่าเป็นอย่างไร โดยมากมักจะบอกได้เป็นที่ถูกต้อง แผ่นหินที่แกะสลักเป็นรูปพระเจ้าองค์เจ้าตื้อ แห่งภูพระได้เหลืองอร่ามด้วยแผ่นเปลวที่ผู้คนนำมาปิด ยามลมอ่อนโชยมาเกิดประกายระยิบระยับ อีกทั้งเบื้องหน้าดาด้วยพุ่มบายศรีขนาดเล็ก ที่ชาวบ้านทำมากับมืออย่างง่าย ๆ ด้วยวัสดุที่หาได้ ไม่ว่าจะเป็นใบตองที่นำมาจับพับเป็นรูปเสียงอยู่ด้วย ดอกลั่นทมที่เก็บมาจากต้น ซึ่งขึ้นอยู่รอบภูพระ บ้างก็เป็นกระป่องเก่าปักด้วยต้นไม้เงินต้นไม้เงินต้นไม้ทองที่ทำจากกระดาษสา พร้อมผ้าไตรที่นำมากราบกราน เนื่องจากพระเจ้าตื้อเป็นพระต้องมีการบวงสรวงด้วยผ้าไตร ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวไว้ว่า ถ้าต้องการเลิกพิธีผีฟ้ามีธรรมเนียมอยู่ว่า นางเทียมคนนั้น ต้องเข้าไปกราบเครื่องสังเวยอาการสิงก็จะหายไปและกลับคืนเป็นปกติ
5-2.jpg

ภาพที่ 2 ขะจ้ำผีฟ้า
(ไทยรัฐออนไลน์, 2563)

         3. การแต่งกายและเครื่องเซ่นประกอบพิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคใต้
         "ร่างทรง" หรือ "ม้าทรง" ถือเป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญและโดดเด่นที่สุดกลุ่มหนึ่งในเทศกาลถือศีลกินผักของ จ.ภูเก็ต ขบวนแห่ของแต่ละศาลเจ้าที่ประกอบไปด้วยม้าทรงในชุดจีนหลากสีสัน ตามร่างกายมีของแหลมคมทิ่มแทงใส่ พร้อมเกี้ยวที่หามรูปปั้นองค์เทพต่าง ๆ ผ่านท้องถนนที่คลาคล่ำด้วยผู้มีจิตศรัทธา ท่ามกลางเสียงดังและควันประทัดทั่วบริเวณ การอัญเชิญพองค์เทพจีนเข้าประทับทรง จะต้องบวงสรวงในอ้ามโดยมีม้าทรงและพี่เลี้ยง ๒-๓ คน เป็นผู้ช่วย กล่าวบทอัญเชิญพระจีน ตีล่อโก๊ะ ตีกลอง จุดธูป เผาไม้หอม เซ่นไหว้ด้วยผลไม้บูชาหน้ารูปพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรง ม้าทรงตัวสั่นสะท้าน ส่ายหน้าไปมา มือเกร็งสั่นเทิ้มตลอดเวลา ร่างของม้าทรงจะวิ่งไปที่หน้าแท่นบูชา หยิบธงและอาวุธประจำตัวของพระจีนองค์ที่เข้าทรงได้ถูกต้อง พี่เลี้ยงจะช่วยถอดเสื้อม้าทรงออก แล้วเอาเสื้อยันต์ประจำตัวของพระจีนนั้นมาผูกใส่ให้ การแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรงแล้ว บางครั้งจะคว้าอาวุธ คู่มือ มีทั้งดาบจีน ง้าว ขวาน มีด เหล็กแหลม ลูกตุ้มเหล็ก เป็นต้น ออกมาร่ายรำ ฟาดฟัน ทิ่มแทงร่างกายตนเอง เช่น แก้ม ลิ้น แขน หน้าอก หลัง สีข้าง ตัดลิ้นออกมาเขียนยันต์เขียนฮู้ให้ผู้เคารพเลื่อมใสเก็บไว้เป็นสิริมงคล การกระทำของพระจีนม้าทรงจะไม่รู้สึกตัวไม่มีความเจ็บปวด ซึ่งหลังจากพระจีนออกจากการเข้าทรงแล้ว ร่างม้าทรงจะมีร่องรอยบาดแผลอยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะหายไปเองโดยใช้ยันต์ปิดไว้ ร่องรอยที่แก้มก็เพียงเอาเถ้าขี้ธูปอุดรูไว้ก็จะหายสนิท
5-3.jpg

ภาพที่ 3 ภาพขบวนแห่ในเทศกาลกินเจภูเก็ต ปี 2558
(ทิมมี่ ทิมมี่, ม.ป.ป.)

