ฐานข้อมูล เรื่อง กล้วยกวนลานดอกไม้
เนื้อหา
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่อเรียก[แก้ไข]
กล้วยกวนลานดอกไม้
ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]
กล้วยกวน ตราตองแก้ว (ชื่อตราผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี)
ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]
กล้วยเป็นไม้ผลที่คนไทยรู้จักกันมานานเนื่องจากกล้วยมีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคดังกล่าว จากการศึกษาพบว่า กล้วยมีวิวัฒนาการถึง 50 ล้านปีมาแล้ว ดังนั้นจึงเป็นไม้ผลที่มนุษย์รู้จักบริโภคเป็นอาหารกันอย่างแพร่หลาย เชื่อกันว่า กล้วยเป็นไม้ผลชนิดแรก ที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน และได้แพร่พันธุ์จากเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังดินแดนอื่นๆ ในระยะเวลาต่อมา กล้วยมีการปลูกกันมากในเอเชียใต้ แม้ในปัจจุบัน ประเทศอินเดียเป็นประเทศที่มีการปลูกกล้วยมากที่สุดในโลก และมีพันธุ์กล้วยมากมายอีกด้วย เหมาะสมกับที่มีการกล่าวกันไว้ในหนังสือของชาวอาหรับว่า "กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย" ต่อมา ได้มีหมอของจักรพรรดิโรมันแห่งกรุงโรมชื่อว่า แอนโตนิอุส มูซา (Antonius Musa) ได้นำหน่อกล้วยจากอินเดีย ไปปลูกทางตอนเหนือของอียิปต์ เมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว หลังจากนั้น มีการแพร่ขยายพันธุ์กล้วยไปในดินแดนของแอฟริกา ที่ชาวอาหรับเข้าไปค้าขาย และพำนักอาศัย จนกระทั่งเมื่อประมาณ ค.ศ. 965 ได้มีการกล่าวถึงกล้วยว่า ใช้ในการประกอบอาหารชนิดหนึ่งของชาวอาหรับ ซึ่งอร่อย และเป็นที่เลื่องลือมาก ชื่อว่า กาลาอิฟ (Kalaif ) เป็นอาหารที่ปรุงด้วยกล้วย เมล็ดอัลมอนด์ น้ำผึ้ง ผสมกับน้ำมันนัต (Nut oil) ซึ่งสกัดจากผลไม้เปลือกแข็งชนิดหนึ่ง นอกจากใช้ประกอบอาหารแล้ว ชาวอาหรับยังใช้กล้วยทำยาอีกด้วย ชาวอาหรับเรียกกล้วยว่า "มูซา" ตามชื่อของหมอ ที่เป็นผู้นำกล้วยเข้ามาในอียิปต์เป็นครั้งแรก ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวโปรตุเกสได้เดินเรือไปค้าขายบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา และได้นำกล้วยไปแพร่พันธุ์ที่หมู่เกาะคะแนรี ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป หลังจากนั้น ชาวสเปนจึงได้นำกล้วยจากหมู่เกาะคะแนรีเข้าไปปลูกในหมู่เกาะอินดีสตะวันตกในอเมริกากลาง โดยเริ่มปลูก ที่อาณานิคมซันโตโดมิงโก บนเกาะฮิสปันโยลาเป็นแห่งแรก แล้วขยายไปปลูกที่เกาะอื่นในเวลาต่อมา ส่งผลให้ดินแดนในอเมริกากลางมีการปลูกกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจกันอย่างแพร่หลาย และนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้กลายเป็นแหล่งปลูกกล้วยส่งเป็นสินค้าออกมากที่สุดของโลก (มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, ม.ป.