กรุพระเครื่องเมืองนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ความเป็นมาพระเครื่องเมืองนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร[แก้ไข]

         กำแพงเพชรในปัจจุบันนั้น ได้รวมเมืองโบราณไว้หลายเมือง เช่น เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ และเมืองไตรตรึงษ์ เป็นต้น จังหวัดกำแพงเพชรเจริญรุ่งเรืองมากในสมัยกรุงสุโขทัย ได้มีการสร้างวัดวาอารามไว้มากมาย ทั้งทางด้านฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง ดังที่ได้กล่าวถึงเมืองโบราณไว้ในขั้นต้น ต่อมาได้มีการรื้อพระศรีรัตนมหาธาตุเจดีย์ ที่เมืองนครชุม ได้พบตำนานการสร้างพระพิมพ์ในครั้งนี้ด้วย ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างพระพิมพ์หรือที่เราเรียกว่าพระเครื่องไว้อย่างมโหฬารครั้งหนึ่งทีเดียว  ไม่ใช่แต่ พระเครื่องเท่านั้น พระพุทธรูปต่างๆ และถาวรวัตถุต่างๆ ก็คงสร้างไว้อย่างมากมายเช่นกัน และพระเครื่องที่สำคัญและโด่งดังมากของจังหวัดนี้ ก็คือ พระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี ที่อยู่บริเวณเมืองเก่านครชุมนั่นเอง
         นครชุมเมืองโบราณ อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง หลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบันคือกำแพงเมือง ซึ่งเป็นมูลดินสูง 2-3 เมตร รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวไปตามแม่น้ำปิงตามแผนที่ที่ได้สำรวจไว้ วัดพระบรมธาตุจะอยู่ใจกลางเมืองพอดี ด้านตะวันตกจรดคลองสวนหมาก ยังมีแนวคันคูอยู่บางตอนกว้าง 500 เมตร เศษกำแพงด้านใต้มีแนวคันดินเป็นกำแพงเมือง 2 ชั้น ด้านตะวันออกยังมีแนวกำแพงหลงเหลืออยู่ริมแม่น้ำ 150 เมตร เศษกำแพงมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือพังลงน้ำไปหมด วัดที่อยู่ในเขตกำแพงเมืองมีอยู่ 2-3 วัด และวัดที่อยู่นอกกำแพงเมืองอีกหลายวัด ซึ่งอยู่ในบริเวณทุ่งเศรษฐี และเป็นที่มาของกรุพระเมืองกำแพงเพชรที่โด่งดังมาจนทุกวันนี้
         พระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร กรุพระที่สำคัญๆ พระกรุเมืองกำแพงเพชร ของเมืองนครชุมได้แก่ กรุวัดพระบรมธาตุ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุวัดพิกุล กรุวัดซุ้มกอ กรุบ้านเศรษฐี กรุฤๅษี กรุวัดน้อย กรุวัดหนองลังกา กรุหัวยาง กรุคลองไพร กรุท่าเดื่อ และกรุโน่นม่วง เป็นต้น พระเครื่องที่มีชื่อเสียงมากของกรุทุ่งเศรษฐีก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน พระกำแพงพลูจีบ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังพบพระเครื่องต่างๆ ที่เป็นที่นิยมทั้งสิ้น ก็คือ พระกำแพงกลีบจำปา พระกำแพงเปิดโลก พระกำแพงกลีบบัว พระยอดขุนพล พระกำแพงเม็ดมะลื่น พระนางกำแพงพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น พระที่พบในบริเวณทุ่งเศรษฐีนี้ถ้าเป็นพระเนื้อดินเผา จะมีเนื้อทีละเอียดอ่อนหนึกนุ่มเป็นพิเศษ จนกล่าวกันติดปากว่า "เนื้อทุ่ง" ซึ่งหมายถึงพระเนื้อดินที่ละเอียดหนึกนุ่มนั่นเองครับ
         กรุพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร มีมากสมกับเป็นเมืองแห่งพระเครื่องอย่างแท้จริง เนื่องจากมีกรุพระเครื่องมาก ไม่อาจจะเขียนรายละเอียดเป็นรายกรุได้ จึงใคร่ขอจัดอันดับตามความนิยมของกรุที่วงการพระเครื่องให้ความนิยมไว้ ซึ่งบางกรุเซียนพระในส่วนกลางและผู้ศึกษา หรือสะสมพระเครื่องยังไม่ทราบข้อมูล จะทราบเฉพาะคนในพื้นที่จริงๆเท่านั้น แต่ทั้งนี้คนในพื้นที่จริงๆ ถ้าไม่สนใจหรือใคร่ศึกษาเกี่ยวกับพระเครื่อง อาจไม่ทราบข้อมูลเช่นกัน โดยสรุปจะมีทั้งหมด 5 กลุ่มใหญ่ โดยเรียกกลุ่มต่างๆ ตามสภาพพื้นที่ของชุมชน ตามสภาพภูมิประเทศในปัจจุบัน หรือตามที่มีชื่อเรียกมาตั้งแต่เดิมหรือ เป็นชื่อที่เจ้าของสถานที่บริเวณที่พบเจอพระ เป็นต้น นับได้โดยประมาณ 150 กรุ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
         1. กรุฝั่งทุ่งเศรษฐี (นครชุม) ซึ่งแยกออกมาได้ 2 กลุ่มหลัก คือ
         1.1 กรุที่พบพระเครื่องในสถานที่ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันยังมีสภาพเจดีย์พร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ยังคงมีสภาพหลงเหลืออยู่ และทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน มีประมาณ 9 กรุไว้ ได้แก่ (พระกำแพง, 2561) 1) กรุวัดพิกุล 2) กรุวัดบรมธาตุ 3) กรุวัดซุ้มกอ 4) กรุหนองลังกา 5) กรุหม่องกาเล 6) กรุเจดีย์กลางทุ่ง 7) กรุหนองยายช่วย 8) กรุริมวารี 9) กรุโคกกะชี ซึ่งกรุพระดังกล่าว ส่วนใหญ่เนื้อพระจะมีความหนึกนุ่มสวยงาม และแกร่ง ตลอดจนพุทธศิลป์ขององค์พระจะมีความประณีตสวยงาม บ่งบอกถึงฝีมือของการแกะแม่พิมพ์พระ งานศิลปะช่างหลวงที่สำคัญเป็นที่นิยมของวงการพระเครื่องในเมืองไทยมาช้านานนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
         1.2 กรุที่พบพระเครื่อง ในสถานที่ซึ่งปัจจุบันไม่มีอยู่แล้ว สร้างบ้านเรือนทับสถานที่และปรับปรุงเป็นพื้นที่เป็นชุมชนที่อยู่อาศัย ตลอดจนเป็นพื้นที่สวนไร่นาที่ทำกินของชาวบ้าน หรือเป็นสถานที่ราชการ มีประมาณ 32 กรุ ได้แก่ 1) กรุวัดฤๅษี 2) กรุตาลดำ 3) กรุปากคลองสวนหมาก 4) กรุ บขส. 5) กรุหน้าศูนย์ บขส. 6) กรุตาพุ่ม 7) กรุคลองไพร 8) กรุตู้ใหญ่เชื้อ 9) กรุครูกำยาน 10) กรุวังแปบ 11) กรุท่านา 12) กรุบ้านไร่ 13) กรุวัดทุ่งสวน 14) กรุนาตาคำ 15) กรุท่าทราย 16) กรุริมน้ำบ้านนครชุม 17) กรุวัดท่าหมัน 18) กรุวัดธาตุน้อย 19) กรุหลังวิทยาลัยครู 20) กรุหนองพุทรา 21) กรุสามแยกวังยาง 22) กรุป่าชะอม 23) กรุริมคลองสวนหมาก 24) กรุคลองวังยาง 25) กรุคาทอลิก 26) กรุหลังป้อมทุ่งเศรษฐี 27) กรุพระธาตุเสด็จ 28) กรุนาตาชิต 29) กรุท่าเดื่อ 30) กรุแยกนครชุม 31) กรุวัดทุ่งเศรษฐี 32) กรุคลองวังยาง และสถานที่ต่างๆบริเวณทุ่งเศรษฐี ตำบลนครชุมอีกนับสิบกรุ ที่ได้กลายสภาพเป็นชุมชนที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้านตลอดจนสถานที่ราชการ พระของทุ่งเศรษฐีที่ได้รับความนิยมเป็นที่เลื่องลือก็คือเรื่องศิลปะความงามและเนื้อวัสดุ ดิน ชิน ผง และว่าน เนื่องจากมีความละเอียดประณีตเป็นพิเศษมักจะติดปากนักพระเครื่องทั่วไปว่า “เนื้อทุ่ง” ซึ่งนักพระเครื่องรุ่นเก่ามักเรียกกันว่า “เนื้อเกสร” มีความละเอียด หนึกนุ่มเป็นพิเศษ ยากที่จะหาเนื้อพระกรุอื่นเมืองอื่น มาเทียบได้ และมีสีสันที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย เพราะมีสีเนื้อพระเกือบทุกสีสันจากการผสมของดินและว่านต่างๆ (หมายเหตุ ในวงการพระเครื่องจะเรียกว่า กรุทุ่งเศรษฐี กรุลานทุ่งเศรษฐี กรุนครชุม เป็นต้น)
         2. กรุฝั่งเมืองกำแพงเพชร (ชากังราว) ซึ่งแยกออกมาได้ 4 กลุ่มหลัก คือ
         2.1 กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร (เขตวัดอรัญญิก) ซึ่งพบพระเครื่องตลอดจนวัตถุโบราณต่างๆตั้งแต่ในสมัยอดีตจนถึงปัจจุบันและยังมีร่องรอยซากอิฐเจดีย์เสาโครงสร้างอิฐศิลาแลงต่างๆตามสภาพทั้งก่อนบูรณะและหลังบูรณะแล้วในปัจจุบัน ซึ่งมีประมาณ 30 กรุ ได้แก่ 1) วัดอาวาสใหญ่ 2) วัดช้างรอบ 3) วัดพระนอน 4) วัดสิงห์ 5) วัดพระสี่อิริยาบถ 6) วัดสี่ห้อง 7) วัดเจดีย์กลม 8) วัดมะกอก 9) วัดมะเคล็ด 10) วัดเพทาราม 11) วัดตะแบกคู่ 12) วัดริมทาง 13) วัดฆ้องชัย 14) วัดป่ามืด 15) วัดป่ามืดใน 16) วัดป่ามืดนอก 17) วัดนาคเจ็ดเศียร 18) วัดรามณรงค์ 19) วัดกำแพงงาม 20) วัดตะแบก 21) วัดหมาผี 22) วัดมณฑป 23) วัดป่าแลง 24) วัดเตาหม้อ 25) วัดป่าแฝก 26) วัดท้ายหนอง 27) วัดมะม่วงงาม 28) วัดเขาลูกรัง 29) กรุวัดตึกพราหมณ์ 30) วัดวิหารงาม ซึ่งวัดทั้งหมดดังกล่าว จะอยู่ภายในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ซึ่งจะต้องซื้อบัตรผ่านประตูเข้าชมภายในอุทยานประวัติศาสตร์ (หมายเหตุ ในวงการพระเครื่องจะเรียกว่า วัดเขตอรัญญิกในสมัยโบราณ หรือ ฝั่งอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรในปัจจุบัน)
         2.2 กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร (อรัญวาสี) ซึ่งอยู่ในบริเวณที่เป็นกำแพงคูคันดินคลองน้ำและอิฐศิลาแลงบริเวณรอบเมืองมีประมาณ 20 กรุ อันได้แก่ 1) กรุวัดพระแก้ว 2) กรุวัดพระธาตุ 3) กรุวัดสระมน 4) กรุ สปจ. 5) กรุวัดทองกวาว 6) กรุวัดมะขามเฒ่า 7) กรุวัดป่าพริก 8) วัดป่ากล้วย 9) วัดโพธิ์ใหญ่ 10) วัดกลางนคร 11) วัดอี้เก้ง12) กรุวัดป่าสัก 13) กรุวัดดงมูลเหล็ก 14) กรุวัดต้นสำโรง 15) กรุศาลเจ้าพ่อ 16) กรุวัดเสมางาม  17) กรุวัดโพธิ์เงิน 18) กรุวัดโพธิ์ทอง 19) กรุวัดหางนกยูง 20) กรุวัดราชพฤกษ์ 
         ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า กรุฝั่งศาลากลางจังหวัดและวัดดังกล่าวไม่ต้องซื้อบัตรผ่านประตูเข้าชมเพราะอยู่ติดกับถนนเส้นกำแพงเพชร-สุโขทัย ในสมัยโบราณกรุพระดังกล่าวอยู่ในเขตเมืองมีรั้วกำแพงคูดินล้อมรอบ มีวัดพระแก้วเป็นวัดประจำเมือง ซึ่งถือเป็นวัดหลวงในสมัยโบราณ
         2.3 กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุ อยู่ภายนอกรั้วอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร (เขตอรัญญิกในสมัยโบราณ) มี 9 กรุ อันได้แก่ 1) กรุวัดสระแก้ว 2) กรุวัดดงอ้อ 3) กรุวัดบ่อสามเสน 4) กรุวัดอาวาสน้อย 5) กรุวัดวิหารลอย 6) กรุวัดหนองปลิง 7) กรุวัดเจดีย์งาม 8) กรุวัดศาลพระภูมิ 9) กรุบ่อสามไห
