ฐานข้อมูล เรื่อง ภาษาถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่อชาติพันธุ์/ชุมชน/สังคม[แก้ไข]
-
ชื่อเรียกตนเอง[แก้ไข]
-
ที่ตั้ง[แก้ไข]
อำเภอพรานกระต่าย อยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด ติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอเมืองตาก (จังหวัดตาก)และอำเภอบ้านด่านลานหอย (จังหวัดสุโขทัย) ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอคีรีมาศ (จังหวัดสุโขทัย) และ อำเภอลานกระบือ ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอไทรงาม และ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอโกสัมพีนคร และ อำเภอเมืองตาก (จังหวัดตาก)
ชื่อที่ผู้อื่นเรียก[แก้ไข]
-
ภาษาที่ใช้พูด/เขียน[แก้ไข]
ภาษาชาวอำเภอพรานกระต่าย มีสำเนียงคล้ายชาวสุโขทัย คำที่มีเสียงวรรณยุกต์จัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงวรรณยุกต์เอก และเสียงเอกจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา และมีคำศัพท์เฉพาะอื่น ๆ แตกต่างออกไปจากกลุ่มชนดั้งเดิมในจังหวัดกำแพงเพชร
ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]
มีนายพรานเดินทางมาสำรวจเส้นทาง เพื่อไปสร้างเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย วันหนึ่งขณะที่กำลังพักแรม นายพรานได้พบกระต่ายขนสีทองสวยงามมากบริเวณหน้าถ้ำแห่งหนึ่ง และ ได้หายเข้าไปในถ้ำ ต่อมานายพราน จึงกราบบังคมทูลพระร่วงให้รับทราบ และ รับอาสาจะจับกระต่ายตัวดังกล่าว และได้ใช้ความพยายามที่จะจับตั้งหลายครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้สร้างบ้านถาวรขึ้นบริเวณหน้าถ้ำเพื่อรอจับกระต่าย หลายปีต่อมาจึงมีผู้อพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพรานกระต่าย" ได้รับสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปี 2438 บนเส้นทางพระร่วงจากประตูสะพานโคมโดยไปทางวัดอาวาสน้อย สองข้างทางประชาชนส่วนใหญ่จะพูดภาษาไทยกลาง พอเลยออกจากหมู่บ้านก็จะเป็นพื้นที่ไร่นา เป็นป่าโปร่งเล็ก ๆ ไม่ค่อยจะพบบ้านเรือนประชาชนมากนักที่พบก็ใช้ภาษาไทยกลางดังกล่าวมาแล้ว แต่พอมาถึงบริเวณบ้านดงขวัญ ได้พบประชาชนหรือชาวบ้านบริเวณนั้น เริ่มพูดภาษาถิ่นกันมากขึ้น ได้สอบถามถึงภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันจึงทราบว่าเป็นภาษาพรานกระต่าย ชาวบ้านเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้อพยพมาจากอำเภอพรานกระต่าย ได้ใช้ภาษาพูดของคนสุโขทัย และไม่เหมือนที่ใด มีบางแห่งกล่าวกันว่าคนพรานกระต่าย มีพื้นภาษามาจากลาวพรวน แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดและได้พบการใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่าย มากขึ้นเป็นลำดับตลอดเส้นทาง และจากการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ จากชาวบ้าน ๒ ฝั่งถนนพระร่วงและในเขตชุมชนต่าง ๆ ในระดับตำบลและหมู่บ้านทำให้ทราบได้ว่า พื้นที่ที่ใช้ภาษาพรานกระต่ายมีอยู่ทั่ว ๆ ไปดังนี้ 1. ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จะมีพื้นที่ที่ใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่าย จำนวน ๑ หมู่บ้านซึ่งได้แก่ หมู่บ้านน้ำดิบ 2. ในเขตอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทุกหมู่บ้านในอำเภอนี้ใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่ายทั้งสิ้น 3. อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร มีที่บ้านหนองหลวงและบ้านลานกระบือ 4. อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีพื้นที่ที่ใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่ายทั้งหมด 7 หมู่บ้าน คือ บ้านตลุกป่าตาล บ้านบ่อไม้หว้า บ้านโป่งแดง บ้านลานสอ บ้านวังประจบ บ้านสะแกเครือ และ บ้านไม้งาม 5. อำเภอกงไกรลาส จังหวัดสุโขทัย ใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่าย ณ หมู่บ้านคุยสมอ บ้านชุมแสงสงคราม บ้านหนองตูม 6. อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีที่ บ้านไผ่ล้อม บ้านยางซ้าย บ้านฝอย บ้านคลองยาง 7. อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย มีที่บ้านบึงสนม บ้านคุยประดู่ บ้านใหม่เจริญผล บ้านบ่อคู่ บ้านทุ่งหลวง บ้านสามพวง บ้านเขาทองผางับ บ้านโตนด 8. อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย มีที่บ้านวังตะแบกเหนือจะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมการใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่าย มีอยู่เป็นบริเวณกว้าง ทั่ว ๆ ไป บางแห่งแม้จะมีเพี้ยนไปบ้างก็พอมีเค้าเดิม การเพี้ยนไปนี้ไม่ได้เพี้ยนไปเป็นภาษาทางภาคไหน เพี้ยนมาแต่โบราณกาลแล้ว อาทิเช่น
เสื่อ | เพี้ยนเป็น | เสือ |
ข้าวสาร | เพี้ยนเป็น | ข้าวส่าน |
หนังสือ | เพี้ยนเป็น | หนังสื่อ |
คนสวย | เพี้ยนเป็น | คนส่วย |
มั่งซิ | เพี้ยนเป็น | มั้งฮิ่ |
ไปซิวะ | เพี้ยนเป็น | ไปซั้ว |
ไปไหนเล่า | เพี้ยนเป็น | ไปเม้า |
ภาษาถิ่นที่ยังใช้กันอยู่แพร่หลาย และยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน บางคำที่ไม่เหมือนกับภาคอื่น ๆ เช่น
ขี้ปุ๋น | คือ | ฝรั่ง(ผลไม้) |
ยู้ | คือ | ผลัก , ดัน |
โด๋ | คือ | ตรงโน้น |
โด๋เนี่ย | คือ | ตรงนี้ |
ตะพัด | คือ | สะกัดกั้น |
ยั้ง | คือ | หยุด |
ไม้เส้า | คือ | ไม้สอยผลไม้ |
อี๊ใน | คือ | แมลงใน |
อี๊หนีด | คือ | แมลงจิ้งหรีด |
ลักษณะของภาษาถิ่นพรานกระต่าย คือคำที่มีเสียงวรรณยุกต์เอก และเสียงเอกจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา และมีคำศัพท์ที่แตกต่างไปตามท้องถิ่นอื่น ๆ มีสำเนียงคล้ายกับชาวสุโขทัย แต่มีเสียงเหน่อมากกว่าชาวสุโขทัย สภาพภูมิประเทศไม่มีอิทธิพลต่อภาษาถิ่นพรานกระต่าย เพราะภาษาของคนพรานกระต่าย จะกระจายแบบเครือญาติ อีกทั้งนิสัยคนพรานกระต่ายไม่ค่อยชอบอพยพไปอยู่ที่อื่น สำหรับบริเวณเส้นทางถนนพระร่วง ในช่วงอำเภอพรานกระต่ายจะหนาแน่นมากขึ้นเป็นลำดับในด้านภาษาถิ่น จนถึงเข้าเขตสุโขทัย โดยเฉพาะในเขตอำเภอคีรีมาศจะหนาแน่นในบ้างหมู่บ้าน แล้วค่อย ๆ กระจายเพี้ยนไปเข้าสำเนียงสุโขทัยมากขึ้นตามลำดับ