ป.) โดยปลูกมากในประเทศคอสตาริกา และประเทศฮอนดูรัส แสดงให้เห็นว่า กล้วยมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย และได้มีพ่อค้าได้นำกล้วยไปเร่ขายตามพื้นที่ต่างๆจนเกิดได้รับความนิยมของชาวอาหรับ มีการนำกล้วยนำไปประกอบอาหารจนเป็นที่เลื่องชื่อ ต่อมามีการขยายแพร่พันธุ์กล้วยจากอินเดียไปยังพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งพื้นที่ในประเทศไทย และได้แพร่ขยายจนระดับโลกในที่สุด ประเทศไทยมีการปลูกกล้วยกันมาช้านาน กล้วยที่ปลูกมีมากมายหลายชนิด พันธุ์กล้วยที่ใช้ปลูกในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้น มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม และนำเข้ามาจากประเทศใกล้เคียง โดยสายพันธุ์กล้วยยอดนิยมที่พบเห็นได้บ่อยในเมืองไทย ดังเช่น กล้วยไข่, กล้วยหอม, กล้วยน้ำว้า, กล้วยเล็บมือนาง ทั้งหมดนี้มีเพียง กล้วยน้ำว้า เป็นกล้วยที่คนไทยส่วนใหญ่นิยม เนื่องจากกล้วยน้ำว้าสามารถนำส่วนต่างๆ มาใช้ประโยชน์ ทั้งผล ใบตอง และหยวก ออกผลผลิตได้ง่าย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยเชื่อม กล้วยกวน เป็นต้น และกล้วยน้ำว้ายังเป็นกล้วยที่ทนต่อสภาพอากาศของประเทศไทยอย่างยิ่งโดยเฉพาะฤดูร้อนที่กล้วยน้ำว้านั้นทนต่อสภาพอากาศได้ดีที่สุด กล้วยน้ำว้าในประเทศไทยเป็นกล้วยที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของกล้วยป่า 2 ชนิด ได้แก่ Musa acuminate, Musa balbisaina มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า การปลูกกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว, กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง และกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดง โดยกล้วยน้ำว้าในแต่ละกลุ่มก็มีลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” เป็นกล้วยน้ำว้าไส้ขาว เมื่อนำไปทำ “กล้วยตาก” จะได้กล้วยตากที่สีเหลืองสวย ไม่ดำคล้ำ หรือ เอาไปทำกล้วยแผ่นอบ ก็จะมีสีเหลืองสวยพอดี ไม่เหลืองมาก เหมือนกลุ่มกล้วยน้ำว้าเหลืองส่วนกล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้เหลือง เหมาะสำหรับการกินผลสด ทำกล้วยเชื่อม กล้วยทอด กล้วยบวชชี เป็นกล้วยที่เหมาะสำหรับการแปรรูป ทำขนม ใช้งานได้หลากหลายที่สุด สุดท้ายคือ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดง เป็นกล้วยที่ติดผลค่อนข้างดก ไส้กลางค่อนข้างแข็ง มีความฝาด จะเหมาะนำไปทำกล้วยเชื่อม หรือทำไส้ข้าวต้มมัด เพราะไส้กล้วยมีความแข็งไม่เละ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดงนั้น ไม่เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยตาก เพราะกล้วยตากที่มีสีคล้ำดำ สีไม่สวย ดูเหมือนกล้วยตากเก่า (กองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้าน, 2563) แสดงให้เห็นว่า กล้วยน้ำว้าในไทยมี 3 ชนิดคือ กล้วยน้ำว้าขาว กล้วยน้ำว้าเหลือง และกล้วยน้ำว้าแดง โดยกล้วยทั้ง 3 ชนิดนี้ กล้วยที่เหมาะแก่การนำไปแปรรูปมากที่สุดคือกล้วยน้ำว้าเหลือง เพราะกล้วยน้ำว้าขาวจะมีรสชาติที่หวานจัด จึงอาจไม่เหมาะนำไปแปรรูปในเรื่องของรสชาติที่หวานจัด ส่วนกล้วยน้ำว้าแดงจะค่อนข้างแข็ง มีรสฝาด ไม่เหมาะต่อการทำผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป ดังนั้นกล้วยน้ำว้าเหลืองจึงนิยมในการทำผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้ามากที่สุดนั่นเอง ดังภาพ 1-3
ภาพที่ 1 กล้วยน้ำว้าพันธุ์ปากช่อง 50 ไส้เหลืองที่กำลังให้ผลผลิต (มนตรี ตรีชารี, 2559)
ภาพที่ 2 กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องไส้ขาว (ไทยรัฐออนไลน์, 2558)
ภาพที่ 3 กล้วยน้ำว้าแดง (พอร์ทัลมือสมัครเล่นทำอาหาร, ม.ป.ป.)
จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคกล้วยกวนของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว พบว่า ผู้บริโภคต้องการให้กล้วยกวนมีรสชาติ ไม่หวานมากนัก เนื้อสัมผัสไม่เหนียวเกินไป สีของกล้วยกวนไม่ดำ และให้มีกลิ่นรสของกล้วยมากขึ้น ในการศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีของกล้วยน้ำว้า 3 ชนิดคือ กล้วยน้ำว้าไส้ขาว กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง และกล้วยน้ำว้าไส้แดง พบว่าปริมาณความชื้น (74.88-75.21), โปรตีน (2.24-2.40), ไขมัน (0.12-0.13), คาร์โบไฮเดรท (19.56-19.86), เถ้า (2.11-2.68) และเยื่อใย (74.88-75.00) ค่าความเป็นกรด ด่าง (4.55-4.61) และปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ (22.81-23.03) ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 เมื่อนำกล้วยทั้ง 3 ชนิด มาทดลองทำกล้วยกวน พบว่า กล้วยกวนที่ทำจากกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองได้คะแนนความชอบทางด้านสี เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมเฉลี่ยสูงสุด (สุพร ชุ่มจิตต์, 2544) แสดงให้เห็นว่า ในการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคกล้วยกวนของผู้บริโภคนั้น ส่วนใหญ่ผู้บริโภคชอบกล้วยกวนที่ทำมาจากกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองมากที่สุด เนื่องจากสีสวย รสชาติหวานพอดี ส่วนกล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่ทำกล้วยกวนจะมีรสชาติที่หวานที่สุด ซึ่งแตกต่างจากจากกล้วยน้ำว้าไส้แดงมีรสฝาดและมีสีดำเข้มดูไม่น่าทาน ดังนั้นกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองจึงเป็นที่นิยมในการทำกล้วยกวนและตอบโจทย์แก่ผู้บริโภคมากที่สุด กล้วยกวน เป็นการเอากล้วยน้ำว้าที่สุกงอมมาแปรรูปด้วยการกวน เพื่อเพิ่มมูลค่า เนื่องจากกล้วยมีผลผลิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการนำกล้วยมาแปรรูปเพื่อเก็บรักษาได้นาน นอกจากนี้กล้วยกวนยังเป็นของขึ้นชื่อสินค้า OTOP 5 ดาวในหลายจังหวัด ซึ่งกล้วยกวนของจังหวัดกำแพงเพชรเป็นของฝากที่จัดอยู่ในสินค้า OTOP 5 เช่นกัน ผลิตภัณฑ์กล้วยกวนของจังหวัดกำแพงเพชร หรือเรียกว่า กล้วยกวนตองแก้ว มีจุดเริ่มต้นจาก กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ซึ่งจัดตั้งกลุ่มขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2543 นางสาวรุ่งนภา ไหววิจิตร ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ได้มีการอบรมกันในจำนวนสมาชิก 25 คน โดยการอบรมของ อบต. ทั้งตำบล เพื่อคิดค้นทำผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูป แสดงให้เห็นว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีได้ทำการประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก และปลูกกล้วยเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดกล้วยมีมากจนเกินไปที่จะบริโภค ทำให้กล้วยที่มีอยู่นั้นเกิดการเน่าเสีย นางสาวรุ่งนภา ไหววิจิตร เป็นแกนนำได้นัดอบรมสมาชิกเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี เพื่อแก้ไขปัญหากล้วยที่มีมากก่อให้เกิดการเน่าเสีย จึงได้นัดประสานงานอบรมกับทาง อบต.