ฐานข้อมูล เรื่อง ระบำรวมเผ่าชาวเขา เมืองกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

         จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองมรดกโลกมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางด้านธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานที่สำคัญหลายแห่งนับว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองหนึ่งของประเทศไทย ทุกภาคส่วนจึงมีแนวคิดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทุกด้าน ด้านศิลปะการแสดงก็มีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานระบำชุดใหม่เพื่อแสดงให้กับนักท่องเที่ยวได้รับชมและยังสร้างผลงานการแสดงให้โดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาและสร้างสรรค์ระบำชุดรวมเผ่าชาวเขาขึ้นเพื่อใช้เป็นการแสดงในการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม และยังสามารถพัฒนาเป็นระบำที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร
1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา.jpg

ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา ในงานมหกรรมวัฒนธรรม วิถีถิ่น วิถีไทย พ.ศ.2559

ชื่อการแสดง[แก้ไข]

         ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         -

ประเภทการแสดง[แก้ไข]

         ประเภทของระบำ ยังจำแนกออกได้เป็น 
         1. ระบำแบบดั้งเดิมหรือระบำมาตรฐาน ได้แก่ ระบำที่ฝึกหัดกันเพื่อให้เป็นแบบมาตรฐานที่มีมาแต่ครั้งโบราณ เช่น ระบำสี่บท หรือบางครั้งเรียกว่า "ระบำใหญ่" ต่อมามีผู้ประดิษฐ์ระบำซึ่งเลียนแบบระบำสี่บทขึ้นอีกหลายชุด และถือว่าเป็นระบำมาตรฐานที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น ระบำย่องหงิด ระบำดาวดึงส์ ระบำกฤดาภินิหาร ฯลฯ การแต่งกายประเภทระบำมาตรฐาน ส่วนใหญ่จะแต่งกายในลักษณะที่เรียกว่า "ยืนเครื่อง"
         2. ระบำปรับปรุง หมายถึงระบำที่ได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ โดยคำนึงถึงความเหมาะสมต่อการนำไปใช้ในโอกาสต่างๆ แยกได้เป็น
             - ปรับปรุงจากแบบมาตรฐาน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นโดยยึดแบบและลีลา ตลอดจนความสวยงามในด้านระบำไว้ท่าทางลีลาที่สำคัญยังคงไว้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพื่อให้งามขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อความเหมาะสมกับสถานที่ที่นำไปแสดง
             - ปรับปรุงจากพื้นบ้าน หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ขึ้นจากแนวทางความเป็นอยู่ของคนพื้นบ้าน การทำมาหากิน ขนบธรรมเนียมประเพณี ในแต่ละท้องถิ่นมาแสดงออกในรูประบำ เพื่อเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นของตน เช่น เซ้งบั้งไฟ เต้นกำรำเคียว ระบำงอบ ระบำกะลา รองเง็ง ฯลฯ
             - ปรับปรุงจากท่าทางของสัตว์ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ตามลักษณะลีลาท่าทางของสัตว์ชนิดต่างๆ บางครั้งอาจนำมาใช้ประกอบการแสดงโขน ละคร บางครั้งก็นำมาใช้เป็นการแสดงเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำนกยูง ระบำนกเขา ระบำมฤครำเริง ระบำบันเทิงกาสร เป็นต้น
            - ปรับปรุงตามเหตุการณ์ต่างๆ หมายถึง ระบำที่คิดประดิษฐ์ขึ้นใช้ตามโอกาสที่เหมาะสม เช่น ระบำพระประทีป ระบำโคมไฟ ประดิษฐ์ขึ้นใช้แสดงในวันนักขัตฤกษ์ เป็นต้น
            ระบำประเภทปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ ลักษณะท่ารำจะไม่ตามตัวมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ ตัวบุคคล ตลอดจนฝีมือ และความสามารถของผู้ประดิษฐ์ท่าระบำ รำ หมายถึง การแสดงที่มุ่งความงามของการร่ายรำ หรือการแสดงลีลาท่าทางของผู้รำหมายถึงการแสดงนาฏศิลป์ที่จำนวนมากกว่า 2 คน ความมุ่งหมายของการแสดงงอยู่ที่ความงามที่มีความพร้อมเพรียงในการแสดงชนเผ่า หมายถึงชาติพันธุ์ทึ่มีอยู่ในพื้นที่อำเภอคลองลาน
2 การแต่งกายชาวไทยภูเขา.jpg

ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา ในงานมหกรรมวัฒนธรรม วิถีถิ่น วิถีไทย พ.ศ.2559 (ต่อ)

โอกาสที่ใช้ในการแสดง[แก้ไข]

         -

ผู้คิดค้น[แก้ไข]

         - อาจารย์สำรวม  ฉ่ำกมล  อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย (ในสมัยนั้น)    
         - อาจารย์สราวุธ  สุขกมล  ข้าราชการบำนาญ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