         4. พิธีกรรมการทรงเจ้าในจังหวัดกำแพงเพชร
         การเข้าทรงมีอยู่ทุกภาค ทุกพื้นที่ของประเทศไทย แต่การทรงจะมีความโดดเด่นหรือเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่นเดียวกับในจังหวัดกำแพงเพชร พิธีกรรมการทรงเจ้า หรือการเข้าทรงนั้น ไทยรัฐออนไลน์ (2564) กล่าวว่า ร่างทรงจะมี 2 แบบ กลุ่มแรก จะเป็นกลุ่มที่ไม่สืบทอดทางสายเลือด คือ อยากจะอัญเชิญองค์ไหนมาลงก็ได้ (ส่วนมากเป็นสมัยใหม่) ส่วนอีกกลุ่ม คือ การสืบทอดทางสายเลือด (เหมือนกับในภาพยนต์เรื่องร่างทรง) กลุ่มที่มีการสืบทอดทางสายเลือด ร่างทรงไม่ได้เข้าแบบสะเปะสะปะเหมือนสมัยนี้ แต่เขาจะเลือกคนที่จะเข้า เช่น เฉพาะคนในตระกูลนี้เท่านั้น นอกจากนั้นแล้ว ศิรินยา ระวังภัย (แหม่ม) (การสัมภาษณ์, 5 ธันวาคม 2565) กล่าวว่า ไม่พบหลักฐานปรากฏว่าเกิดขึ้นเมื่อใดแต่ได้รับการถ่ายทอดจากพ่อแม่และบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งผู้ที่ให้ข้อมูลคือ นางสาวศิรินยา ระวังภัย (แหม่ม) อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 72 หมู่ 3 บ้านสามเรือน ตำบลวังไทร อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ได้ให้ข้อมูลว่า พิธีกรรมเข้าทรงเป็นพิธีกรรมที่มีการรับสืบทอดมาจากคนรู้จัก หรือคนในครอบครัว โดยเป็นพิธีกรรมที่ใช้บุคคลที่เป็นร่างทรงเป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ใช้เพื่อต้องการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องหน้าที่การงานเรื่องเงินเรื่องเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวหรือเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพของตนเองที่กำลังประสบปัญหาอยู่ในปัจจุบัน เช่น คือการที่มีบุคคลในครอบครัวมีอาการป่วยเรื้อรังรักษาทางการแพทย์ไม่หายจึงหาที่พึ่งทางจิตใจโดยการทำพิธีกรรมเข้าทรงเพื่อหาหนทางรักษาให้หายป่วย ในปัจจุบันพิธีกรรมเข้าทรงมีการปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในหลายภูมิภาค และเป็นที่รู้จักในหลายช่วงวัย แต่สำหรับบุคคลที่ไม่เชื่อเกี่ยวกับพิธีกรรมเข้าทรงก็จะมองว่าเป็นเรื่องงมงาย แต่ในทางวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถที่จะหาข้อพิสูจน์ได้ว่าการประกอบพิธีกรรมเข้าทรงทำให้หายจากอาการป่วยได้จริง

ความแตกต่างของพิธีกรรมการทรงเจ้าของแต่ละภูมิภาค[แก้ไข]