         2.4 กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุ ที่อยู่นอกเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งอยู่แยกอิสระใกล้ชุมชน หรืออยู่ติดกับที่ของชาวบ้าน อันมีประมาณ 21 กรุ ได้แก่ 1) กรุวัดช้าง 2) กรุวัดดงหวาย 3) กรุวัดเชิงหวาย 4) กรุวัดลายคราม 5) กรุวัดตะแบกลาย 6) กรุวัดกะโลทัย 7) กรุวัดไร่ถั่ว 8) กรุวัดตาเถรขี่เกวียน 9) กรุวัดป่าไผ่ 10) กรุวัดป่ามะปราง 11) กรุวัดป่ามะม่วง 12) กรุวัดดงกล้วย 13) กรุวัดแคใหญ่ 14) กรุวัดวิหารขาด 15) กรุวัดป่ายาง 16) กรุวัดดงขวาง 17) กรุวัดโพธิ์สามขา 18) กรุวัดบาง 19) กรุวัดน้อย 20) กรุวัดชีนางเกา 21) กรุหลังโรงพยาบาล (หลวงพ่อเจ๊ก)
         ซึ่งกรุพระดังกล่าว ยังมีสภาพเจดีย์ที่ต่างสภาพกันและไม่สมบูรณ์ หรือเหลือเพียงซากเจดีย์เนื่องจากถูกทุบทำลาย จากการค้นหาของเก่าวัตถุโบราณต่างๆ และขุดเจาะขโมยพระเครื่อง มาตั้งแต่สมัยอดีตซึ่งอยู่ในสภาพที่ต่างสภาพกัน
         3. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุที่อยู่รอบนอกเมืองกำแพงเพชรและอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งการพบพระเครื่องนั้น จะเรียกชื่อกรุตามสถานที่ค้นพบ หรือเรียกชื่อตามหมู่บ้าน ตำบลนั้นๆ เป็นต้น มีประมาณ 27 กรุ ได้แก่ 1) กรุวัดบ่อเงิน 2) กรุโรงสี 3) กรุสมาคมไร่อ้อย 4) กรุวังบัว 5) กรุวัดหัวเขา 6) กรุโขมงหัก 7) กรุหลวงพ่อโต 8) กรุคลองแม่ลาย 9) กรุวังยาง 10) กรุนาบ่อคำ 11) กรุวัดกาทึ้งบ้านโคน 12) กรุเขาสะบ้า 13) กรุวัดทองหลาง 14) กรุลานดอกไม้ 15) กรุท่าเสากระโดง เมืองไตรตรึงษ์ 16) กรุท่าทราย เมืองไตรตรึงษ์ 17) กรุต้นโพธิ์ยักษ์ เมืองไตรตรึงษ์ 18) กรุวัดวังพระธาตุ เมืองไตรตรึงษ์ 19) กรุวัดเจดีย์เจ็ดยอด เมืองไตรตรึงษ์ 20) กรุวัดดงมัน เมืองไตรตรึงษ์ 21) กรุวัดดงอ้อ เมืองไตรตรึงษ์ 22) กรุวัดริมทาง เมืองไตรตรึงษ์ 23) กรุวัดพระปรางค์เมืองไตรตรึงษ์ 24) กรุ กม.5 25) กรุเกาะเศรษฐี บ้านบ่อเงิน 26) กรุบ้านมะกอกหวาน ต.เทพนคร27) กรุลานดอกไม้ตะวันออก
         4. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุที่อยู่ต่างอำเภอ ซึ่งไม่ได้อยู่ในเขตอำเภอเมือง ซึ่งอยู่ไกลออกมาต่างอำเภอ แต่ขึ้นอยู่กับเขตจังหวัดกำแพงเพชร บริเวณที่ค้นเจอพระส่วนใหญ่ เจดีย์จะอยู่ริมน้ำ หรืออยู่ตามเนินปลวกต่างๆ เป็นต้น มี 10 กรุ อันได้แก่ 1) กรุท่าทรุด (อ.ขาณุฯ)  2) กรุลานดอกไม้ตะวันตก (อ.โกสัมพีนคร) 3) กรุคลองพิไกร (อ.ลานกระบือ) 4) กรุบ้านกล้วย (อ.ขาณุฯ) 5) กรุวังพาน (อ.พรานกระต่าย) 6) กรุโคกวัด (อ.พรานกระต่าย) 7) กรุคลองน้ำไหล (อ.คลองลาน) 8) กรุวังไม้พาย (อ.พรานกระต่าย) 9) กรุบ้านคลองเมือง (อ.โกสัมพีนคร) 10) กรุวัดเขานางทอง (อ.พรานกระต่าย)
         พระที่ค้นพบซึ่งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร พระเนื้อดินส่วนใหญ่เนื้อจะหยาบความสวยงามตลอดจนพุทธศิลป์จะเป็นแบบฝีมือชาวบ้าน เนื้อพระจึงสู้ฝั่งทุ่งและฝั่งเมืองไม่ได้ ส่วนใหญ่จะเป็นพิมพ์พระที่ใหญ่ๆ และมีพระพุทธรูปบูชาต่างๆด้วย ซึ่งพระดังกล่าวโดยส่วนใหญ่จะไม่เป็นที่ทราบจากส่วนกลาง จะทราบเฉพาะเซียนพระ หรือคนในพื้นที่เท่านั้น