สถานที่ริเริ่ม/สถานที่จัดแสดง[แก้ไข]

         -

ข้อมูลการแสดง[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]

         ระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขาเป็นการแสดงที่ประดิษฐ์หรือเรียกได้ว่าเป็นนาฏยประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นแต่มีความหมายเป็นการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ได้ในเชิงสื่อความหมายเป็นการแสดงของจังหวัดกำแพงเพชร และการแสดงระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา ได้ใช้ในการสืบสานงานวัฒนธรรมสื่อความเป็นจังหวัดกำแพงเพชรในหลายโอกาสเช่นงานต้อนรับแขกที่มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชรและในโอกาสเผยแพร่งานศิลปะและวัฒนธรรมในท้องถิ่นและในระดับชาติและเป็นการแสดงอีกชุดหนึ่งที่ควรจะถ่ายทอดองค์ความรู้ วิธีการแสดงให้สู่รุ่นเยาวชนเพื่อให้การแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรต่อไป
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
        จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองมรดกโลกมีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางด้านธรรมชาติศิลปวัฒนธรรม โบราณสถานที่สำคัญหลายแห่งนับว่าเป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองหนึ่งของประเทศไทย ทุกภาคส่วนจึงมีแนวคิดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวทุกด้าน ด้านศิลปะการแสดงก็มีแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลงานระบำชุดใหม่เพื่อแสดงให้กับนักท่องเที่ยวได้รับชมและยังสร้างผลงานการแสดงให้โดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดกำแพงเพชร ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาและสร้างสรรค์ระบำชุดรวมเผ่าชาวเขาขึ้นเพื่อใช้เป็นการแสดงในการเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม และยังสามารถพัฒนาเป็นระบำที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชร
การกระจายพำนักอยู่ของชาวเขา
         นักมนุษยวิทยา ชื่อกอร์ดอน แบ่งชาวเขาในไทยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
             - กลุ่มเอเชียตะวันออก [Austro Asiatic] มีทิศทางการอพยพจากใต้ขึ้นเหนือ และอาศัยอยู่ในประเทศไทยก่อนชนชาติไทยจะอพยพลงมาตั้งอาณาจักร ได้แก่ ละว้า ขมุ ฮ่อ ถิ่น และผีตองเหลือง
             - กลุ่มจีน - ทิเบต [Sino-Tebetan Stock] ที่มีทิศทางการอพยพจากเหนือลงมาใต้ คือ อพยพลงมาจากจีน พม่า ลาว เข้าสู่ประเทศไทย หลังจากที่ชนชาติไทย ได้ตั้งอาณาจักรขึ้นมาแล้ว และกลุ่มนี้ยังแบ่งได้เป็นกลุ่มย่อยอีก 2 กลุ่มคือ กลุ่มทิเบต - พม่า [Tibeto - Berman] ได้แก่ เผ่าอีก้อ มูเซอ กะเหรี่ยง กลุ่มจีนเดิม [Main Chinase] ได้แก่ เผ่าแม้ว และเย้า
