ฐานข้อมูล เรื่อง นครไตรตรึงษ์ เมืองโบราณ ต้นกำเนิดอาณาจักรอยุธยา

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อแหล่งโบราณสถาน

         1. วัดเจดีย์เจ็ดยอด
         2. วัดดงอ้อย
         3. วัดริมทาง
         4. วัดดงมัน
         5. วัดพระปรางค์

ชื่อเรียกอื่นๆ

         ไม่มี

ที่ตั้ง (ที่อยู่)

         เมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่บ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีพื้นที่ติดต่อ ดังต่อไปนี้
             • ด้านทิศเหนือ       ติดต่อกับแม่น้ำปิง
             • ด้านทิศใต้           ติดต่อกับบ้านมอวังพระธาตุ และถนนพหลโยธิน
             • ด้านทิศตะวันออก  ติดต่อกับวัดวังพระธาตุและแม่น้ำปิง
             • ด้านทิศตะวันตก    ติดต่อกับบ้านท่าเสากระโดงและแม่น้ำปิง

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์

         ละติจูดที่ 16 องศา 22 ลิปดา 31.55 พิลิปดาเหนือ  ลองจิจูดที่  99 องศา 33 ลิปดา 25.88 พิลิปดาตะวันออก

สภาพธรณีวิทยา

         เมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิง ซึ่งมีลักษณะทางธรณีสัณฐานแบบราบลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่าง คือ ตะพักลุ่มน้ำ (ALLUVIAL TERRACE) โดยลักษณะธรณีสัณฐานเช่นนี้ พบในบริเวณทางด้านทิศตะวันออกและใต้ของจังหวัดกำแพงเพชรส่วนลักษณะทางธรณีวิทยาพบว่าเป็นตะกอนธารน้ำพา (Qa) ประกอบไปด้วย กรวด ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียวสะสมตัวตามร่องน้ำ คันดินแม่น้ำและแอ่งน้ำท่วมถึง

หน่วยงานที่ดูแลรักษา

         • กรมศิลปากรที่ 6 สุโขทัย
         • ราชพัสดุ ขึ้นทางกรมธนารักษ์
         • อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ 2507

สถานะการขึ้นทะเบียน

         เมืองไตรตรึงษ์จึงได้การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 45 วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ.2501 ปัจจุบันภายในเมืองไตรตรึงษ์พบโบราณสถานแล้วจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ 
             1. โบราณสถานวัดดงอ้อย	         ละติจูด 16°22'34.7"	 ลองจิจูด 99°33'37.5"
             2. โบราณสถานวัดเจดีย์เจ็ดยอด	 ละติจูด 16°22'35.7"	 ลองจิจูด 99°33'34.0"
             3. โบราณสถานวัดริมทาง	         ละติจูด 16°22'36.5"	 ลองจิจูด 99°33'29.8"
             4. โบราณสถานวัดดงมัน	         ละติจูด 16°22'37.8"	 ลองจิจูด 99°33'28.1"
             5. โบราณสถานวัดพระปรางค์	 ละติจูด 16°22'35.6"	 ลองจิจูด 99°33'24.1"