ทั้งตำบลจนได้คิดการทำผลไม้แปรรูปคือกล้วยกวนนั่นเอง การแปรรูปกล้วยกวนนั้นสามารถเก็บไว้ได้นานและส่งออกทำเป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP พร้อมทั้งประกวดผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP จนได้รับรางวัลระดับ 5 ดาวมาต่อเนื่องถึง 4 ปีซ้อน ถือว่าเป็นอีกหนึ่งของขึ้นชื่อของจังหวัดกำแพงเพชร และเป็นอีกหนึ่งกับความสำเร็จประเภทอาหารโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ จากการสัมภาษณ์คุณรุ่งนภา ไหววิจิตร เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2564 (การสัมภาษณ์, 14 ตุลาคม 2564) ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ได้กล่าวไว้ว่า เดิมทีคุณรุ่งนภา ไหววิจิตร ได้ทำส้มโอกวนมาก่อน หลังจากนั้นได้นัดอบรมกันในสมาชิก 25 คนกับทางอบต.ว่าจะทำผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปเพิ่มเติม จึงได้คิดค้นในการทำผลิตภัณฑ์กล้วยกวนและจัดออกจำหน่ายตามตลาดมอกล้วยไข่ แต่แรกกล้วยกวนนั้นได้ห่อกล้วยกวนด้วยกระดาษแก้วแต่ไม่เป็นจุดที่สนใจของลูกค้า จนได้เห็นแม่ค้าขายสับปะรดที่ห่อสับปะรดรูปแบบคล้ายข้าวต้มมัด จึงได้ฉุดคิดไอเดียในการห่อกล้วยกวนในรูปแบบของข้าวต้มมัด ทำให้เป็นที่จุดสนใจของลูกค้าที่ตลาดมอกล้วยไข่เป็นอย่างมาก จนมีผู้ติดตามและสนใจในการทำกล้วยกวนที่มากขึ้นจนมีสมาชิกที่ทำกล้วยกวนปัจจุบันทั้งหมด 30 คน สาเหตุที่ห่อกล้วยกวนด้วยการห่อแบบข้าวต้มมัดนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบ บรรจุใส่ชะลอมได้ กล้วยกวนเดิมทีนั้นสามารถทำได้ทั้งกล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยหอม แต่กล้วยหอมนั้นมีต้นทุนที่สูงและกล้วยไข่มีปริมาณที่น้อยต่อการทำผลิตภัณฑ์กล้วยกวน ต้นทุนสูงเช่นเดียวกับกล้วยหอม จึงนำกล้วยน้ำว้าในการทำผลิตภัณฑ์กล้วยกวน เนื่องจากต้นทุนไม่สูงและมีปริมาณเยอะ ผลงานด้านรางวัลของ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ได้รางวัลกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนดีเด่นระดับจังหวัดลำดับที่ 1 ระดับเขตลำดับที่ 1 และระดับประเทศลำดับที่ 4 โดยระดับประเทศมีการประกวดทั้งหมด 8 กลุ่ม และได้รับประกาศนียบัตรกล้วยกวนตองแก้วของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับห้าดาวประเภทอาหารตามโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย (OTOP Product Champion) มาต่อเนื่อง 4 ปีซ้อน และได้ลำดับที่ 4 ในรอบประเทศ รางวัลและเกียรติบัตรที่ได้รับของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีมี 28 รายการดังนี้ 1. ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลชนะเลิศ การประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับจังหวัด ประจำปี 2546 2. ได้รับการคัดสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสามดาว ประจำปี 2547 (กล้วยกวน) 3. ได้รับเกียรติบัตรแห่งภูมิปัญญาเกษตรไทย เพื่อแสดงว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนเป็นผู้อนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแปรรูป ดีเด่น รางวัลที่ 2 จังหวัดกำแพงเพชร (22 ก.ย. 2547) 4. ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนได้รับรางวัลที่ 1 การประกวดแข่งขันการห่อกล้วยไข่กวน (14 ต.ค. 2547) 5. ได้รับใบอนุญาตการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรชุมชนแปรรูป (กล้วยกวน เลขที่รหัส กษ 04389900-0004-052) (16 ก.พ. 2548) 6. ได้รับใบอนุญาตการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรชุมชนแปรรูป (ส้มโอทิพย์ชากังราว เลขที่รหัส กษ 04389900-0004-782) (16 ก.พ. 2548) 7. ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน (รหัสทะเบียน 6-62-01-07/1-002) (18 พ.ย. 2548) 8. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสามดาว ประจำปี 2549 (กล้วยกวน) 9. ได้รับโล่เกียรติบัตร รางวัลที่ 1 ในการประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2549 10. ได้รับวุฒิบัตร เพื่อแสดงว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้เข้ารับการอบรมตามโครงการอบรมการจัดทำบัญชีวิเคราะห์ต้นทุน และแผนธุรกิจ ภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2549 (11 ตุลาคม 2549) 11. ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รับการรับรองว่ากล้วยกวน และส้มโอทิพย์ชากังราว มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์สินค้ามาตรฐานสหกรณ์ (10 เม.ย. 2551) 12. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสองดาว ประจำปี พ.ศ.2552 (กล้วยกวน) (23 ธันวาคม 2551) 13. ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลที่ 1 ในการประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2552 (14 กันยายน 2552) 14. ได้รับเกียรติบัตรเพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลชนะเลิศ การประกวดการจัดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ในงานประเพณี “นบพระ-เล่นเพลง” และงานกาชาดจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2553 (8 มีนาคม 2553) 15. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับห้าดาว ประจำปี 2553 (กล้วยกวน) (16 กันยายน 2553) 16. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับห้าดาว ประเภทอาหาร (กล้วยกวน) (1 มีนาคม 2556) 17. ได้รับเกียรติบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลชนะเลิศ การประกวดบูธจำหน่ายสินค้า OTOP ในงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2556 (10 ตุลาคม 2556) 18. ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลที่ 1 การประกวดกล้วยไข่รังนก ในงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2557 (25 กันยายน 2557) 19. ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.35/2546) (4 ธันวาคม 2557) 20. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับห้าดาว ประจำปี 2559 (กล้วยกวน) (15 กรกฎาคม 2559) 21. ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลที่ 1 การประกวดแข่งขันการทำกล้วยไข่ชุบช็อกโกแลต ในงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2559 (4 ตุลาคม 2559) 22. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสี่ดาว ประเภทอาหาร (มะม่วงกวน) (25 ตุลาคม 2559) 23. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสี่ดาว ประเภทอาหาร (ประเภทอาหาร) (25 ตุลาคม 2559) 24. ได้รับเกียรติบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้ร่วมกิจกรรมและสนับสนุนทุนการศึกษาเนื่องในวันเด็กแห่งชาติปีงบประมาณ 2560 (14 มกราคม 2560) 25. ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ไดรางวัลที่ 1 การประกวดแข่งขันการทำกล้วยไข่ฉาบสอดไส้ ในงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2560 (25 กันยายน 2560) 26. ได้รับเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ OTOP กรมการพัฒนาชุมชน “Premium” รหัสเครื่องหมาย S/62/0012 (26 กันยายน 2560) 27. ได้รับเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ OTOP กรมการพัฒนาชุมชน “Standard” รหัสเครื่องหมาย S/62/0100 (26 กันยายน 2560) 28. ได้รับเกียรติบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ได้เข้าร่วมในกิจกรรม “ตลาดนัดการศึกษาและอาชีพ” ปีการศึกษา 2560 (3 ธันวาคม 2560) 29. ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.35/2558) (28 มีนาคม 2561)