         1. พิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคอีสาน การเข้าทรง หมายถึง การที่สิ่งนอกเหนือธรรมชาติซึ่งได้แก่ ผีสางเทวดาหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าเจ้าหรือเทพ ทั้งที่เป็นชายหรือหญิง เด็กและผู้ใหญ่มาสิงสู่หรือเข้าร่างของผู้ที่เรียกว่าร่างทรงเพื่อติดต่อกับมนุษย์รวมตลอดไปถึงการให้ความช่วยเหลือด้วยพิธีกรรมต่าง ๆ เป็นต้นว่ารักษาความเจ็บป่วย ทํานายทายทักดวงชะตาราศีและแม้แต่การให้โชคลาภ โดยขณะที่ทำการเข้าทรงจะแสดงอาการให้เห็น เช่น การเปลี่ยนแปลงของเสียง และกิริยาอาการซึ่งจะแตกต่างไปจากเมื่อยังไม่มีการเข้าเป็นกระบวนการที่มนุษย์ที่เป็นสื่อ หรือ ตัวกลาง ถูกใช้เป็นเครื่องมือจากสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณต่าง ๆ เพื่อนําเสนอข่าวสาร หรือ ทำให้มองเห็นผีหรือการถ่ายทอดพลัง หรือแสดงตัวเพื่อทดสอบหรือชี้แจง ดังนั้น การเข้าทรงประกอบด้วย การกระทำร่วมกันระหว่างบุคคลในโลกนี้ (ร่างทรงหมอทรง) กับวิญญาณ (ผู้ติดต่อ) ซึ่งมีพลังเกิดขึ้นร่วมด้วย ความแตกต่างระหว่างการติดต่อผ่านร่างทรง กับวิญญาณกระทำเอง อยู่ที่การพูดที่แตกต่างกัน การเข้าทรงนั้น ร่างทรงทำให้ร่างกายให้ว่างเปล่าเป็นเวลาสั้น ๆ เพื่อให้วิญญาณเข้าใช้ร่าง ใช้กล่องเสียงในการติดต่อสื่อสาร ผ่านทางร่างทรงสู่จิตใจและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปไม่สามารถควบคุมตัวเองได้สูญเสียความสามารถในการรับรู้และความจําบางครั้งการที่บุคคลหนึ่งถูกวิญญาณเข้าสิงเป็นร่างทรงทำให้บุคคลนั้นสามารถกำหนดหรือสร้างเอกลักษณ์ของตนเองขึ้นมาโดยการบอกเล่าถึงอาการที่ถูกวิญญาณเข้าที่ไม่เป็นเพียงการเสนอภาพของสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวบุคคลนั้นแต่ยังเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเหตุการณ์เข้ากับประสบการณ์ที่ได้รับซึ่งจะกลายเป็นพื้นฐานของการกระทำต่อไปดังนั้นการเข้าทรงจึงเป็นหนทางหนึ่งของการนําเสนอเอกลักษณ์บางลักษณะของบุคคล
         นางทรง (คนทรง) คือ ร่างทรงที่สามารถติดต่อกับเจ้าปู่ หรือเจ้าผู้ที่จะมาเป็นนางทรง จะเป็นผู้หญิงที่จะมีญาติพี่น้องที่เคยเป็นร่างทรงหรือนางทรงมาก่อนจึงจะเป็นร่างทรงได้และร่าง ทรงนี้เจ้าปู่หรือของรักษาจะเป็นผู้เลือกเอง ถ้าร่างทรงอ่อนแอเจ็บไข้ป่วยอยู่เสมอเมื่อเป็นร่างทรงก็จะแข็งแรงหายป่วยผู้ที่เป็นร่างทรงมักจะถูกทาบทามก่อนมิได้บังคับขืนใจ จะต้องสมัครใจเองนางทรงหรือ ร่างทรงนี้จะสามารถสื่อสารติดต่อกับของรักษาได้และจะเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านชาวบ้านจะให้เกียรตินางทรงมากเพราะว่าถือประหนึ่งเป็นตัวแทนในการติดต่อกับของรักษาที่ชาวบ้านนับถือ