ข้อมูลทางโบราณคดี

ประวัติ /ความเป็นมา/ คำบอกเล่า /ตำนาน

         จากการศึกษาจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบจากแหล่งโบราณคดีที่พบในบริเวณลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่าง อาทิ แหล่งโบราณคดีเขากะล่อน อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร แหล่งโบราณคดีมอเสือตบ อำเภอ  โกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร ที่แสดงถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชุมชนโบราณลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่าง มีมาตั้งแต่ช่วงก่อนช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 หรือช่วงสมัยสุโขทัยนั่นเอง
         เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกหนึ่งชุมชนโบราณที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงตอนล่าง ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโบราณบริเวณภาคกลางในวัฒนธรรมทวารวดี คือ ตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำ และมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบ 1-3 ชั้น ผังเมืองจะมีรูปร่างแตกต่างกันไป แต่มักจะขนานกับทางน้ำ 
         เมื่อพิจารณาร่วมกับหลักฐานทางด้านเอกสารประวัติศาสตร์ อย่างตำนานจามเทวีที่กล่าวถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 พระนางจามเทวี กษัตริย์แห่งเมืองละโว้ได้อพยพผู้คนจากเมืองละโว้ ขึ้นมาเมืองหริภุญชัย โดยใช้เส้นทางแม่น้ำปิง เป็นเส้นทางคมนาคมหลัก ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานประเภทโบราณวัตถุที่พบมีความคล้ายคลึงกันกับโบราณวัตถุที่พบในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ ตะเกียงดินเผา ลูกปัดแก้ว หรือ ลูกปัดหินเป็นต้น 
         ดังนั้นการตั้งถิ่นฐานของเมืองไตรตรึงษ์เกิดขึ้นจากปัจจัยสำคัญคือ ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ เมืองไตรตรึงษ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิง แหล่งน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่อุปโภคและบริโภค และทำให้เกิดการใช้เส้นทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในการติดต่อและแลกเปลี่ยนสินค้ากับชุมชนภายนอก โดยเฉพาะชุมชนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแผนที่ตำแหน่งเมืองไตรตรึงษ์ที่แสดงให้เห็นว่า หากเดินทางขึ้นทางทิศเหนือจะก็จะพบเมืองกำแพงเพชร เมืองนครชุมได้ หากเดินทางลงทางใต้ก็จะเจอเมืองดงแม่นางเมือง และสามารถลงไปถึงเมืองอื่นๆในบริเวณภาคกลางได้ด้วย 
         จากการศึกษาและวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีที่พบบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ในช่วงเวลาที่ผ่านชี้ให้เห็นว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นชุมชนที่มีการอยู่อาศัยใน ๓ สมัยหลักๆ ได้แก่ สมัยก่อนสุโขทัย สมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา ส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์นั้นเมืองไตรตรึงษ์ได้กลายเป็นเมืองร้าง 
         สมัยก่อนสุโขทัย  
             เมืองไตรตรึงษ์เป็นอีกชุมชนโบราณที่มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย โดยเอกสารประเภทตำนานและพงศาวดาร อาทิ พงศาวดารโยนก ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงเมืองไตรตรึงษ์ในฐานะเมืองที่ถูกสร้างขึ้นมาใกล้กับเมืองกำแพงเพชรทางด้านทิศใต้ นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงโดยทางอ้อมของการมีอยู่และการตั้งถิ่นฐานของชุมชนริมแม่น้ำปิงอย่างตำนานจามเทวี รวมทั้งยังมีข้อมูลที่ได้จากการดำเนินขุดค้นในบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ ซึ่งพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาภาชนะดินเผาก้นกลม และตะเกียงดินเผาแบบโรมัน ที่คล้ายคลึงกับที่พบที่ชุมชนโบราณบ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี นอกจากนี้ยังพบ ลูกปัดหินและลูกปัดแก้วสีเหลือง ส้ม เขียว ฟ้า น้ำเงิน ดำ และสีน้ำตาลแดง แวดินเผาที่มีลักษณะคล้ายกับที่เมืองจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งสามารถเทียบเคียงอายุสมัย จากโบราณวัตถุที่มีลักษณะร่วมกันว่าอยู่ในช่วงของวัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๖)
             จากหลักฐานที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า เมืองไตรตรึงษ์มีการอยู่อาศัยตั้งแต่ช่วงสมัยก่อนสุโขทัย โดยสันนิษฐานว่ามีการเข้ามาอยู่อาศัยตั้งแต่สมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) นั่นเอง
ภาพที่ 5.jpg

ภาพที่ 1 ตะเกียงดินเผาที่พบในเมืองไตรตรึงษ์ ปัจจุุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

         สมัยสุโขทัย
             เมืองไตรตรึงษ์ปรากฏร่องรอยของการได้รับอิทธิพลของรูปแบบของลักษณะสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม ที่เป็นลักษณะเด่นของศิลปะสมัยสุโขทัย ได้แก่ วัดเจดีย์เจ็ดยอดและวัดวังพระธาตุ ที่มีเจดีย์ประธานทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ นอกจากนี้ผลจากการดำเนินงานขุดค้นทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาที่มีแหล่งผลิตจากสุโขทัย อาทิ เศษภาชนะดินเผาเครื่องสังคโลกแบบเชลียงเคลือบสีเขียวเฉพาะด้านในผลิตจากแหล่งเตาบ้านเกาะน้อย ราวพุทธศตวรรษที่ 19-20
2-3.jpg

ภาพที่ 2 - 3 เจดีย์วัดวังพระธาตุ และเศียรพระพุทธรูป วัดวังพระธาตุ ถ่ายในปี พ.ศ.2558

         สมัยอยุธยา
             ชื่อเมืองไตรตรึงษ์ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ ศิลาหลักที่ 38 หรือจารึกกฎหมายลักษณะโจร (เลขทะเบียน สท.17) ซึ่งเป็นกฎหมายอาญาในยุคแรกเริ่มที่อาณาจักรอยุธยาตราขึ้นบังคับใช้ในสุโขทัย เชลียง กำแพงเพชร ทุ่งยั้ง ปากยม และเมืองสองแคว ในปีช่วง พ.ศ.1940  ซึ่งตรงกับสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 2 พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย

โดยข้อความในจารึกได้ปรากฏชื่อเมืองไตรตรึงษ์ใน ด้านที่ 1 ในบรรทัดที่ 9 มีข้อความว่า

คำจารึก คำอ่าน
“..เจ๋าเมืองตรายตริง (ษกบั) ดวยนกกปราชราชกวี “..เจ้าเมืองไตรตรึง (ส์กับ) ด้วยนักปราชญ์ราชกวี
(มีสกุลพ) รรณนงัลงถวายอัญชูลี (พบา (มีสกุลพ) รรณ นั่งลงถวายอัญชุลี (พระบาท)
เสดจในตรีมุขเสวิยบุญสุกตงักฤตย เสด็จในตรีมุขเสวยบุญสุข ตั้งกฤตย์
แลวบเหิงกลายทานเสดจ…ดวยบุรีฝูงพาลแ…” แล้วบเหิงกลาย ท่านเสด็จ…ด้วยบุรีฝูงพาล แ-”
             จากข้อความกล่าวว่าแสดงให้เห็นสถานะความเป็นชุมชนเมืองในโดยมีเจ้าเมืองไตรตรึงษ์เป็นผู้ปกครอง และยังเป็นคณะประชุม การตรากฎหมายดังกล่าวด้วย
         สมัยรัตนโกสินทร์ 
             ในช่วงสมัยนี้บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ลดบทบาทลงอย่างชัดเจน กลายเป็นเมืองที่ถูกทิ้งร้าง เมืองไตรตรึงษ์ได้ถูกกล่าวในพระราชนิพนธ์ จากการเสด็จประพาสของกษัตริย์ 2 พระองค์ ได้แก่
             1. การเสด็จประพาสเมืองเหนือในรัชกาลที่ 4
             สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ได้บันทึกกล่าวถึงรัชกาลที่๔เมื่อครั้งยังทรงผนวชได้เสด็จประพาสเมืองเหนือได้เสด็จประทับที่เมืองไตรตรึงษ์โดยได้นมัสการพระธาตุตาลเอน จากบันทึกดังกล่าวทำให้ทราบว่า โบราณสถานในบริเวณเขตเมืองโบราณไตรตรึงษ์มีวัดเก่าอยู่หลายแห่งแต่ที่เป็นเจดีย์ใหญ่พอจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุได้นั้นน่าจะเป็น เจดีย์วัดวังพระธาตุนั้นเอง 
             2. การเสด็จประพาสต้นหรือการเสด็จประพาสเมืองเหนือของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5  (ปี ร.ศ.125 หรือ พ.ศ.2449) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นการเสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 โดยเสด็จประพาสต้นถึงเมืองกำแพงเพชร ระหว่างวันที่ 22-26 สิงหาคม พ.ศ.2449 และเสด็จถึงเมืองไตรตรึงษ์ในวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ.2449 ซึ่งทรงบันทึกภาพถ่ายและทรงมีพระราชนิพนธ์เล่าเรื่องไว้ โดยข้อมูลจากพระราชนิพนธ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า ในช่วงเวลานั้นเมืองไตรตรึงษ์ได้กลายเป็นพื้นที่รกร้าง เต็มไปด้วยหญ้าสูง ไม่มีการเข้ามาอยู่อาศัยของผู้คน และได้ปรากฏโบราณสถาน ใน 3 พื้นที่ คือ วัดวังพระธาตุ แนวกำแพงดิน-คูเมืองไตรตรึงษ์ และบริเวณภายในเมืองไตรตรึงษ์
ภาพที่ 9.jpg

ภาพที่ 4 ภาพถ่ายพระเจดีย์วังพระธาตุ

ภาพที่ 10.jpg

ภาพที่ 5 บริเวณฝั่งคูเมืองด้านนอก เมืองไตรตรึงษ์

ภาพที่ 11.jpg

ภาพที่ 6 ภาพถ่ายหมู่เจดีย์เจ็ดยอดในเมืองไตรตรึงษ์

             นอกจากนี้ มีการสำรวจที่ได้แสดงให้เห็นว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงเป็นเมืองร้าง โดยในช่วงปี พ.ศ.2496 นายธนิต อยู่โพธิ์ ได้รับการแต่งตั้งร่วมเป็นอนุกรรมการรวบรวมประวัติศาสตร์สุโขทัย โดยมีพระยาอนุมานราชธน เป็นประธานคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการได้เข้าไปสำรวจโบราณสถานในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก กำแพงเพชรและนครสวรรค์ โดยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2496 ได้เข้าไปดูเมืองไตรตรึงษ์ ปรากฏว่าสภาพโบราณสถานตามภาพถ่ายจากการเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้ทรุดโทรมลงไปมาก 
7-8.jpg