         • ภาคเหนือตอนบน เป็นภูมิภาคที่ชาวเขาอาศัยอยู่มากที่สุด เพราะมีสภาพภูมิอากาศ หนาวเย็น มีเทือกเขาสลับซับซ้อนมากมาย สามารถปลูกฝิ่นได้ง่าย และสะดวกต่อการซื้อ ขายฝิ่น ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำพูน แพร่ พะเยา และลำปาง
         • ภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ ตาก สุโขทัย เพชรบูรณ์ พิษณุโลก และกำแพงเพชร โดย 2 ใน 3 ของจำนวนชาวเขาในส่วนนี้ เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ในจังหวัดตาก
         • ภาคกลางตอนบนและภาคตะวันตก มีชาวเขาอาศัยอยู่ใน 7 จังหวัดคือ กาญจนบุรี อุทัยธานี ราชบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และนครสวรรค์ ร้อยละ 95 เป็น ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
         • นอกจากนี้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือที่จังหวัดเลย เป็นจังหวัดเดียวที่มีชาวเขาอาศัย อยู่ ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าแม้วที่อพยพหนีภัยมาจากประเทศลาว จากการกระจายตัวของชาวเขา พบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของชาวเขาในประเทศไทย เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง ซึ่งมีประชากรรวมประมาณ 200,000 คน จากจำนวนประชากรชาวเขาทั้งสิ้นประมาณ 400,000 คน ทั่วประเทศ
         • ชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่สำคัญได้แก่ แม้ว มูเซอ เย้า อ่าข่า(อีก้อ) และลีซอ โดยจะกล่าวถึงชาวเขาเผ่า ที่สำคัญ 6 เผ่า ดังนี้ กะเหรี่ยง [Karen], แม้วหรือม้ง [Hmong] , มูเซอ [Lahu] (พรานป่า) , เย้า [Yao] , อีก้อ [Akha] เรียกตัวเองว่า อาข่า , ลีซอ [Lisu]
         จึงได้มีการต่อสู้กันอย่างรุนแรงในหลายแห่ง เช่น ในเมืองพังหยุนในปี พ.ศ.2009 และการต่อสู้ในมณฑลไกวเจาในระหว่าง พ.ศ.2276 - 2278 และการต่อสู้ในมณฑลเสฉวนในระหว่าง พ.ศ.2306 – 2318 ในที่สุด ชาวม้งประสบกับความพ่ายแพ้ สูญเสียพลรบ และประชากรเป็นจำนวนมาก ในที่สุดม้งก็เริ่มอพยพถอยร่นสู่ทางใต้ และกระจายเป็นกลุ่มย่อย ๆ กลับขึ้นอยู่บนที่สูงป่าเขาในแคว้นสิบสองจุไทย สิบสองปันนา และอีกกลุ่มได้อพยพไปตามทิศตะวันออกเฉียงเหนือของราชอาณาจักรลาวบริเวณทุ่งไหหินเดียนเบียนฟู โดยมีหัวหน้าม้งคนหนึ่ง คือ นายพลวังปอ ได้ราบรวมม้ง และอพยพเข้าสู่ประเทศไทยเมื่อประมาณ พ.ศ.2400 เศษ เป็นต้นมา 
         ปัจจุบันชาวม้งส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก มีจำนวนประชากรทั้งสิ้นประมาณ 151,080 คน
         การแต่งกาย ผู้หญิงใส่กระโปรง ทอด้วยป่านใยกัญชง (ต้นคล้ายกัญชา แต่ดอกและใบใช้สูบไม่ได้) การทำกระโปรงของหญิงม้ง โดยการใช้เล็บสะกิดใยกัญชงออกเป็นเส้น แล้วฝั่นต่อกันเป็นม้วนใหญ่ นำไปฟอกด้วยน้ำด่างขี้เถ้า จะได้ด้ายสีขาวอมเหลือง นำไปทอเป็นผ้ามีผิวสัมผัสหยาบหนา แต่นุ่มเป็นมัน มีความกว้างประมาณ 40 เซนติเมตร นำไปเขียนด้วยขี้ผึ้ง เป็นลวดลายเรขาคณิต นำไปย้อมสีน้ำเงินอมดำ แล้วนำไปต้มให้ขี้ผึ้งละลาย เป็นการทำบาติกแบบโบราณนำผ้าที่ย้อม แล้วมาพับเป็นพลีทเล็ก ๆ แล้วใช้ไม้กดทับไว้ให้จีบอยู่ตัว แล้วใช้ด้ายร้อยจีบ เอว ใช้ผ้าสีต่าง ๆ กุ๊นตกแต่งกระโปรง และ ปักด้วยด้ายสีต่าง ๆ