         5. กรุที่พบพระเครื่องและโบราณวัตถุที่สร้างในยุคหลัง (พระเกจิสร้าง) ซึ่งมีหลักฐานพยานวัตถุตลอดจนหลักฐานที่แน่นอน มีอายุการสร้าง 100 กว่าปี และ เกจิอาจารย์ของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นผู้สร้างในยุคหลัง (กรุใหม่)
         5.1. กรุวัดคูยาง (กรุใหม่) เดิมเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ทางฝั่งอำเภอเมือง (ศาลากลางจังหวัด) ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าชื่อเดิมวัดอะไร ใครสร้างและสร้างในสมัยไหน แต่สันนิษฐานว่าสร้างมาไม่น้อยกว่า 400 ปี จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการบูรณะวัดใหม่ และให้ชื่อว่า“วัดคูยาง” และพระกรุวัดคูยางนี้สร้างโดย อาจารย์กลึง (พระครูธรรมาธิมุตามณี) เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นเกจิยุคร่วมสมัยเดียวกับหลวงพ่อเงินวัดบางคลาน หลวงพ่อขำวัดลานกระบือ และ หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า โดยในสมัยนั้น ได้นำพระเครื่องสภาพหักชำรุดที่ได้เหลือจากการรื้อเจดีย์ วัดพระบรมธาตุทั้ง 3 เจดีย์ มาเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระชุดนี้ มีแม่พิมพ์อย่างน้อยประมาณ 40 แม่พิมพ์ และได้นำมาบรรจุรวมไว้กับของเก่าที่สภาพสมบูรณ์ที่ได้จาก 3 เจดีย์ของวัดพระบรมธาตุ โดยยุบรวมสร้างเจดีย์เดียว ที่เห็นในปัจจุบันนี้ซึ่งผู้สร้างเจดีย์ คือ พญาตะก่า และพะโป๊ะ พ่อค้าชาวกะเหรี่ยง (พม่า) การสร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และสืบศาสนา (เจดีย์เริ่มสร้าง 2414 แล้วเสร็จ 2449) เนื้อพระส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินที่ละเอียดนุ่มปานกลาง โดยส่วนมากจะเป็นสีแดงคล้ำบางองค์จะมีไขจับ ผู้ที่ไม่ชำนาญถึงกับตีเป็นพระกรุเก่าไปเลยก็มี โดยแม่พิมพ์นั้นทำขึ้นมาเอง และแม่พิมพ์ที่ถอดมาจากแม่พิมพ์พระอื่นๆ และส่วนใหญ่แม่พิมพ์จะตื้นๆไม่ลึกและคมชัดเท่าไหร่ พระที่ถอดจากพระพิมพ์เท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพระของเมืองกำแพงเพชร แต่ก็มีจำนวนหนึ่งที่เป็นพิมพ์ของจังหวัดอื่น เช่น สมเด็จปรกโพธิ์ พระพุทธบาทปิลันธน์ พระกริ่งคลองตะเคียน พระพลายเดี่ยว ส่วนพระคง พระรอดนั้นไม่ได้ถอดพิมพ์มา ในส่วนพระถอดพิมพ์ของเมืองกำแพง มีหลายพิมพ์ เช่น พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระซุ้มกอ พระขุนไกร พระร่วงนั่งฐานสำเภา นางกำแพงมีซุ้ม นางกำแพงนั่งเรือเมล์ พระอู่ทอง พระชินราชใบเสมา พระยอดขุนพล พระลีลาเม็ดขนุน และพิมพ์นิยมที่เป็นที่รู้จักกันดี ซึ่งพระบางส่วนทำการบรรจุอยู่ในเจดีย์วัดพระบรมธาตุ และในบางส่วนทำการบรรจุอยู่ที่เจดีย์วัดคูยาง ต่อมาในภายหลังได้ถูกขโมยเจาะพระอยู่เรื่อยๆ ทางวัดจึงทำการเปิดกรุให้บูชา ซึ่งทำให้พอมีพระหมุนเวียนอยู่ในสนามต่างๆ คือ เห็นพระก็จะบอกชื่อวัดได้เลย เช่น พระซุ้มเสมาสี่ทิศ ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ประจำที่เซียนพระในพื้นที่หรือส่วนกลางจะรู้จักดี สรุปแล้วถือว่า พระกรุวัดคูยาง เป็นพระกรุใหม่สร้างโดยเกจิอาจารย์มีอายุการสร้างประมาณ 115 ปี