         2. พิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคเหนือ การทรงเจ้าเข้าผีในภาคเหนือออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การทรงเจ้าเข้าผีแบบประเพณีดั้งเดิม (traditional spirit mediumship) และลัทธิพิธีทรงเจ้าเข้าผีสมัยใหม่(modern spirit mediumship) ลัทธิพิธีแบบแรกเป็นการสืบทอดการเข้าทรงเจ้าเข้าผีที่มีมาแต่เดิมในชุมชนชนบท ส่วนแบบที่สองเป็นลัทธิพิธีทรงเจ้าเข้าผีในเมือง แม้ทั้งสองแบบจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนักในเรื่องของความเชื่อและพิธีกรรม แต่ลัทธิพิธีทรงเจ้าเข้าผีแบบสมัยใหม่มีองค์เจ้าที่มาจากอินเดีย จีน และวีรบุรุษวีรสตรีในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมทั้งเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการสนับสนุนอุดมการณ์ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ในชุมชนในเขตภาคเหนือว่ายังพบเห็น “คนทรง” หรือ “ม้าขี่” ที่ยังคงทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างคนและผีอย่างเหนียวแน่น ด้วยตามพื้นฐานความเชื่อของชาวล้านนาเชื่อว่าพวกเขาเป็นลูกหลานของผีแถนและมีตำแหน่งแห่งที่สำหรับคนและผีในการอยู่ร่วมกันโดยคล้ายกับว่า ในหมู่บ้านหนึ่งภายในชุมชนได้มีทั้งโลกของชาวบ้านที่เป็นมนุษย์และโลกของผีที่เกี่ยวข้องกับคนในชุมชนซ้อนกันอยู่การจัดตำแหน่งความสำคัญของผีจึงเป็นไปตามระบบหน้าที่ผีที่มีความสำคัญกับชาวล้านนาที่มีส่วนในการควบคุมความประพฤติของคนในชุมชนและช่วยในการจัดระเบียบความสัมพันธ์ทั้งในระดับครอบครัวจนถึงระดับชุมชน ได้แก่ ผีปู่ย่าทำหน้าที่รักษาความสัมพันธ์และความสงบสุขของสังคมเครือญาติผีเสื้อบ้าน หรือ ผีเจ้าบ้านทำหน้าที่บันดาลความอุดมสมบูรณ์และคุ้มครองความสงบสุขของคนในชุมชนตลอดจนเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตระกูลและเครือญาติให้ยอมรับกฎเกณฑ์ร่วมกันของชุมชน ผีเจ้าวัดทำหน้าที่ดูแลศาสนสถานและคุ้มครองพระเณรในวัดให้อยู่ในพระวินัย ผีขุนน้ำ ทำหน้าที่ดูแลแหล่งน้ำและบันดาลน้ำให้แก่เรือกสวนไร่นาของคนในชุมชน ผีเจ้านายหรือผีวีรบุรุษทำหน้าที่สำคัญที่คุ้มครองดูแลความสงบและปกปักษ์รักษาทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่คน สัตว์ไร่นา ป่า และลำน้ำ มีกำลังอำนาจแผ่ไปไกลมากกว่าผีปู่ย่าหรือผีเจ้าบ้าน ดังนั้นการได้พบกับผีดังกล่าวจึงคงต้องอาศัยสื่อกลางที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ม้าขี่”มาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนและผีต่าง ๆ ซึ่ง “การเข้าทรง” หรือ “การลงผี” นี่เองได้กลายเป็นพิธีกรรมสำคัญที่พบเห็นได้ในทุกหมู่บ้านในเขตภาคเหนือที่จะทำให้คนในชุมชนสามารถได้พบปะติดต่อสื่อสารและขอความช่วยเหลือจากผีที่ชาวชุมชนให้ความสำคัญ รวมทั้งการเลี้ยงหรือเซ่นไหว้เป็นประจาทุกปีเพื่อให้ผีดังกล่าวมีความพึงพอใจและทำหน้าที่คุ้มครองคนในชุมชนใดังจะได้ยกตัวอย่างการเข้าทรงของผีเจ้านายทางภาคเหนือผีเจ้านาย เป็นผีที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตมากขึ้น แม้ว่าจะอยู่ในสังคมสมัยใหม่ผีเจ้านาย คือผีที่มาอาศัยยืมร่างของม้าขี่ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวผ่านร่างม้าขี้สู่ลูกเลี้ยงและลูกหลานผีเจ้านาย อาจะจะได้แก่ดวงวิญญาณของเจ้าเมือง นักรบผีเสื้อเมือง ผีเสื้อบ้าน ผีปู่ย่า หรือผีอารักษ์ต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นผีระดับชั้นเทพ ทั้งที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์หรือนิทานปรัมปราในปัจจุบัน ความเชื่ออัตลักษณ์ตัวตนของผีเจ้านายมีความหลากหลายมากขึ้น มนุษย์ปุถุชนหากทำคุณความดีไว้มาก เมื่อตายไปอาจจะกลายเป็นผีเจ้านายได้พระสงฆ์ที่บรรลุฌานสมบัติผีร้ายต่าง ๆ เช่น ผีกะ ยักษ์ ผีพราย รวมถึงสัตว์ที่มีอำนาจบางประเภท ก็อาจจะเป็นผีเจ้านายได้เช่นกัน เช่น เจ้าพญาจ้างเผือก เจ้าพญาเสือสมิง เจ้าหงพราย เจ้ากะยักษ์เจ้าผู้หนามงิ้ว ขุนอินคา เป็นต้น ผีเจ้านายทำหน้าที่ช่วยเหลือมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยาก ปัดเป่าเคราะห์รักษาอาการเจ็บป่วย ช่วยเหลือด้านความเจริญรุ่งเรือง อำนวยความสุขสมบูรณ์ฯ ความร่มเย็นให้กับม้าขี่ ชุมชน และลูกเลี้ยง ปัจจุบันความเชื่อเรื่องผีเจ้านาย มีความหลากหลายและมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นให้มีความสงบสุขและบันดาลความอุดมสมบูรณ์ให้กับชุมชน
         3. พิธีกรรมการทรงเจ้าในภาคใต้ ลักษณะความเชื่อกันว่าการเข้าทรงของพระจีนเป็นการแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีนและสามารถปัด เป่าสิ่งชั่วร้าย บันดาลความสุขให้แก่ผู้เคารพเลื่อมใสพระจีน และเชื่อกันว่าผู้ที่เป็นม้าทรง (คนทรง) ของพระจีนได้ จะต้องเป็นบุคคลที่มีลักษณะดังนี้
              1. เป็นคนชะตาขาดกำลังจะดับ แต่ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะต้องตาย พระจีนหรือเจ้าจะเข้าประทับทรง เป็นการช่วยเหลือต่ออายุให้ม้าทรง
              2. โดยความสมัครใจของม้าทรงที่จะเสียสละอุทิศตนรับใช้พระจีน และพระจีนยอมรับว่า เป็นบุคคลที่เหมาะสมให้เป็นม้าทรงได้
         4. พิธีกรรมการทรงเจ้าแบบพระจีน
         ความสำคัญ การเข้าทรงของพระจีน จะมาช่วยขจัดปัดเป่าทุกข์ร้อน รักษาโรคภัยไข้เจ็บ บันดาลความเจริญรุ่งเรืองในการประกอบอาชีพ และอำนวยความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ที่เคารพเลื่อมใสพิธีกรรม