            • เสื้อเอวเกือบจะลอย แขนยาว มีปกเสื้อด้านหลัง ผ่าหน้า หรือทับไปทางซ้ายทำด้วยผ้าสี ดำ มีตกแต่งลวดลาย ผ้าคาดเอวสีดำมีพู่แดงเป็นชายครุย มีสนับแข็งสีดำ ผมขมวดเป็นมวย ใส่ หมวดผ้าหรือโพกผ้าสีดำ ใส่ต่างหูเงิน ห่วงคอทำด้วยเงิน 3-4 วงซ้อนกัน ด้านหลังเสื้อตกแต่ง ด้วยเหรียญเงินเก่า 
            • ผู้ชาย นุ่งกางเกงดำเป้าต่ำ เสื้อดำแขนยาว เอวลอย (มีเสื้อข้างในสีขาว) ผ้าคาดเอวสี แดง คาดทับด้วยเข็มขัดเงิน ห่วงเงินคล้องคอ 1 ห่วง หมวกผ้าดำมีจุกแดงตรงกลาง 
            • แม้ว เป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อยู่ในประเทศจีนซึ่งชอบอพยพโยกย้ายที่อยู่ไปเรื่อย ๆ แม้ว เป็นคำที่ใช้เรียกกันทั่วไป ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า “เมี้ยว” ชาวเขาเผ่าแม้วจะเรียกตัวเองในหมู่พวก เดียวกันว่า “ม้ง” ม้งแบ่งเป็น 3 กลุ่มย่อย คือ ม้งขาว ม้งเขียว และม้งดำ 
ม้งขาว 
         • หญิง สวมกระโปรงผ้าป่านดิบยาวลงมาถึงหัวเข่า มีผ้าพันหน้าแข้งตั้งแต่ข้อเท้ถึงหัวเข่า แต่ปัจจุบันนี้หันมาใส่กางเกงสีดำกว้าง ๆ แบบจีน คาดเอวด้วยผ้าสีแดง ปล่อยชายผ้าสี่เหลี่ยมทิ้ง ยาวลงมาด้านหน้าและด้านหลัง คอปกเสื้อกว้างแบบทหารเรือ โพกหัวด้วยผ้าสีคราม หรือสีดำ 
         • ชาย นุ่งกางเกงดำกว้าง ๆ เป้าหย่อนลงมาไม่มากนัก สวมเสื้อป้ายอกมีผ้าคาดเอว
ม้งเขียว 
         • หญิง ยังสวมกระโปรงสีฟ้าแก่ ประดับลายภาพวาดด้วยขี้ผึ้งและมีปักลวดลายใน ส่วนล่างของกระโปรง มีผ้าคาดเอวสีแดง ผ้าห้อยลงมาสีดำ เสื้อเป็นสีต่าง ๆ คอปกเสื้อเล็ก กว่าม้งขาว 4 นิ้ว ขอบปกเป็นรูปโค้ง ไม่มีผ้าโพกหัว แต่มีผ้าถักบาง ๆ แถบเป็นลายดอกไม้สีแดง พันรอบมวยผม 
         • ชาย ใส่กางเกงดำเหมือนม้งขาว แต่เป้ากางเกงหย่อนลงมาจนเกือบถึงพื้น ดินแบบ อาหรับ ปลายขารัดที่ข้อเท้า สวมหมวกทำด้วยผ้าแพรต่วน ไม่มีขอบ 
ม้งดำ 
         • ส่วนม้งดำนั้น ยังไม่ปรากฏว่ามีในประเทศไทย ในลาวจะมีน้อยมาก เพราะเป็นการยากที่ จะแยกว่าเป็นม้งดำ เพราะจะรับทั้งแบบการแต่งกายและภาษาจากม้งขาวและเขียวไว้ ส่วนมาก จะเรียกตามสีของเสื้อผ้าที่สวมใส่
         • เย้ามักจะอยู่บนไหล่เขา ใช้พื้น ดินเป็นพื้น บ้าน มุงหลังคาด้วยหญ้าคา ฝาบ้านเป็น ไม้เนื้ออ่อน ภาษาคล้ายภาษาจีนกลางมาก บางคำคล้ายแม้ว 
การแต่งกาย 