         5.2. กรุวัดบรมธาตุ(กรุใหม่) สร้างประมาณปีพ.ศ. 2440-2478 โดยท่านพระครูวิเชียรโมลี (ปลั่ง พรฺหมฺโชโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบรมธาตุและเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเมื่อเอ่ยชื่อถึง กำแพงเพชร ใคร ๆ ก็รู้จักคุณค่าของพระกรุเมืองกำแพงเพชร ว่ายอดเยี่ยมขนาดไหน เพราะเหตุที่พระกรุเมืองกำแพงเพชร มีคุณค่าที่ใครๆก็รู้จักดีนี่เอง ในขณะเดียวกัน จึงทำให้บดบังสิ่งที่มีคุณค่า ซึ่งไม่ด้อยกว่ากันเลย สิ่งนั้นคือ พระเกจิอาจารย์แห่งกำแพงเพชร ซึ่งไม่ได้ด้อยไปกว่าพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองไทย พระวิเชียรโมลี (ปลั่ง) อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร เดิมเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดคูยางส่วนพระธรรมาธิมุตมุนี (อาจารย์กลึง) เป็นเจ้าอาวาสวงศ์ที่ 4 ของวัดคูยาง และอาจารย์กลึง ท่านเป็นพระอุปชาจารย์ของ พระวิเชียรโมลี (ปลั่ง) เราจะเห็นได้ว่า จากอดีตถึงปัจจุบัน คนโบราณเขาสร้างพระ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง เช่นเดียวกับ อาจารย์กับศิษย์ คือ พระธรรมาธิมุตมุนี(อาจารย์กลึง) กับพระวิเชียรโมลี (ปลั่ง พรฺหมฺโชโต) ซึ่งได้สร้างพระสืบต่อกันมาองค์วิชาความรู้ ตลอดจนวิธีการสร้างมูลสารต่างๆ เหล่านี้คือ ภูมิปัญญาพื้นบ้านจากอดีตนับพันปี จนมาถึงปัจจุบัน พระครูวิเชียรโมลี (ปลั่ง พรฺหมฺโชโต) ท่านได้สร้างพระ ตั้งแต่อยู่ที่วัดลานดอกไม้ตก ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน (ปัจจุบันอยู่ในเขต อ.โกสัมพีนคร) สมัยต่อมา ท่านมาอยู่วัดคูยางซึ่งเป็นวัดอาจารย์ของท่าน (อาจารย์กลึง) ท่านก็ได้ร่วมสร้างพระดังกล่าว จนท่านมาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ (ปี พ.ศ.2477 ถึง 2488) ซึ่งพระชุดดังกล่าว มีพระซุ้มกอ มีกนก-ไม่มีกนก พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนพิมพ์เล็ก โดยเนื้อพระแล้วพระกำแพงซุ้มกอ กรุเก่า หากเอามาวางประกบคู่กันกับพระซุ้มกอกรุบรมธาตุ กรุใหม่ ปรากฏว่า แยกแทบไม่ออกว่า อันไหนเก่าอันไหนใหม่ เพราะเนื้อพระดูแน่นกลมมีสีสันที่สวยกว่ากรุเก่า โดยเฉพาะสีแดงแบบส้มๆ หากถูกสัมผัสกับเหงื่อไคลแล้ว สีพระจะมีความสวยงาม ปัจจุบัน หาดูได้ยากมาก ซึ่งคนในพื้นที่และจากส่วนกลาง แทบจะไม่มีใครรู้จักเลย บางครั้งหากพบเจอพระดังกล่าวอาจถูกตีว่าเป็นพระซุ้มกอ กรุเก่าไป และที่สำคัญ คือเนื้อพระดังกล่าวเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ยากที่จะปลอมแปลง หรือทำให้เหมือนได้ คนรุ่นเก่าในพื้นที่นี้จะเรียกว่าเนื้อสังฆโลกหรือเนื้อเยื่อว่าน ว่ากันว่า พระองค์ดังกล่าว มีบรรจุอยู่ในเจดีย์วัดพระบรมธาตุด้วย จึงไม่แน่ชัดว่า ท่านเริ่มสร้างพระดังกล่าวในสมัยปี พ.ศ. ใดในปัจจุบันนี้พระดังกล่าวแทบจะไม่มีหมุนเวียนในวงการพระ และในพื้นที่เองก็หาชมได้ยากมากเป็นที่หวงแหนแค่ศิษย์ยานุศิษย์ ของหลวงพ่อพระวิเชียรโมลี  โดยเจตนารมณ์การสร้างเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา สรุปแล้ว จึงถือว่าพระกำแพงดังกล่าว เป็นพระกรุใหม่ เกจิอาจารย์เป็นผู้สร้างอายุพระ 100 กว่าปีขึ้นไป (พระเครื่อง อมูเลทตั้มศรีวิชัย, 2561)