         1. การอัญเชิญพระจีนเข้าประทับทรง จะต้องบวงสรวงในอ้ามโดยมีม้าทรงและพี่เลี้ยง 2-3 คน เป็นผู้ช่วย กล่าวบทอัญเชิญพระจีน ตีล่อโก๊ะ ตีกลอง จุดธูป เผาไม้หอม เซ่นไหว้ด้วยผลไม้บูชาหน้ารูปพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรง ม้าทรงตัวสั่นสะท้าน ส่ายหน้าไปมา มือเกร็งสั่นเทิ้มตลอดเวลา ร่างของม้าทรงจะวิ่งไปที่หน้าแท่นบูชา หยิบธงและอาวุธประจำตัวของพระจีนองค์ที่เข้าทรงได้ถูกต้อง พี่เลี้ยงจะช่วยถอดเสื้อม้าทรงออก แล้วเอาเสื้อยันต์ประจำตัวของพระจีนนั้นมาผูกใส่ให้
         2. การแสดงอิทธิฤทธิ์ของพระจีน เมื่อพระจีนเข้าทรงแล้ว บางครั้งจะคว้าอาวุธ คู่มือ มีทั้งดาบจีน ง้าว ขวาน มีด เหล็กแหลม ลูกตุ้มเหล็ก เป็นต้น ออกมาร่ายรำ ฟาดฟัน ทิ่มแทงร่างกายตนเอง เช่น แก้ม ลิ้น แขน หน้าอก หลัง สีข้าง ตัดลิ้นออกมาเขียนยันต์เขียนฮู้ให้ผู้เคารพเลื่อมใสเก็บไว้เป็นสิริมงคล การกระทำของพระจีนม้าทรงจะไม่รู้สึกตัวไม่มีความเจ็บปวด หลังจากพระจีนออกจากการเข้าทรงแล้ว ร่างม้าทรงจะมีร่องรอยบาดแผลอยู่เพียงเล็กน้อย ซึ่งจะหายไปเองโดยใช้ยันต์ปิดไว้ ร่องรอยที่แก้มก็เพียงเอาเถ้าขี้ธูปอุดรูไว้ก็จะหายสนิท
         3. การรับปรึกษาแก่ผู้เคารพเลื่อมใส โดยผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจะเล่าเรื่องของตนซึ่งพระจีนก็จะให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แนะวิธีปฏิบัติตามแก่กรณี
         4. ระหว่างทำพิธี จะมีการประโคม "ตัวก้อ" กลองใหญ่ "กิมก้อ" กลองเล็ก และโกก้อ "กลอง แห่ขบวน" และจุดประทัดอึกทึกเร้าใจอยู่ตลอดเวลา
         5. การออกจากร่างม้าทรง เมื่อเสร็จภารกิจ หรือตามเวลาอันสมควร พระจีนก็จะออกจากร่างม้าทรง โดยมีพี่เลี้ยงคอยช่วยเหลือ
         ผู้ที่เป็นม้าทรงจะต้องปฏิบัติดังนี้
         1. ต้องรักษาความสะอาดของร่างกาย รวมทั้งวิถีชีวิตของความเป็นอยู่โดยไม่รับประทานเนื้อสัตว์ต้องรับประทานผักอย่างเดียว
         2. ต้องไปปฏิบัติกิจกรรมทำงานให้กับศาลเจ้าเป็นประจำ

บทสรุป[แก้ไข]

         พระครูโสภิตสิริธรรม (สิริธโร/ทาอ่อน),บุญส่ง สินธุ์นอก และ สมเดช นามเกตุ (2564) กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางพระพุทธศาสนาพิธีกรรมของร่างทรง พบว่า ความเชื่อส่วนใหญ่ของร่างทรงที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติธรรม ความเชื่อในเรื่องการสวดมนต์ไหว้พระ ความเชื่อในการถือศีลกินเจ เลี้ยงพระ ถวายสังฆทาน และความเชื่อในการทอดกฐิน ผ้าป่า ช่วยบำเพ็ญสาธารณะประโยชน์  ถ้าจะแบ่งความเชื่อของร่างทรงออกเป็นความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและความเชื่ออื่น ๆ พบว่า ร่างทรงที่มีความเชื่อทางพระพุทธศาสนา