         • หญิง นุ่งกางเกงสีน้ำเงินหรือปนดำ เนื้อผ้าหยาบ ด้านหน้าของกางเกงปักด้วยลวดลาย เป็นดอกดวงละเอียดสวยงาม เสื้อเป็นเสื้อคลุมคอแหลมรูปตัววี สีดำหรือสีน้ำเงินเข้มยาวถึงข้อเท้า ผ่าด้านหน้าตลอด ติดไหมพรมสีแดงที่อกเสื้อรอบคอลงมาถึงหน้าท้อง เสื้อผ่าด้านข้างทั้ง 2 ข้าง ตั้งแต่เอวลงไป เวลาสวมชายผ้าด้านหน้าทั้งสองแฉกไขว้กัน และพันรอบเอวไปผูกเงื่อนด้านหลัง ส่วนแผ่นหลังปล่อยไว้ อกเสื้อกลัดติดกันด้วยแผ่นเงินสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดหัวเข็มขัด ผมจะทา ด้วยขี้ผึ้งเหนียว และพันด้วยผ้าสีแดงทับด้วยผ้าสีน้ำเงินปนดำ ชายทั้งสองข้างปักด้วยลวดลาย ดอกดวงที่งดงาม เวลาแต่งงานจะมีเครื่องประดับผมที่สวยงามแผ่นใหญ่คลุมบนผ้าโพกผมอีกที 
         • เครื่องประดับ เครื่องประดับทำด้วยเงิน ต่างหูเป็นวงกลม มีศรผ่ากลาง ห่วงคอมีตั้งแต่ 1-5 ห่วง มีกำไลข้อมือ แหวน 
         • ชาย นุ่งกางเกงสีดำ หรือน้ำเงินเข้มคล้ายกางเกงจีน ขอบขากางเกงขลิบด้วยไหมสีแดง สวมเสื้อดำหรือน้ำเงินเข้ม (นิยมใช้ผ้าแพร) ผ่าอกไขว้ไปข้าง ๆ เล็กน้อย มีลวดลายติดอยู่เป็น แถบตามแนวที่ผ่าลงมา ติดกระดุมเงินเป็นรูปกลม ๆ ที่คอตามแนวไปรักแร้ลงไปที่เอว เสื้อยาว คลุมเอวไม่สั้น เหมือนแม้ว 
         • เครื่องประดับ ใส่ต่างหูเงินเป็นรูปกลม ตรงกลางมีลูกศรชี้ลงมา ไม่สวมกำไลมือและ ห่วงคอ การโพกศีรษะของสตรีเย้ามี 2 แบบ 
             - แบบหัวโต นิยมใช้สีหนักออกไปทางสีแดงมาก เรียกว่า เย้าแดง (เมี่ยนซิ) 
             - แบบหัวแหลม นิยมใช้สีหนักออกไปทางสีเขียว เรียกว่า เย้าขาว (เมี่ยน – แปะ)
เครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวัน  
         • เย้าที่หมู่บ้านส่วนมากจะแต่งตัวคล้ายกัน จะแตกต่างกันก็เพียงการโพกศีรษะของสตรี ลายปักผ้า และสีของลายปัก ซึ่งผิดกับการแต่งกายของชาวเผ่าอื่นบางเผ่าที่แต่งตัวต่างกัน แม้ใน แต่ละกลุ่มย่อย เช่น กะเหรี่ยง แม้ว มูเซอ และอีก้อ การแต่งกายของเย้าในชีวิตประจำวันในประเทศไทยจะแต่งตัวตามใจชอบ ตามวัย บ้างก็     ยังแต่งชุดประจำเผ่า บ้างก็แต่งแบบคนไทยพื้นราบ
         • การแต่งกายประเพณีของสตรีเย้า บุรุษ และเด็ก เครื่องแต่งกายสตรีใช้เครื่องแต่งกายทั้งหมด 5 ชิ้น มีดังนี้
         ผ้าโพกศีรษะชั้นใน (ก้องจู๊ด) 
             • ผ้าโพกศีรษะชั้นในนี้ ต้องรวบผมให้เป็นระเบียบ ผ้าโพกศีรษะชั้นในบางหมู่บ้าน อาจจะใช้สีแตกต่างกัน เช่น สีแดง สีดำ ขนาดยาวประมาณ 75 เซนติเมตร กว้าง 40 เซนติเมตร รวบผมก่อนใช้ผ้าโพกศีรษะ ปัจจุบันนี้สตรีเย้าบางคนไม่ค่อยนิยมใช้ผ้าโพก ศีรษะชั้นใน 
            • ผ้าโพกศีรษะชั้นนอก (ก้องเป้า) อาจจะแตกต่างกันบ้างในแต่ละหมู่บ้าน บางหมู่บ้าน เช่น บ้านปางค่า หมู่บ้านป่ากลาง นิยมใช้ผ้าทอมือเส้นฝ้ายขนาดกลางหรือขนาดใหญ่สีดำทั้งผืน ปักลายที่ปลายทั้ง 2 ด้าน การโพกศีรษะทำโดยการพันผ้าด้านกว้างครึ่งผืนก่อนแล้วพับครึ่งอีก ครั้งหนึ่ง นำปลายข้างหนึ่งแนบไว้เหนือหู แล้วพันรอบศีรษะจนเกือบสุดผ้านำส่วนปลายผ้าที่มี ลายปักอีกด้านหนึ่ง เสียบข้างหูใน
         เสื้อ (ลุย) 