ภาพที่ 7 - 8 ภาพถ่ายพระเจดีย์ ในวัดวังพระธาตุ และภาพลายเส้น พระเจดีย์ในป่าทึบ ในปี พ.ศ.2496

             และยังมีการกล่าวถึงสภาพของเมืองไตรตรึงษ์จากการสำรวจในช่วงปี พ.ศ.2500 ของมานิต วัลลิโภดม ที่สำรวจภายในบริเวณกำแพงเมือง
ภาพที่ 13.jpg

ภาพที่ 9 แผนผังเมืองไตรตรึงษ์ปี พ.ศ.2501

         สภาพปัจจุบัน
             ปัจจุบัน เมืองไตรตรึงษ์เป็นโบราณสถานสำคัญอีกแห่งของจังหวัดกำแพงเพชร โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกมันสำปะหลัง เมื่อพิจารณาจากภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๐-๒๕๕๘ แสดงให้เห็นว่ามีการทำเกษตรกรรมกันอย่างต่อเนื่อง

ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง

         เป็นสถาปัตยกรรมสิ่งปลูกสร้าง ประกอบไปด้วย กำแพงคูเมือง โบราณสถาน

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

         สถาปัตยกรรม ประกอบไปด้วย กำแพงคูเมือง โบราณสถานต่างๆ
             - วัดเจดีย์เจ็ดยอดเป็นสถาปัตยกรรมในสมัยสุโขทัย รูปทรงของเจดีย์ประกอบด้วย ฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมซ้อนกัน 4ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ จากนั้นเป็นชั้นแว่นฟ้าย่อเหลี่ยมไม้ 22 ชั้น เรือนธาตุย่อเหลี่ยมไม้ 20 แล้วจึงเป็นส่วนที่เรียกว่าดอกบัวตูมและส่วนยอดถัดขึ้นไป
    	      - วัดพระปรางค์เปรียบเทียบสถาปัตยกรรม เจดีย์มีรูปทรงเพรียวและชะลูดมากกว่าที่เมืองสุโขทัยองค์ระฆังเล็ก และอยู่ในตำแหน่งสูงปากระฆังไม่บานหรือผายออกมาก นิยมทำฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมและฐานบัวลูกแก้วอกไก่แปดเหลี่ยมรองรับ ส่วนยอดเจดีย์ฐานล่างสุดมักเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมหรือฐานเขียง ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมและฐานบัวลูกแก้วอกไก่แปดเหลี่ยม ซ้อนลดหลั่นกันขึ้นไป จากนั้นเป็นมาลัยเถาที่ทำเป็นชุดบัวถลาสามชั้น เรียงลดหลั่นกันรองรับองค์ระฆัง ส่วนล่างที่เรียกว่าปากระฆังประดับรูปกลีบบัวคว่ำและบัวหงายที่เรียกว่าบัวปากระฆังได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ทำเป็นแท่นฐานทรงสี่เหลี่ยมรูปแบบเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่

ยุคทางโบราณคดี

         • ยุคสมัยก่อนสุโขทัย 
         • ยุคสมัยสุโขทัย
         • ยุคสมัยอยุธยา
         • ยุคสมัยรัตนโกสินทร์ 

สมัย/วัฒนธรรม

         • สมัยก่อนสุโขทัย วัฒนธรรมทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) 100-1001
         • สมัยสุโขทัย  
         • สมัยอยุธยา
         • สมัยรัตนโกสินทร์ 

อายุทางโบราณคดี

         • สมัยก่อนสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 11 – 16) 1561 ปี
         • สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19 – 20) 761 ปี
         • สมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20 – 21) 661 ปี
         • สมัยรัตนโกสินทร์

อายุทางวิทยาศาสตร์

         - ยังไม่ได้มีการดำเนินการวิทยาศาสตร์

อายุทางตำนาน

         • สมัยก่อนสุโขทัย 
         • สมัยสุโขทัย
         • สมัยอยุธยา
         • สมัยรัตนโกสินทร์

ข้อมูลการสำรวจ=

วัน /เดือน/ ปี/ ที่สำรวจ

         วันที่ 10, 20, 25 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2561 

วันปรับปรุงข้อมูล

         -

ผู้สำรวจข้อมูล

         นางสาวพิมกาญดา  จันดาหัวดง

คำสำคัญ (tag)

         นครไตรตรึงษ์, วัดวังพระธาตุ, ท้าวแสนปม

===ผู้ให้ข้อมูล (ชื่อ นามสกุล) /เบอร์โทรศัพท์===

         นาย ภาคภูมิ  อยู่พูล นักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โทร. 0814741895