เมืองนครชุม[แก้ไข]

         “นครชุม” เป็นเมืองโบราณที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองสวนหมาก บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร เกิดขึ้นในยุคกรุงสุโขทัย ช่วงรัชสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง ทำหน้าที่เมืองหน้าด่านทางทิศตะวันตกของสุโขทัยและในช่วงนั้นถือได้ว่าเป็นยุคทองของพระพุทธศาสนาศิลปะและสถาปัตยกรรมต่างๆโดยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ทรงสถาปนาพระศรีรัตนมหาธาตุ   และทรงปลูกต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่เมืองนครชุม อันเป็นตำนานของประเพณีนบพระเล่นเพลงที่สืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้  ในภายหลังเมื่อมีผู้รื้อพระศรีรัตนมหาธาตุเจดีย์ ก็ได้พบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุ ซึ่งจารึกถึงตำนานการสร้าง“พระพิมพ์” หรือที่ในปัจจุบันเรียกว่า“พระเครื่อง” 
         นอกจากนี้ ในพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง เรื่องการเสด็จประพาสกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ เช่นกันนับว่าการสร้างพระพิมพ์หรือพระเครื่องนั้น มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากว่า 700 - 800 ปี และเชื่อกันว่าคงมิได้สร้างเฉพาะพระพิมพ์เท่านั้น น่าจะมีการสร้างพระพุทธรูป และถาวรวัตถุอื่นๆ ในพระพุทธศาสนาไว้อีกด้วย ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงกล่าวไว้ว่า “ของถวายในเมืองกำแพงเพชรนี้ ก็มีพระพิมพ์เป็นพื้น” ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นขนบธรรมเนียมอย่างหนึ่งของชาวกำแพงเพชรในการให้พระเครื่องเป็นของที่ระลึก สำหรับผู้ที่เคารพนับถือและมิตรสหาย ข้อความตามศิลาจารึกหลักที่ 8 (ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ) มีการเรียก  เมืองนครชุมว่า“นครพระชุม” ซึ่งอาจจะมีความหมายถึง เป็นเมืองที่รวมของพระ หรืออาจหมายถึง มีพระมากซึ่งในครั้งที่มีการรื้อพระศรีรัตนมหาธาตุเจดีย์ ที่วัดพระบรมธาตุนครชุม สถานที่ค้นพบศิลาจารึกหลักที่ 3   (ศิลาจารึกนครชุม) ก็มีการพบพระพิมพ์เป็นจำนวนมาก และนับว่าเป็นต้นตอของพระเครื่องตระกูลทุ่งเศรษฐี  ที่มีชื่อเสียงของจังหวัดกำแพงเพชร
         ปัจจุบัน สำหรับคนที่ไม่ใช่เซียนพระ หรืออยู่ในวงการพระเครื่อง อาจจะหาชมพระเครื่องของเมืองนครชุมได้ยากเสียหน่อย แต่หากว่า มาที่แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม ก็จะได้เห็นพระเครื่องรวมถึงกระบวนการทำพระเครื่องให้เหมือนกับของเก่าอีกด้วย แหล่งเรียนรู้แห่งนี้ เริ่มต้นขึ้นมาจาก สมหมาย พยอม ผู้มีถิ่นฐานอยู่ในเมืองนครชุม และคลุกคลีอยู่ในวงการพระเครื่อง ด้วยความที่มีใจรัก จึงศึกษาและจดจำวิธีการทำพระเครื่องจากช่างพระเครื่องในกำแพงเพชร แล้วนำมาทดลองทำพระซุ้มกอได้เป็นอันดับแรก 
         ในปี พ.ศ.2551 ก็ได้จัดตั้งแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุมขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่สนใจในเรื่องวิธีการทำพระเครื่อง ซึ่งภายในแหล่งเรียนรู้ก็จะมีสมาชิกที่คอยสาธิตกระบวนการทำพระเครื่อง ในขั้นตอนต่างๆ ให้ได้ชม สำหรับการทำพระเครื่อง หรือพระพิมพ์นั้น เริ่มจากการนำดินที่ได้มาทุบ แล้วหมักไว้ 1 คืน จากนั้น ก็นำดินมานวดให้นิ่มพอดี ไม่แข็งหรือเหลวเกินไป ถัดมา ให้นำแป้งมาโดยที่แม่พิมพ์พระ เพื่อที่เวลากดดินลงกับแม่พิมพ์ แล้วดินจะได้ไม่ติดกับแม่พิมพ์ และสามารถนำดินออกมาได้ง่าย โดยแม่พิมพ์พระที่ใช้ก็ได้ มาจากการจำลองจากพระเครื่องนครชุมของแท้ ที่เป็นของเก่าของแก่ จึงทำให้พระพิมพ์ที่ทำออกมานั้น มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับของเก่ามากทีเดียว เมื่อกดดินลงกับแม่พิมพ์จนดินขึ้นเป็นรูปแล้ว ก็นำออกมาใส่ถาดพึ่งลมไว้ในร่มประมาณจนแห้ง และนำออกตากแดดให้แห้งสนิทต่อด้วยการนำพระไปเผาที่เตาประมาณ 24 ชั่วโมง ซึ่งจะต้องคอยเติมถ่าน และควบคุมไม่ให้ไฟแรงเกินไป ครบกำหนดเวลาแล้วก็นำพระออกจากเตา นำมาวางเรียงเพื่อใส่รา ใส่คราบพระ สุดท้ายให้นำใบตองแห้งของกล้วยน้ำว้ามาขัด ก็จะได้พระเครื่องนครชุมที่ดูคล้ายของเก่าแก่ พระเครื่องหรือพระพิมพ์ ที่ได้มานั้น ทำให้คนรุ่นปัจจุบันได้ศึกษาตั้งแต่ความเป็นมาตั้งแต่สมัยก่อน จนมาถึงกระบวนการทำพระในสมัยนี้ ที่ยังคงความงามตามภูมิปัญญาดั้งเดิมของชนชาวไทยและยังคงสืบสานพุทธศิลป์ที่สวยงามนี้ไว้ต่อไป