ตัวอย่างภาษาที่เป็นพรานกระต่าย
จากการศึกษา เรื่อง เอกลักษณ์ภาษาถิ่นพรานกระต่าย สรุปตัวอย่างคำภาษาพรานกระต่ายเบื้องต้น ดังนี้
ล้มกลิ้งกับพื้น | ภาษาพรานกระต่ายคือ | กลิ้งกะหลุ๋น |
ก้องดินในทุ่งนา | ภาษาพรานกระต่ายคือ | ก้อนขี้แต้ |
รถมอเตอร์ไซค์ | ภาษาพรานกระต่ายคือ | รถตามอ |
เล่นหมากเก็บ | ภาษาพรานกระต่ายคือ | เล่นหมากปากเปิด |
ตรงโน้น | ภาษาพรานกระต่ายคือ | โด๋น่ะ |
จอบขุดดิน | ภาษาพรานกระต่ายคือ | กระเบิ้งเหิ๋ง หรือกระบก |
ตุ๊กแก | ภาษาพรานกระต่ายคือ | ตอดตอ |
ลูกน้ำ | ภาษาพรานกระต่ายคือ | ตะกะเตี้ย |
เป็นหลุมเป็นบ่อ | ภาษาพรานกระต่ายคือ | กะบวกกะบั้ว |
1. ลักษณะการใช้ภาษาถิ่น (พรานกระต่าย) วัฒนธรรมการใช้ภาษา ภาษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นภาษากลาง แต่จะมีเพี้ยงไปบ้างก็ยังพอมีเค้าเดิม การเพี้ยนไปนี้เป็นภาษาทางภาคไหน เพี้ยนมาตั้งแต่โบราณกาลแล้วดังต่อไปนี้ คือ
เสื่อ | เพี้ยนเป็น | เสือ |
ข้าวสาร | เพี้ยนเป็น | ข้าวส่าน |
หนังสือ | เพี้ยนเป็น | หนังสื่อ |
คนสวย | เพี้ยนเป็น | คนส่วย |
มั่งซิ | เพี้ยนเป็น | มั้งฮิ่ |
ไปซิวะ | เพี้ยนเป็น | ไปซั้ว |
ไปไหนเล่า | เพี้ยนเป็น | ไปเม้า |
2. ภาษาถิ่งที่ยังใช้กันอยู่แพร่หลาย และยังใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้บางคำที่ไม่เหมือนกับภาคอิ่นๆ เช่น
ขี้ปู๊น | คือ | ฝรั่ง (ผลไม้) |
น้ำแหน่ | คือ | น้อยหน่า |
ยู้ | คือ | ผลัก,ดัน |
โต๋ | คือ | ตรงโน้น |
เนียะ | คือ | ตรงนี้ |
ตะพัด | คือ | สะพัดกั้น |
มอด | คือ | รอดใต้ |
ยั้ง | คือ | หยุด |
ไม้เส้า | คือ | ไม้สอยผลไม้ |
ขวม | คือ | ครอบ,สวม |
แหงะ | คือ | เหลียวดู,หันหน้ามา |
กะบก | คือ | จอบ |
กะจอบ | คือ | เสียม |
คุ | คือ | ถังน้ำ |
อีมุย | คือ | ขวาน |
ตะแก้ม | คือ | จิ้งจก |
แมงกะบี้ | คือ | ผีเสื้อ |
ตะกะเดี้ย | คือ | ลูกน้ำ (ลูกยุง) |
ลูกโจ๋ | คือ | ลูกสุนัข |
หยูด | คือ | ไม่กรอบ |
แคบหมู | คือ | หนังหมูทอดพอง |
จิ้งใน | คือ | จิ้งหรีด |
3. คำสร้อย ใช้เสียงดนตรีในการจบประโยคการสนทนา
ภาษามาตรฐาน | ภาษากำแพงเพชร |
เอาเอง | เอาเอิง |
ไปไหนมา | ไปไหนมาเล๊า |
เอาซิ | เอาฮิ |
4. ภาษาเปลี่ยนไป
อยู่ที่นี่ | ไต๊นี่ |
อยู่โน้น | อยู่ปู่น |
จากผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาทางสังคมในการเปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยกลางและภาษาถิ่นพรานกระต่าย และคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในท้องถิ่น พบว่า ภาษาถิ่นพรานกระต่าย มี 5 วรรณยุกต์ เหมือนกับภาษาไทยกลางนั่นคือ วรรรยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ ดำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์จัตวาในภาษาไทยกลาง