             • ใช้ผ้าสีดำอาจจะเป็นผ้ามัน หรือผ้าทอมือย้อมสีดำ ความยาวจะวัดจากไหล่ถึง ข้อเท้า ความกว้างวัดจากครึ่งแขนด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ด้านหลังจะต่อผ้าตรงกลางหลัง เสื้อผ่า หน้าตลอด ตัดผ้าเว้าลงมาเป็นแขนเสื้อและตัวเสื้อเย็บด้านข้างทั้งสองจากแขนลงมาถึงเอว ต่อ แขนเสื้อยาวลงมาถึงข้อมือ ข้อมือกว้างพอประมาณ
             ส่วนตกแต่งเสื้อ
             • คอเสื้อ ใช้ผ้าสีขาว สีแดง น้ำเงิน จะใช้สีใดสีหนึ่งหรือสองสีก็ได้ กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวครึ่งหนึ่งของรอบคอเย็บติดกับคอเสื้อเพื่อป้องกันเหงื่อ ผ้าชิ้น นีเ้รียกว่า ลุย จ้าง กบ
             • สาบเสื้อใช้ผ้าดำปักลายกว้างเท่ากับผ้ารอบคอ เย็บติดตัวเสื้อต่อจากผ้ารอบคอ ยาวลงมาต่ำกว่าเอวนิดหน่อย เรียกผ้าผืนนี้ว่า ลุย แลง 
         ไหมพรมแดง (ลุย กวาน) 
             • ใช้เส้นไหมสีแดงยาวตั้งแต่ 5-10 เซนติเมตร เย็บติด กับตัวเสื้อตรงรอยต่อระหว่างตัวเสื้อกับสาบเสื้อด้วยด้ายสีดำ รอบคอทั้งสองข้างยาวลงมาต่ำกว่า เอวเล็กน้อย ตัดไหมพรมให้พองฟูเป็นก้อนกลม เย้าแต่ละหมู่บ้านอาจจะมีขนาดพู่ไม่เท่ากัน ความ ยาวของพู่ไม่เท่ากัน สีไหมพรมบางหมู่บ้านอาจจะออกสีส้มแดง 
             • ปลายแขนเสื้อ ใช้ผ้าชิ้น เล็ก ๆ สีขาว แดง น้ำเงิน ดำสลับกันเป็นชั้น ๆ อย่างน้อย 3 ชั้น มากที่สุด 11 ชั้น นิยมกันคือ 7 ชั้น ตรงกลางเป็นสีขาว บางหมู่บ้านอาจจะใช้สีแตกต่างกัน 
             • ชายผ้าแขนเสื้อ ต้องม้วนกลับขึ้น มาแล้วเย็บด้วยเส้นด้ายถัก หรือใช้เส้นด้าย สีแดงพันรอบด้วยเส้นลวดเงินเป็นช่วง ๆ เพื่อกันเส้นด้ายหลุดออกจากกัน 
             • ชายผ้าที่เหลือจากติดแถบผ้าที่หน้าอกและคอ จะมีแถบผ้าสีน้ำเงินกว้าง ประมาณ 1 เซนติเมตรเย็บติด 
             • พู่ไหมพรมติดลูกปัด เย้าจะนิยมใช้พู่ไหมพรมสีแดงเล็ก ๆ ยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ร้อยลูกปัดช่วงด้านบน 3-5 ลูก ติดบริเวณชายเสื้อ 
        ผ้าคาดเอว 
             ใช้ผ้าทอมือสีดำ ลักษณะเหมือนผ้าโพกศีรษะมีปักลายที่ปลายทั้ง 2 ด้าน การผูกผ้าคาดเอวจะเริ่มจากหน้าหรือหลังก็ได้ แต่ต้องให้ปลายทั้ง 2 ข้างผูกกันไว้ข้างหลังเพื่อให้เห็น ปัก 
        กางเกง (โฮว) 
             การตัดเย็บกางเกงสตรี เย้าใช้ผ้า 5 ชิ้น ประกอบด้วย ผ้าปักลาย 2 ผืน โดยใช้ผ้าทอมือสีดำ จะปักเกือบเต็มผืน เหลือด้านข้างไว้ พอที่จะเย็บต่อกัน ด้านล่างเหลือไว้สำหรับพับ ด้านบนเหลือไว้ประมาณครึ่งคืบของผู้ใช้ แล้วจึงเย็บ ต่อกัน ผ้าต่อขากางเกง ใช้ผ้าสามเหลี่ยม 2 ผืน ชนิดเดียวกันกับผ้าที่ใช้ปักลาย หรือ ตัดปลายออกเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูก็ได้ ผ้าแถบสีเอว นิยมใช้ผ้าสีอ่อน เป็นผ้าอะไรก็ได้กว้างประมาณ 10 เซนติเมตร ใช้ต่อทำเอว
             เครื่องแต่งกายบุรุษเย้า ตามประเพณีจะมี 2 ชิ้น คือ เสื้อ ใช้ผ้าสีดำมาตัดเป็นตัวเสื้อ ปักลายที่ตัวเสื้อ

