ฐานข้อมูล เรื่อง ภูมิปัญญาศิลปหัตถกรรมกระดาษกล้วย ชุมชนเทพนิมิตสามัคคี

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

ชื่อเรียก[แก้ไข]

         กระดาษกล้วย ชุมชนเทพนิมิตสามัคคี

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         ไม่มี

คำอธิบาย[แก้ไข]

         กระดาษที่ทำมาจากเยื่อกล้วย ผ่านกระบวนการในการผลิตกระดาษจนได้เป็นกระดาษกล้วย เพื่อนำมาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือนำมาเป็นบรรจุภัณฑ์ของสินค้าต่าง ๆ

สถานที่[แก้ไข]

         ชุมชนเทพนิมิตสามัคคี อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 
         ประวัติความเป็นมาของชุมชนเทพนิมิตสามัคคี 
         เดิมตำบลเทพนิมิต ขึ้นอยู่กับตำบลระหาน เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงแยกออกมาเป็นตำบลเทพนิมิต มีการปกครองจำนวน 9 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านบึงลาด หมู่ที่ 2 บ้านเนินมะกอก หมู่ที่ 3 บ้านใหม่เจริญสุข หมู่ที่ 4 บ้านโพธิ์เอน หมู่ที่ 5 บ้านวังเจ้า หมู่ที่ 6 บ้านกระบวยทองเหนือ หมู่ที่ 7 บ้านโนนพลวง หมู่ที่ 8 บ้านสามขา และหมู่ที่ 9 บ้านมาบไผ่ 
         พื้นที่ 
         สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะสาหรับทาการเกษตร 
         เขตพื้นที่
         ตำบลเทพนิมิต ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของจังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่โดยประมาณ 41,680 ไร่ หรือ 41.32 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ราบเหมาะแก่การประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่ (ข้าว, ข้าวโพด, อ้อย) ทำสวน (ส้ม, มะปราง, กล้วย) มีระยะห่างจากอำเภอบึงสามัคคีประมาณ 11 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดกำแพงเพชร เป็นระยะทาง 75 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ 
             ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลวังชะโอน กิ่งอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 
             ทิศใต้ ติดกับ ตำบลระหาน กิ่งอาเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 
             ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลระหาน กิ่งอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 
             ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลยางสูง กิ่งอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร 
         อาชีพ 
         อาชีพหลัก ทำนา 
         อาชีพเสริม ค้าขาย 
         สาธารณูปโภค 
         จำนวนครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้ในเขต อบต. 1,028 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 75.00 ของจานวนหลังคาเรือน 
         การเดินทาง 
         ออกจากตัวจังหวัดมาทางทิศใต้ หรือออกจากตัวกิ่งอาเภอบึงสามัคคี 12 กม. การเดินทางไปมาสะดวก มีถนนเชื่อมติดต่อทุกหมู่บ้าน ตาบล อาเภอ และจังหวัด เดินทางโดยรถยนต์เท่านั้น
         ความเป็นมาของกระดาษกล้วย ชุมชนเทพนิมิตสามัคคี 
         เกิดขึ้นจากการร่วมตัวของประชาชนในชุมชนเทพนิมิตสามัคคี ที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรปลูกกล้วย ซึ่งพบว่าหลังจากตัดกล้วยขายแล้ว ต้นกล้วยต้องตัดทิ้งเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดที่จะน้ำต้นกล้วยที่ตัดทิ้งมาใช้ประโยชน์จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นกล้วย ชุมชนเทพนิมิตสามัคคี อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน
         หลักการและเหตุผลของโครงการ คือ การปฏิรูปภาคการเกษตรให้เกิดผลสำเร็จจำเป็นต้องสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชุม เริ่มจากการคิด วิเคราะห์ปัญหา และเสนอความต้องการในการแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและดำเนินโครงการด้วยการน้อมนำหลักการทฤษฎีและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานไว้ และให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579) ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ และภาคการเกษตร รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึง ปลายทาง โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายในการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้า เกษตร (ศพก.) ให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางการเกษตรของชุมชน และเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรในระดับพื้นที่ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดทำโครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนโดยมีหลักการสาคัญคือ ให้ชุมชนเป็นผู้กำหนดโครงการพัฒนาโดยผ่านกระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชน และบริหารจัดการโครงการด้วยตนเอง ภายใต้การสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งนอกจากจะทำให้เกิดการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกการทำงานในพื้นที่ ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์และนำไปปฏิบัติจริงเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่นและชุมชนอันจะส่งผลต่อเนื่องให้ภาคการเกษตรมีความ มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป
         โดยมีนางฉวีวรรณ อินทยา อายุ 45 ปี อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 53 หมู่ 6 กึ่งอำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร เป็นหัวหน้าโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นกล้วย ชุมชนเทพนิมิตสามัคคี และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากจังหวัดกำแพงเพชร ให้ดำเนินการจัดทำตามโครงการดังกล่าว ซึ่งนางฉวีวรรณ อินทยา ได้ศึกษาเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มสมาชิก กับกระบวนการขั้นตอนการทำกระดาษกล้วย โดยศึกษาจากอินเตอร์เน็ต ศึกษาจากผู้รู้เกี่ยวกับการทำกระดาษสา และได้ลองผิดลองถูกจนได้กระดาษกล้วยออกมาเป็นผลิตภัณฑ์
         ซึ่งในปัจจุบันได้มีการผลิตภัณฑ์กระดาษกล้วยเป็นแผ่น และทำเป็นเชือกกล้วย เพื่อเป็นนำไปต่อยอดทางผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์กับสินค้าในชุมชน โดยส่วนใหญ่จะผลิตตามรายการสั่งสินค้าจากลูกค้าต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่นำไปเป็นบรรจุภัณฑ์กับสินค้า และทางกลุ่มมีความต้องการในการพัฒนากระดาษกล้วยให้มีความคงทนมากกว่าปัจจุบัน และแปรรูปให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย หรือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กลับกลุ่มเพิ่มมากขึ้น