พิธีกรรมที่กระทำสูงสุดคือ การปฏิบัติธรรมสวดมนต์พระคาถาต่าง ๆ อาทิเช่น ก่อนการเริ่มพิธีกรรมนั้นร่างทรง และผู้ที่จะเข้าร่วมประกอบพิธีนั้นจะมีการสวดมนต์ นมัสการพระรัตนตรัย บทชุมนุมเทวดา บทเจริญคุณ พระคาถายอดพระกัณไตรปิฎกพระคาถาชินบัญชร พาหุงมหากา  มลคลจักวาล เป็นต้น ซึ่งบทสวดเหล่านี้บรรดาร่างทรงที่มีการประกอบพิธีกรรมได้นำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบพิธีรองลงมาคือ ทำบุญให้ทานตามโอกาสต่าง ๆ ร่างทรงที่มีความเชื่อด้านอื่น ๆ คือ พิธีกรรมไหว้ครูประจำปี รองลงมาคือ การรักษาโรค การถอนคุณไสย การทำพิธีสะเดาะเคราะห์ต่อชะตา

บรรณานุกรม[แก้ไข]

ณิชาพร จำเนียร และ อรพรรณ พิศลยบุตร. (20 กันยายน 2565). ร่างทรง : ผี เพศ และการเมืองบนพื้นที่ความเชื่อ. สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. http://ica.swu.ac.th/news/detail/2/156
ทิมมี่ ทิมมี่. (ม.ป.ป.). ศรัทธา ฤา ปาฏิหารย์ ผ่านม้าทรงในเทศกาลกินเจ. Postjung. https://board.postjung.com/921190
ไทยรัฐออนไลน์. (10 พฤศจิกายน 2564). ขุดรากความเชื่อ "ร่างทรง" สืบทายาทเฉพาะ "ผู้หญิง" กับจารึก 1,800 ปี. ไทยรัฐ. https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2238704
ไทยรัฐออนไลน์. (11 กรกฎาคม 2563). “จูน” สวมบทขะจ้ำผีฟ้า วาดลวดลาย ฟ้อนบูชาพญาแถน ใน “ปอบผีเจ้า” ภาคสอง. ไทยรัฐ. https://www.thairath.co.th/entertain/news/1885540
ไทยรัฐออนไลน์. (5 สิงหาคม 2561). “ผีมดผีเม็ง” พิธีมอญล้านนา ศรัทธา! ผีปู่ ผีย่า ผีตา ผียาย. ไทยรัฐ. https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/1347917
พระครูโสภิตสิริธรรม (สิริธโร/ทาอ่อน), บุญส่ง สินธุ์นอก และ สมเดช นามเกตุ. (2564). การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องการเข้าทรงของชุมชนในเขตเทศบาลตำบลหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. Journal of Modern Learning DevelopmentVol, 6(2), 169-181.
ยโสธารา ศิริภาประภากร. (2557). ศึกษาความเชื่อในพิธีกรรมการเข้าทรงของชาวพุทธ : กรณีศึกษาชุมชนบ้านศาลาสามัคคี ตำบลบ้านชบ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 1(1), 207-219.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (27 กันยายน 2564). คนทรง. https://th.wikipedia.org/wiki/คนทรง
Lan Anh -VOV5. (24 ธันวาคม 2557). พิธีเข้าทรง-หนึ่งในพิธีสำคัญในการบูชาเจ้าแม่. ส่วนกระจายเสียงต่างประเทศ วีโอวี5-สถานีวิทยุกระจายเสียงเวียดนาม. https://vovworld.vn/th-TH/วฒนธรรม/พธเขาทรงหนงในพธสำคญในการบชาเจาแม-297527.vov