จะออกเสียงในวรรณยุกต์ เอก ในภาษาถิ่นพรานกระต่าย และคำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์ เอกและโท ในภาษไทยกลาง สามารถแบ่งออกเป็น 16 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มคำสร้างคำเสริม • กงล้อ กงรถ --> กงล้อ + กงรถ ความหมาย : ล้อรถ ที่มา : กงล้อ (วง,ส่วนรอบของล้อ) กงรถ (วง,ล้อรถ) • กระบวกกระบั๋ว --> กระบวก + กระบั๋ว ความหมาย : เป็นหลุมเป็นบ่อ ที่มา : กระบวก (เป็นหลุมเป็นบ่อ) กระบั๋ว (ไม่มีความหมาย) • กระเซะกระแซะ --> กระเซะ + กระแซะ ความหมาย : เปียก ที่มา : กระเซะ (รู้สึกเริ่มจะเป็นไข้) กระแซะ (ไม่มีความหมาย • ไข้ตะก๊นตะก๊าน --> ไข้ตะกุ๊น + ตะก๊าน ความหมาย : รู้สึกเริ่มจะเป็นไข้ ที่มา : ไข้ตะกุ๊น (รู้สึกเริ่มจะเป็นไข้) ตะก๊าน (ไม่มีความหมาย) 2. กลุ่มคำผสมที่มีสัมผัสสระ • ซะโลกโกกเกก --> ชะโลก + โกกเกก ความหมาย : หุบเขาที่มีหินมาก ไม่เรียบ ที่มา : ชะโลก (ไม่มีความหมาย) โกกเกก (เกะกะระราน ไม่เรียบร้อย) 3. กลุ่มคำเลียนเสียงธรรมชาติ • กุ๊กๆ หรือ โก๊กๆ ที่มา : กาทำเสียงเรียกให้ไก่มากินข้าว ; เลียนเสียงไก่ เช่น : เวลาจะเรียกไก่ให้มากินข้าวจะทำสียง ก็ก กุ๊ก ๆๆๆๆ (พร้อมทำท่าทางดีดนิ้ว) • ไกตั๊กกะก๊าก ที่มา : เสียงไก่เวลาตกใจร้อง (ตัวเมีย) เช่น : ไก่ตกใจเมื่อมีเสียงแปลกปลอม เช่น คน, งู เข้าไป ไก่จะขัน “ไกตั๊กกะต๊าก” • โจ๋ๆ ที่มา : การทำเสียงเรียกให้สุนัขมา(ลูกสุนัข) เช่น : เวลาจะเรียกให้ลูกสุนัขมา ก็ทำเสียง “โจ๋ โจ่ ๆๆๆๆ” • เด๊าะๆ โอ๊ะๆ ที่มา : การทำเสียงเรียกสุนัขให้มา (สนุขตัวใหญ่) เช่น : การทำเสียงเรียกให้สุนัขมา “ เด๊าะๆ โอ๊ะๆๆๆ ” 4. กลุ่มคำที่มีการสลับที่พยัญชนะ • กระต้า --> (กระ + ต้า) ที่มา : ตะกร้า (ตะ + กร้า) เช่น : ภาชนะสานเป็นที่ใส่ของ • กระต้อ --> (กระ + ต้อ) ที่มา : ตะกร้า (ตะ +กร้อ) เช่น : กระโซงที่สานเป็นตะกร้อใช้วิดน้ำ • (รถ)ตามอ --> (ตา + มอ) ที่มา : มอตาไซต์ ( มอ + ตา ) เช่น : รถจักรยานยนต์ 2 ล้อ 5. กลุ่มคำที่เรียกตามลักษณะการใช้ • กระพือ กระ (ไม่มีความหมาย) + พือ (ไม่มีความหมาย) เช่น : พัดจีน ที่มา : การใช้พัดจีน พัดหรือโบก เรียกลักษณะนั้นว่า กระพือ (โบก , พัดไป) • ก้อนเซ้า (ก้อนเช้า) ก้อน (วัตถุกลมๆ) + เช้า (เวลาตั้งแต่สว่างถึงเที่ยง) เช่น : ก้อนหินที่วางใช้หุงข้าว ที่มา : การเอาก้อนหิน 3 ก้อนมาวาง ก่อไฟ เพื่อหุงข้าว • ขะโยน ขะ (ไม่มีความหมาย) + โยน (ทิ้งให้พ้นไกลจากตัว,เหวี่ยง) เช่น : ที่ตักน้ำจากบ่อ ที่มา : ถังน้ำที่โยนลงในบ่อเพื่อตักน้ำขึ้นมา • ผ้าห่มเข้า (ผ้าห่มเช้า) ผ้า (สื่งที่ทอถักเป็นผืนด้วยฝ้ายหรือเยื่อใยต่างๆ) + ห่ม (หุ้ม ห่อ) + เช้า (เวลาตั้งแต่สว่างถึงเที่ยง) เช่น : ผ้าขนหนู ที่มา : ผ้าที่ห่มไปอาบน้ำตอนเช้า 6. กลุ่มคำที่ไม่ถูกใช้แล้ว • กะลอง กะ (กำหนด, หทาย, คะเน) + ลอง (ทำทดสอบดู) เช่น : การเอามือลูบหรือสะกิดลูกอัณฑะ การแทนคำ : (ไม่มี) • ข้าวเกรก ข้าว (เมล็ดของพืชในจำพวกหญ้าใช้เป็นอาหารหลัก) + เกรก (ไม่มีความหมาย) เช่น : ข้าวเกรียบ การแทนคำ : ข้าวเกี๋ยบ ซึ่งเป็นการเพี้ยนเสียง จากคำว่า ข้าวเกรียบ • ปุ้น ปุ้น (ไม่มีความหมาย) เช่น : หัน การแทนคำ : หั่น ซึ่งเป็นการเพี้ยนเสียงจากคำว่า หัน • เสือตบตูด เสือ (สัตว์ป่า 4 เท้ามีเล็บคม ลำตัวลายเหลืองสลับดำ) + ตบ (เอาฝ่ามือตี) + ตูด (ทวาร) เช่น : ด้วยดักแด้ การแทนคำ : ตัวค๋วง ซึ่งเป็นการเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า ตัวค้วง 7. กลุ่มคำยืน • เจิงเหลิม เจิง (ไม่มีความหมาย) + ดหลิม (ไม่มีความหมาย) เช่น : น้ำแกงมากเกินไป การแทนคำ : จะเล่น เพี้ยนมาจากคำว่า จะล้น เจิ๋ง เพี้ยนเสียงจากคำว่าเจิ่ง (แผ่ไปมากกว่าปกติ มักใช้แก่น้ำ) • เจียมเหลิง เจียม (รุจักประมาณตัวเอง) + เหลิง (คะนอง,เกินความพอดี) เช่น : สะอาด การแทนคำ : สะอาด เอี๋ยม (ซึ่งเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า สะอาด เอี่ยม) • แทงคอน แทง (ใช้ของคมทิ่มลงไป) + คอน (แบกสิ่งของของที่ห้อยปลายคานข้างเดียว) เช่น : ไปหาเขาตั้งแต่เขายังไม่ตื่น การแทนคำ : ไปห่าเข่าแต๊เช้า ซึ่งดพี้ยนเสียงมาจาก ไปหาเขาแต่เช้า 8. กลุ่มคำที่บางพยางค์ถูกตัดออกไป • กะมัง กะ + มัง ที่มา : กะละมัง (กะ + ละ + มัง) เช่น : ซาม อ่าง หรือจาน • มาชิ มา + ซิ ที่มา : มานี่ซิ (มา + นี่ + ซิ) เช่น : มาทางนี่ หน่องซิ • เสือกกระดี่ เสือก + กระ + ดี๋ ที่มา : เสือกปลากระดี่ (เสือก + ปลา + กระ + ดี่) เช่น : การว่ายน้ำหงายหลัง • เดินโดกแดก เดิน + โดก + เดก ที่มา : เดินกระโดกกระเดก (เดิน + กระโดก + กระเดก) เช่น : เดินไปเดินมา ไม่เรียบร้อย 9. กลุ่มคำที่ถูกกลืมเสียง • จริงเม๊า จริง + เม๊า ที่มา : จริงไหมเล่า (จริง + ไหม + เล่า) เช่น : ใช่ไหม • ไปชัวะ ไป + ชัวะ ที่มา : ไปชิวะ (ไป + ชิ + วะ) เช่น : ไปสิ (ยืนยันว่าไปแน่นอน) 10. กลุ่มคำที่เรียกตามลักษณะเฉพาะ • ขนมคู่ ขนม (ของหวาน) + คู่ (สองอย่างควบคู๋กัน) มาจาก : ปลาท่องโก๋ ที่มา : ลักษณะของขนมที่ติดกกันเป็นคู่ • ดั้งกางเกง ดั้ง (สันจมูก) + กางเกง (เครื่องนุ่ง มี 2 ขา) ที่มา : เป้ากางเกง มาจาก : ลักษณะส่วนตรงเป้ากางเกงที่มีลักษณะคล้ายกับคั้งหรือสันจมูก • ปลาหง ปลา (สัตว์ที่อาสัยอยู่ใต้น้ำ มีครีบ มีหาง) + หง (แดง) มาจาก : ปลาดุกตัวเล็กมีผังแดงๆ ที่มา : ลักษณะสีของลูกปลาที่มีผังสีแดงที่ลำตัว 11. กลุ่มคำที่ใช้เหมือนกับภาษาไทยกลาง
คำศัพท์ภาษาถิ่น | ความหมาย | คำศัพท์ไทยกลาง | ความหมาย |
---|---|---|---|
กระเจิง | กระจาย | กระเจิง | แตกหมู่ไป |
จริงจัง | มากมาย | จริงจัง | แน่แท้, หนักแน่น, มาก |
ทด | ทำนบกั้นน้ำ | ทด | ที่กั้นน้ำ |
ตะไก | กรรไกร | ตะไก | เครื่องมือสำหลับตัดโคยใช้หนิบ |
โน้น | ไกลริบ | โน้น | ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกล |
12. กลุ่มคำที่สร้างขึ้นมาใหม่ • ก๊วยติ๊งนง ก๊วย (ไม่มีความหมาย) + ติ๊ง (ไม่มีความหมาย) + นง (ไม่มีความหมาย) การสร้างความหมายคำใหม่ : ไขว่ห้าง • คุย คุย (พูดสนทนากัน) การสร้างความหมายคำใหม่ : ป่าสูง • เงิง เงิง (ไม่มีความหมาย) การสร้างความหมายคำใหม่ : (ปิด) ไม่สนิด 13. กลุ่มคำที่มีบางส่วนของคำถูกตัดและเพิ่ม • อีซิว อี + ซิว ที่มา : (อี) + ปลา + กระ + ซิว คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม : อี การตัดคำ : ปลา / กระ เช่น : ปลากระซิว • อีข้อง อี + ข้อง ที่มา : (อี) + ตะ + ข้อง คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม : อี การตัดคำ : ตะ เช่น : ตะข้องใส่ปลา • ไอ้โต้ง ไอ้ + โต้ง ที่มา : (ไอ้) + ไก่ + โต้ง คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปปจากเดิม : ไอ้ การตัดคำ : ไก่ เช่น : ไก่โต้ง 14. กลุ่มคำที่เพิ่มคำอุปสรรค • อีโหง (อี) คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม + โหง ที่มา : โหง เช่น : เครื่องซ้องปลา • อีบุ้ง (อี) คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม + บุ้ง ที่มา : บุ้ง เช่น : หนอนผีเสื้อ • อีอ้อ (อี) คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม + อ้อ ที่มา : อ้อ เช่น : มันสมอง 15. กลุ่มคำที่สระเปลี่ยน • กะต๋อนกระแต๋น กระท่อนกระแท่น เช่น : ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่สืบเนื่อง • ซวดเลย ซวดเลย เช่น : อด, ไม่ได้, ผิดหวัง • งัว วัว เช่น : วัว ; สัตว์ 4 ขาเลี้ยงลูกด้วยนม 16. กลุ่มคำที่ตัวควบกล้ำหายไป • ไขห้าง ไขว์ห้าง เช่น : ไขว์ห้าง ; เอาขาข้างหนึ่งพาดบนอีกข้างหนึ่ง • เพี้ยงทำ เพลี้ยงท่า เช่น : เสียท่า, พลาดท่า
ข้อมูลประชากรศาสตร์[แก้ไข]
ประชากร : 70,749 คน (พ.ศ.2557) ความหนาแน่น : 65.39 คน / ตารางกิโลเมตร
ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์[แก้ไข]
พื้นที่ : 1,081.791 ตารางกิโลเมตร การปกครองส่วนภูมิภาค : อำเภอพรานกระต่าย แบ่งพื้นที่การปกครองตามพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ออกเป็น 10 ตำบล 116 หมู่บ้าน ลักษณะอากาศ : ภูมิอากาศโดยทั่วไป เป็นแบบมรสุม มี 3 ฤดู
วิถีชีวิต[แก้ไข]
อาชีพ[แก้ไข]
เกษตรกรรม ข้าว พืชไร่และค้าขาย
ครอบครัว[แก้ไข]
-
การแต่งกาย[แก้ไข]
-
ที่อยู่อาศัย/ความเป็นอยู่[แก้ไข]
-
ประเพณี[แก้ไข]
ความเชื่อ[แก้ไข]
-
ศาสนา[แก้ไข]
นับถือศาสนาพุทธ คริสต์
ประเพณีอื่น ๆ[แก้ไข]
ประเพณีทำบุญศาลเจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง ประเพณีทำบุญศาลเจ้าพ่อปุงเถ้ากง
ศิลปะการแสดง[แก้ไข]
-
ข้อมูลอื่น ๆ[แก้ไข]
สถานการณ์ปัจจุบันของชาติพันธุ์[แก้ไข]
-
ข้อมูลอื่น ๆ[แก้ไข]
-
ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]
วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]
20 เมษายน 2561
วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]
-
ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]
วนัสนันท์ นุชนารถ
คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]
พรานกระต่าย,