และที่กระเป๋า ลักษณะของเสื้อ นำผ้า 4 ชิ้น มาเย็บตัวเสื้อ เย็บต่อตะเข็บกลางหลัง ด้านหน้าเปิด ตัดผ้าเป็นวงแขน เย็บด้านข้างเข้า ด้วยกัน ต่อแขนยาวถึงข้อมือ เป็นเสื้อคอกลม แล้วเอาผ้าชิ้น หนึ่งตัดเฉียงจากอกเสื้อด้านซ้ายป้าย ไปทางด้านขวา มีการตกแต่งที่ชายเสื้อ ชายแขนเสื้อ เป็นแถบผ้าเล็ก ๆ เป็นสีเหมือนเสื้อของสตรี กระดุมเสื้อป้ายจะติดกระดุมเงิน รังดุมใช้ด้ายสีแดง หรือดำถักเป็นห่วง

             กางเกง เป็นกางเกงจีนขายาวทรงกระบอกสีดำ ติดด้ายถักเป็นทางสีแดง สมัยใหม่นี้ นิยมแต่งแบบคนไทยพื้นเมือง
             เครื่องแต่งกายเด็ก นิยมแต่งกายแบบพื้น ราบ เพราะหาซื้อง่ายและสะดวก แต่มีเครื่องแสดง เอกลักษณ์ของเย้าอยู่ โดยการใส่หมวกตามประเพณี ซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย 
             หมวกเด็กหญิง ใช้ผ้าสี่เหลี่ยมผืนผ้า เป็นผ้าทอสีดำเป็นด้านกว้างติดกันเป็นวงกลม รวบส่วนบนเย็บติดกันเป็นหมวก ชายด้านล่างใช้ไหมพรมถัก (ทาง) ติดหรือใช้ไหมแดงพันลวดเงิน เป็นช่วง ๆ ติด ถัดขึ้น มาปักลายเป็นแถว ประมาณ 2-3 แถว ติดพู่ไหมพรมสีแดงเป็นวงกลมรอบ ตรงรอยเย็บและข้างหูด้านละ 1 อัน 
             หมวกเด็กชาย หมวกเด็กชายประกอบด้วยผ้าพื้น ดำ 6-8 ชิ้น เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือใช้สี แดงครึ่งหนึ่ง นำผ้าสามเหลี่ยมมาเย็บต่อกันเป็นหมวก ด้านล่างตกแต่งด้วยด้ายถัก และผ้าดำปัก ลาย 1-2 แถวมาเย็บติด นิยมใช้ผ้าแดงตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้ เย็บติดด้านบนของหมวก ด้านบนสุดติดพู่ ไหมพรมสีแดงเป็นก้อนกลม บางหมู่บ้านจะติดข้างหูอีกข้างละ 1 อัน หรือติดข้าง ๆ หมวกอีกประมาณ 7-8 อัน
ลีซอ
         เป็นรูปสามเหลี่ยม หรือใช้สี แดงครึ่งหนึ่ง นำผ้าสามเหลี่ยมมาเย็บต่อกันเป็นหมวก ด้านล่างตกแต่งด้วยด้ายถัก และผ้าดำปัก ลาย 1-2 แถวมาเย็บติด นิยมใช้ผ้าแดงตัดเป็นรูปกลีบดอกไม้ เย็บติดด้านบนของหมวก ด้านบนสุดติดพู่ ไหมพรมสีแดงเป็นก้อนกลม บางหมู่บ้านจะติดข้างหูอีกข้างละ 1 อัน หรือติดข้าง ๆ หมวกอีกประมาณ 7-8 อัน
         หญิง (สีซอลาย) นุ่งกางเกงสีดำ สนับแข้งสีแดง เสื้อยาวเหมือนเสื้อคลุมผ่าข้างสีตอง อ่อนหรือฟ้า คาดเอวด้วยผ้าดำมีพู่เป็นเส้นด้ายหลายสี รอบคอและแขนมีแถบลายผ้าเย็บสลับสี เป็นแถบรุ้งตามลักษณะลีซอลาย เป็นลักษณะของหญิงที่แต่งงานแล้ว ส่วนหญิงที่ยังไม่แต่งงานก็ สวมกางเกงดำเป้าต่ำ สนับแข้งสีแดงกุ๊นขอบน้ำเงิน เสื้อทรงกระสอบผ่าหน้าลงมาประมาณคืบ กว่าจากคอ ผ่าข้างแบบจีน สีน้ำเงินหรือเขียว เข็มขัดเป็นผ้าดำมีชายเป็นพู่ มีลายผ้าเป็นแถบ เหมือนรุ้งประดับที่คอเสื้อ 
         รอบต้นแขนใช้ผ้าดำพันเป็นหมวกตกแต่งด้วยพู่หลากสีใส่สร้อยเงิน รอบคอ 2-3 ชั้น ประดับหน้าอกด้วยแผงเงิน เป็นผ้าที่ใส่เสื้อผ้าสีฉูดฉาดที่สุด 
         ชาย (สีซอลาย) กางเกงสีตองอ่อน หรือฟ้าฉูดฉาด ใส่เสื้อสีขาว มีพิธีจะนุ่งสีน้ำเงินดำ ใส่เสื้อผ่าหน้าหรือป้ายทับด้านขวา คอกลม แขนยาว ประดับเงินรอบคอ และสาบเสื้อหมวกดำ หรือขาว ชายเข็มขัดมีพู่หลายสีห้อยไปด้านหน้า 2 พวงใหญ่ ยาวประมาณ 1 ศอก
มูเซอ
         มีการแต่งการตามกลุ่ม 4 กลุ่ม ดังนี้
         มูเซอดำ หรือลาหู่นะ 