ภาพแสดงเกียรติบัตรที่ได้รับมีดังนี้
ภาพที่ 4 เกียรติบัตรผลิตภัณฑ์ระดับห้าดาวประเภทอาหาร
ภาพที่ 5 รูปแบบผลิตภัณฑ์
ภาพที่ 6 โล่รางวัลที่ 1 ของการประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด
ภาพที่ 7 โล่รางวัลได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP SELECT
คำอธิบาย[แก้ไข]
กล้วยกวนตองแก้ว รสชาติ หวาน มัน อร่อยถูกสุขลักษณะมีคุณค่าทางโภชนาการและไม่ใช้วัตถุกันเสีย ในด้านของบรรจุภัณฑ์มีทั้งแบบที่ห่อด้วยกระดาษแก้วสามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ได้ง่ายสะดุดตา และแบบที่ใช้ใบตองห่อแบบข้าวต้มมัดและมัดรวมเป็นช่อสวยงามและเป็นบรรจุภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม
ภาพที่ 8 กล้วยกวนลานดอกไม้ (กล้วยกวนตองแก้ว, 2563)
สถานที่[แก้ไข]
กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 11 ถนน - ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
วัสดุผลิตภัณฑ์ [แก้ไข]
1. กล้วยน้ำว้าสุก 10 กิโลกรัม
ภาพที่ 9 กล้วยน้ำว้าสุก (ไทยรัฐออนไลน์, 2563)
2. กะทิ 2 กิโลกรัม
ภาพที่ 10 กะทิ
3. น้ำตาลทราย 500 กรัม
ภาพที่ 11 น้ำตาลทราย
4. แบะแซ 1 กิโลกรัม
ภาพที่ 12 แบะแซ (แบะแซหอนาฬิกา, 2561, ออนไลน์)
5. เกลือ 2 ช้อนชา
ภาพที่ 13 เกลือ
6. นมข้นหวาน 1 กระป๋อง
ภาพที่ 14 นมข้นหวาน
ส่วนผสมที่ผลิตกล้วยกวนลานดอกไม้ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีจะไม่มีส่วนผสม ในเรื่องของสารกันเสีย ปราศจากสารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สามารถทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
ประเภทการใช้งาน[แก้ไข]
รับประทานแบบ 1 ชิ้น พอดีคำ, เป็นของฝาก
กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน[แก้ไข]
จากการสัมภาษณ์ รุ่งนภา ไหววิจิตร (การสัมภาษณ์, 14 ตุลาคม 2564) ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีในเรื่องของกระบวนการผลิตกล้วยกวนลานดอกไม้ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ถูกสุขอนามัย ไม่ใส่สารกันเสีย มีพนักงานสวมเครื่องแต่งกายและถุงมือก่อนเริ่มการผลิตกล้วยกวน ขั้นตอนการทำกล้วยกวนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีมีดังนี้ 1. นำกล้วยน้ำว้าที่สุกแล้วไปบดให้ละเอียด 2. นำกล้วยที่บดละเอียดแล้วไปกวนกับกะทิจนสุก 3. เมื่อกวนกล้วยจนสุกแล้วจึงใส่ น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย แบะแซและเกลือแล้วกวนต่อไปเรื่อยจนเหนียวและกะทิแตกมัน (จะสังเกตได้จากกระทะจะเลื่อมกล้วยเริ่มจะไม่ติดกระทะ) 4. เมื่อกวนจนเหนียวแล้วและกะทิแตกมันแล้วจึงใส่นมข้นหวานเป็นลำดับสุดท้ายและกวนต่อไปเรื่อย ๆ โดยใช้ไฟอ่อน ๆ โดยกวนต่อไปประมาณ 8 ชั่วโมงจึงใช้ได้
ภาพที่ 15 กล้วยที่ผสมวัสดุผลิตภัณฑ์กำลังกวน (OTOP กำแพงเพชร, 2564)
5. เมื่อกวนเสร็จแล้วจึงตักออกใส่ถุงประมาณ 3 กิโลครึ่ง ใส่แบบรีดให้เรียบเป็นแผ่น พักทิ้งไว้ให้เย็น 1 คืน
ภาพที่ 16 กล้วยที่กวนเสร็จแล้วนำมาใส่ถุงและรีดให้เรียบเป็นแผ่น (OTOP กำแพงเพชร, 2564)
6. ตัดเป็นชิ้นเล็กตามขนาดที่ต้องการแล้วนำไปห่อด้วยกระดาษแก้วหรือใบตองแห้งแล้วจึงบรรจุใส่ถุงหรือกล่อง
ภาพที่ 17 กล้วยที่ตัดเป็นชิ้น (OTOP กำแพงเพชร, 2564)
ภาพที่ 18 กล้วยกวนที่ห่อบรรจุภัณฑ์ (OTOP กำแพงเพชร, 2564)