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         แหล่งเรียนรู้ การทำพระเครื่อง นครชุม
ภาพที่ 1 แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่อง.jpg

ภาพที่ 1 แหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม, 2562, ออนไลน์

         แหล่งเรียนรู้แห่งนี้ เริ่มต้นขึ้นมาจาก สมหมาย พยอม ผู้มีถิ่นฐานอยู่ในเมืองนครชุและคลุกคลีอยู่ในวงการพระเครื่อง ด้วยความที่มีใจรัก จึงศึกษาและจดจำวิธีการทำพระเครื่องจากช่างพระเครื่องในกำแพงเพชร แล้วนำมาทดลองทำพระซุ้มกอได้เป็นอันดับแรก
         ในปี พ.ศ.2551 ก็ได้จัดตั้งแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุมขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ที่สนใจในเรื่องวิธีการทำพระเครื่อง ซึ่งภายในแหล่งเรียนรู้ก็จะมีสมาชิกที่คอยสาธิตกระบวนการทำพระเครื่องในขั้นตอนต่างๆ ให้ได้ชมสำหรับการทำพระเครื่อง หรือพระพิมพ์
ภาพที่ 2 พระที่ผ่านกระบวนการเคลือบผิวพระต่างๆ.jpg

ภาพที่ 2 พระที่ผ่านกระบวนการเคลือบผิวพระต่างๆ

วิธีทำพระเครื่อง[แก้ไข]

         เริ่มจากการนำดินที่ได้มาทุบ แล้วหมักไว้ 1 คืน จากนั้นก็นำดินมานวดให้นิ่มพอดี ไม่แข็งหรือเหลวเกินไป ถัดมา ให้นำแป้งมาโดยที่แม่พิมพ์พระ เพื่อที่เวลากดดินลงกับแม่พิมพ์แล้วดินจะได้ไม่ติดกับแม่พิมพ์ และสามารถนำดินออกมาได้ง่าย โดยแม่พิมพ์พระที่ใช้ก็ได้มาจากการจำลองจากพระเครื่องนครชุมของแท้ที่เป็นของเก่าของแก่ จึงทำให้พระพิมพ์ที่ทำออกมานั้นมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับของเก่ามากทีเดียว (องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร, 2558)

วันเดือนปีที่สร้าง[แก้ไข]

         การสร้างพระเครื่องนครชุมมีอายุราวประมาณ 700 ปี
         1. ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
             จะมีลักษณะที่สวยงาม มีความอ่อนช้อย อาทิเช่น 
ภาพที่ 3 พระซุ้มกอ.jpg

ภาพที่ 3 พระซุ้มกอ จะมีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์

ภาพที่ 4 พระนางกำแพง.jpg

ภาพที่ 4 พระนางกำแพง จะมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม

ภาพที่ 5 พระเม็ดขนุน.jpg

ภาพที่ 5 พระเม็ดขนุน จะมีลักษณะวงลีคล้ายเม็ดขนุน

ภาพที่ 6 พระกรีบบัว.jpg

ภาพที่ 6 พระกรีบบัว จะมีลักษณะคล้ายกรีบดอกบัว

         2. บุคคลที่เกี่ยวข้อง
ภาพที่ 7 สมหมาย พยอม.jpg

ภาพที่ 7 สมหมาย พยอม ผู้ริเริ่มแหล่งเรียนรู้, 2562, ออนไลน์

         นายสมหมาย พยาม เป็นผู้ริเริ่มในการทำให้เกิดแหล่งเรียนรู้การทำพระเครื่องนครชุม ด้วยแรงบันดาลใจจากคำขวัญของจังหวัดกำแพงเพชร “กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก” จังหวัดกำแพงเพชรโดยเฉพาะเมืองฯลฯ นครชุมมีแหล่งพระเครื่องชื่อดังอยู่หลายแห่ง สถานที่สำคัญที่คนทั่วไปรู้จัก คือ กรุวัดซุ้มกอ,กรุวัดพระบรมธาตุ ซึ่งพระแต่ละองค์นั้น มีมูลค่ามหาศาลซึ่งยากที่จะได้ครอบครอง จึงทำให้เกิดแนวคิดว่าอยากให้มีแหล่งเรียนรู้เพื่อสืบสานงานพุทธศิลป์ที่งดงามของพระเครื่องโบราณให้รุ่นหลังได้เรียนรู้เกิดความภาคภูมิใจในมรดกทาง พุทธศิลป์ที่คนรุ่นบรรพบุรุษได้มอบให้ผ่านกาลเวลามาจนถึงปัจจุบันประกอบกับคุณสมหมายพยอมเป็นผู้คลุกคลีอยู่ในวงการพระเครื่องด้วยใจรักและสะสมพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ ไว้มากมายหลายพิมพ์ ได้คลุกคลีกับช่างฝีมือในการทำพระมาพอสมควรจากช่างรุ่นเก่า จึงนำพิมพ์พระโบราณและพระเครื่องโบราณแท้แท้มาเป็นตัวอย่างในการแกะเป็นพิมพ์ตามพุทธลักษณะเด่นของพระโบราณเพื่อใช้ในการพิมพ์พระ โดยพระองค์แรกที่ทำก็คือพระซุ้มกอ โดยเริ่มทำเป็นอาชีพควบคู่กับการสอนให้ความรู้แก่เด็กเยาวชนบุคคลทั่วไปที่มีความตั้งใจที่มาเรียนรู้กระบวนการขั้นตอนการทำอย่างละเอียดตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 ปัจจุบันมีการพัฒนาจากการนำเป็นอาชีพสู่แหล่งเรียนรู้ลักษณะทางพุทธศิลป์โบราณและพัฒนาไปสู่แหล่งเรียนรู้เพื่อรองรับการท่องเที่ยวในชุมชนอีกด้วย พระที่มีในแหล่งเรียนรู้ได้แก่พระซุ้มกอ กลีบบัว เม็ดขนุน นางกำแพง (ตลาดย้อนยุค นครชุม, 2555)