วัสดุผลิตภัณฑ์[แก้ไข]

         กระดาษกล้วย

ประเภทของการใช้งาน[แก้ไข]

         ผลิตภัณฑ์จากกระดาษกล้วย เช่น กระดาษห่อของขวัญ ห่อผลิตภัณฑ์ กล่องกระดาษกล้วย ฯลฯ

กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน[แก้ไข]

         ขั้นตอนการทำกระดาษจากเยื่อกล้วย 
         การเตรียมวัตถุดิบ 
             1. ต้นกล้วยที่ตัดผลแล้ว จำนวน 100 กิโลกรัม 
             2. หั่นหรือสับให้เป็นชิ้นเล็กยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร
             3. ล้างนำให้สะอาด แยกเศษวัสดุอื่นที่ไม่ใช่เนื้อเยื้อออกเช่นเศษดิน เศษใบไม้ 
         ขั้นตอนการต้ม 
             1. นำเยื่อกล้วยที่เตรียมไว้ตามน้ำหนักใส่ในภาชนะต้ม 
             2. ใส่น้ำลงในหม้อต้ม 1 ใน 4 ของหม้อต้ม 
             3. ใช้เตาต้ม ซึ่งสามารถเลือกเตาต้มได้หลายวิธี เช่น เตาต้มที่ใช้ฟืน หรือ แก็สหุงต้ม 
             4. ต้มเส้นใยให้สุก ประมาณ 2 ชั่วโมง 
          ขั้นตอนการปั่นเส้นใย 
             1. ล้างเส้นใยต้นกล้วยด้วยน้ำให้สะอาด นำเข้าเครื่องปั่นเส้นใยขนาด 50 – 100 กิโลกรัม/ถัง เพื่อให้เส้นใยแตกตัว นุ่ม เส้นใยไม่เกาะติดกันเป็นก้อน ประมาณ 10-20 นาที 
             2. นำไปบีบอัดหรือทำให้แห้ง 
             3. ฟอกขาวด้วย สารฟอกขาว 5-7 เปอร์เซ็นต์ 
             4. ล้างน้ำสะอาดส่งย้อมสี ตามความต้องการ 
         ขั้นตอนการฟอกย้อม 
             นำเยื่อกล้วยฟอกย้อมในสารฟอกย้อม มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด ที่นิยมใช้กันคือ คลอรีน และไฮโดรเจน เปอร์อ็อกไซด์ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ล้างน้ำให้สะอาด นำเส้นใยไปย้อมสีตามต้องการ สีย้อมเป็นสีเคมีให้สีสรรที่สดใส สีย้อมสมุนไพรเป็นสีธรรมชาติที่นามาต้มย้อมเช่นสีจากครั่ง สีจากเปลือกไม้มะเกลือหรือไม้ขนุน 
         ขั้นตอนการกำหนดน้ำหนักกระดาษ 
             ก่อนที่จะนาเยื่อกระดาษไปแตะแผ่น จะต้องกำหนดน้ำหนักของเยื่อกล้วยโดยการส่วนใหญ่มีมาตรฐาน ที่กำหนดน้ำหนักไว้ 2 ลักษณะคือ 
             1. ตามความต้องการของตลาด ซึ่งกำหนดไว้ที่กระดาษ 1 แผ่นขนาด 55 X 80 เซนติเมตร มีน้ำหนักโดยเฉลี่ยที่ 300-400 กรัม / แผ่น 
             2. ตามความต้องการในการใช้งานตามความหนาเป็นพิเศษเช่น เพื่อใช้ในการทำบรรจุภัณฑ์ประเภทถุงกระดาษบรรจุภัณฑ์ 
             3. หรือตามแบบที่กาหนดเป็นอย่างอื่น 
         ขั้นตอนเตรียมแตะแผ่น 
             1. นำเส้นใยที่ได้ปั้นก้อน ชั่งน้าหนัก ให้ได้น้ำหนักก้อนละ 300 – 400 กรัม 
             2. นำเส้นใยกล้วยที่ชั่งน้าหนักแล้วมาแตะในเนรมิต เกลี่ยเส้นใยให้กระจายหนาบางเท่า ๆ กัน 