แสดงให้เห็นว่ากระบวนการผลิตกล้วยกวนลานดอกไม้ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย ถูกสุขอนามัย พนักงานสวมเครื่องแต่งกายและถุงมือก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ซึ่งได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีใบรับรองยืนยัน
ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]
แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]
กล้วยกวนตองแก้ว. (2563, 12 พฤษภาคม). ผลิตภัณฑ์กล้วยกวนตองแก้ว. [Facebook]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/tongkaew62000/photos/pcb.3399583283402408/3399582823402454 กองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้าน. (2563). กล้วยน้ำว้านวลจันทร์ ทั้งสวย ทั้งรสชาติดี. เข้าถึงได้จาก https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_112426 ไทยรัฐออนไลน์. (2558). กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง กับที่มาชื่อหวานชื่นใจ. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/content/491591?fbclid=IwAR21dwObbyC4OXvbIudGHDQ2Bck-_Hv10teWliDoiG0SFRWtihu2bqWqqc ----------. (2563). เคล็ดลับกินกล้วยน้ำว้า คุณประโยชน์ป้องกันโรค 15 ชนิด ลดน้ำหนัก ชะลอวัย. เข้าถึงได้จาก https://www.thairath.co.th/scoop/1973813?fbclid=IwAR3bMA_q3Mt5zwu4EYEPIXdqVH8EQlYuB5OunXVDJvjir0NJk6rUiOyoexk แบะแซหอนาฬิกา. (2561, 17 กรกฎาคม). แบะแซ. [Facebook]. เข้าถึงได้จาก https://web.facebook.com/แบะแซหอนาฬิกา-118044772240775/photos/pcb.169898817055370/204508660261052/ พอร์ทัลมือสมัครเล่นทำอาหาร. (ม.ป.ป.). ที่กล้วยแดงเติบโต. กล้วยน้ำว้าแดง: ความแตกต่างจากกล้วยสีเหลือง วิธีรับประทานทำอย่างไรกับมันและปรุงอย่างไรจึงจะมีประโยชน์. เข้าถึงได้จาก https://glutenfreemama.ru/th/gde-rastut-krasnye-banany-krasnye-banany-otlichie-ot-zheltyh/ มนตรี ตรีชารี. (2559). ปลูกกล้วยน้ำว้ารวยได้…“พันธุ์ปากช่อง 50” ของ อิทธิกร จันทร์น้อย ที่ อ.ปากช่อง. เข้าถึงได้จาก https://www.kasetkaoklai.com/home/2016/09/ปลูกกล้วยน้ำว้ารวยได้/?fbclid=IwAR2HQL5JO7f_M5-d8mRKih-KFz1Cx1w7Cy_J3JzjDCtObgxplOLqCoYdrGM มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ. (ม.ป.ป.). ประวัติของกล้วย. เข้าถึงได้จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=30&chap=6&page=t30-6-infodetail01.html สุพร ชุ่มจิตต์. (2544). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กล้วยกวนเพื่อตลาดนักท่องเที่ยว. เข้าถึงได้จาก http://www.thaithesis.org/detail.php?id=29884 OTOP กำแพงเพชร. (2564, 2 สิงหาคม). ผลิตภัณฑ์กล้วยกวนตองแก้ว. [Facebook]. เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/watch/?v=792033138140730&ref=sharing
วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]
13 สิงหาคม พ.ศ.2564
วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]
2 พฤศจิกายน พ.ศ.2564
ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]
อาจารย์วนัสนันท์ นุชนารถ, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พธูรำไพ ประภัสสร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภโชคชัย นันทศรี, อาจารย์ ดร.พิมพ์นารา บรรจง และอาจารย์ธนธรณ์ แจ้งโม้ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร นายสุทีรพล พรมศรี และนายพีรณัส พูลเขียว นักศึกษาโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]
กล้วยกวน กำแพงเพชร, กล้วยกวนตองแก้ว, กล้วยกวนลานดอกไม้