         เครื่องมือและอุปกรณ์ 
             1. นำเฟรมสำหรับทำแผ่นกระดาษ ขนาด 55 X 80 เซนติเมตร จำนวน 100-200 เนรมิต/คน เป็นขนาดมาตรฐานเดียวกับกระดาษสา กระดาษสับปะรด 
             2. กระบะน้ำสำหรับแตะแผ่นกระดาษขนาดกว้าง X ยาว X สูง ( 60 X 90 X 10 เซนติเมตร ) 
             3. โต๊ะทำงานสำหรับแตะแผ่น 1 ตัว 
             4. ตะกร้าใส่เยื่อ 10 ใบ 
             5. บ่อล้างเส้นใยกล้วย ขนาด 100 เมตร X 50 เซนติเมตร จำนวน 5 บ่อ 
             6. ถังน้ำสำหรับเติมน้า 1 ถัง 
             7. เครื่องสับเยื่อ ขนาด 3 แรงม้า 
             8. เครื่องปั่นเส้นใยขนาด 2 แรงม้า 1 เฟส
             9. กระดาษที่ได้จากการแตะแผ่นใช้เวลาในการทาให้แห้งโดยการตากแดด หรือ อบด้วยความร้อนจากพลังงานความร้อนอื่น ๆ 
             10. เก็บกระดาษทำความสะอาด คัดกระดาษที่ใช้ไม่ได้หรือไม่สมบูรณ์แยกออก เป็นสีธรรมชาติ สีต่าง ๆ ให้เรียบร้อย สำหรับกระดาษในส่วนที่ไม่สามารถส่งจำหน่ายเป็นแผ่นได้ควรเตรียมงานรองรับเพื่อทำผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้
         บทสรุป 
         จากการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาศิลปหัตถกรรมกระดาษกล้วย ชุมชนเทพนิมิตสามัคคี อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า เป็นการรวมตัวของประชาชนในชุมชนเทพนิมิตสามัคคี ที่ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรปลูกกล้วย ซึ่งพบว่า หลังจากตัดกล้วยขายแล้ว ต้นกล้วยต้องตัดทิ้งเป็นจำนวนมาก จึงมีแนวคิดที่จะน้ำต้นกล้วยที่ตัดทิ้งมาใช้ประโยชน์จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากต้นกล้วย ชุมชนเทพนิมิตสามัคคี อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันได้มีการผลิตภัณฑ์กระดาษกล้วยเป็นแผ่น และทำเป็นเชือกกล้วย เพื่อนำไปต่อยอดทำผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์กับสินค้าในชุมชน โดยส่วนใหญ่จะผลิตตามรายการสั่งสินค้าจากลูกค้าต่างจังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่นำไปเป็นบรรจุภัณฑ์กับสินค้า และทางกลุ่มมีความต้องการในการพัฒนากระดาษกล้วยให้มีความคงทนมากกว่าปัจจุบัน และแปรรูปให้เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย หรือเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กลับกลุ่มเพิ่มมากขึ้น

ข้อมูลการสำรว[แก้ไข]

วันเดือนปีที่สารวจ[แก้ไข]

         เดือนมกราคม พ.ศ.2562

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นางสาวธฤษวรรณ  ธรรมสอน

คำสาคัญ[แก้ไข]

         ภูมิปัญญาศิลปหัตถกรรม, กระดาษกล้วย