             • หญิง สวมเสื้อสีดำแขนยาวคอกลม ยาวเหมือนเสื้อคลุม ด้านหน้าป้ายทับมาทางขวา กระดุมเป็นผ้าประดับด้วยเม็ดเงินครึ่งวงกลมรอบคอเลยไปทางด้านป้ายขวา ปลายแขนเสื้อและ ต้นแขนมีลวดลายสีแดง ด้านข้างของเสื้อมีแถบลวดลายกว้างประมาณ 2-3 นิ้ว จากใต้รักแร้ จนถึงชาย ใช้ผ้าดำโพกหัว มีย่ามแดงปักลาย ผ้าถุงดำมีลายคาดตามขวางด้วยสีแดงและขาวเป็น ลายโปร่ง ๆ 
             • ชาย สวมกางเกงเป้าต่ำสีดำ มีลวดลายสีแดง ขาว ปลายขา สวมเสื้อคอกลมสีดำแขนยาว ด้านหน้าป้ายทับมาทางขวา มีลวดลายตามขอบ มีกระดุมฝัง 3-4 เม็ด
         มูเซอแดง หรือลาหู่ย่า หรือลาหู่ยี 
             • หญิง นุ่งซิ่นสีดำ ลายแดงสลับดำ เป็นริว้ใหญ่ ๆ ขวางลำตัว ตีนซิ่นสีแดง หัวซิ่นก็สีแดง สวมเสื้อคอกลมผ่าหน้า แขนยาว เอวลอย พื้น ดำหรือน้ำเงิน สีแดงกุ๊นรอบคอสาบปลายแขน และต้นแขน ชายเสื้อตกแต่งด้วยผ้าสีแดง หน้าอกประดับด้วยแผ่นเงินกลมคล้ายโล่ห์มีย่ามแดง 
             • ชาย สวมกางเกงเป้าต่ำสีดำ ปลายขากุ๊นแถบแดง มีสนับแข้งขวาขลิบน้ำเงิน เสื้อคอ กลมแขนยาวสีดำผ่าหน้า มีลวดลายบริเวณหน้าอก มีหมวกดำหรือผ้าโพก สะพายถุงย่ามสีแดง
         มูเซอณี หรือมูเซอเหลือง 
             • หญิง นุ่งซิ่นดำ หัวซิ่นมีลวดลายตามขวางสีแดง ขาว เหลือง ตีนซิ่นมีลายเล็ก ๆ เสื้อคอ กลมสีดำผ่าหน้า แขนยาว ตามตัวเสื้อประดับเงินเป็นลวดลายเรขาคณิต 
             • ชาย กางเกงดำเป้าต่ำ มีลายตามขวางจากใต้เข่าถึงปลายขาสีแดง ขาว เหลือง สวมเสื้อ คอกลมสีดำ แขนยาวผ่าอก ตกแต่งลวดลายตรงสาบเสื้อ คอ ปลายแขน ต้นแขนด้วยสีแดง ขาว เหลือง
         มูเซอ เซ เล 
             • หญิง สวมกางเกงดำเป้าต่ำ เสื้อคอกลมแขนยาวผ่าหน้า เสื้อยาวลงมาเหนือเข่า กุ๊น ขอบขาวตามสาบ หน้าด้านข้างและชายเสื้อ แขนเสื้อกุ๊นขาวเป็นลายคาดห่างกันจากข้อมือถึง ไหล่ ประมาณ 5-6 แถว ผ้าขาวโพกศีรษะ ถุงย่ามขาว ใช้เงินประดับตามตัวเสื้อ มีสนับแข้งสีดำ ผู้หญิงแต่งงานแล้วไม่ใส่ 
             • ชาย กางเกงดำเป้าต่ำ ผ้าคาดเอวขาว เสื้อคอกลมแขนยาวสีดำผ่าหน้า ตกแต่งลวดลาย สีแดงเหลืองไว้ภายในตัวเสื้อ เวลาใส่ไม่เห็นลวดลาย ย่ามสีแดง
กะเหรี่ยง
        • คนไทยในภาคกลางจะเรียก “กะเหรี่ยง” พม่าเรียก “กะยิ่น” ภาคเหนือของไทยเรียก “ยาง” บางทีเรียก “กะหร่าง” เดิมอยู่ในดินแดนตะวันออกของธิเบต ต่อมาเข้ามาอยู่ในประเทศจีน ถูกจีนรุกรานจึง ถอยร่นลงมาในเขตพม่า จากพม่ามาอยู่ในประเทศไทยอยู่ตามหุบเขาและแม่น้ำ 
        • ลักษณะสีผิวของกะเหรี่ยงแตกต่างกัน มีตั้งแต่เหลืองไปจนถึงสีน้ำตาลคล้ำ ใบหน้าแบน มีโหนกแก้ม ตาหยีเล็กน้อย จมูกแบนกว้างไม่มีสัน ผมดำตรง 
        • กะเหรี่ยงนิยมใช้ผ้าฝ้ายทำเสื้อ ผ้าย้อม และทอเอง ปัจจุบันใช้ด้ายสีเคมีสีฉูดฉาดมา ตกแต่ง ปักด้วยเมล็ดพืชเป็นลวดลายสลับกับด้ายที่มัดเป็นเปลาะ ๆ 
        • ผู้หญิงกะเหรี่ยงที่ยังโสดจะแต่งด้วยผ้าทรงกระสอบสีขาว มีลวดลายแต่งตามตัวเล็กน้อย บริเวณหน้าอกมีลายแดงทำเป็นชายครุย หญิงแต่งงานแล้วจะใส่ผ้าถุงสีแดงมีลายขวางตามตัว ซิ่นเป็นเส้นสีดำ ฟ้า น้ำตาล ส่วนเสื้อท่อนบนจะแต่งตามเผ่า 
        • กะเหรี่ยงแบ่งออกเป็น 4 เผ่า คือ 
            1. เผ่าสะกอ 
            2. เผ่าโปว 
            3. เผ่าบเว (คยา) 
            4. เผ่าตองสู (พะโอ) 
        • การแต่งกาย 
        กะเหรี่ยงเผ่าสะกอ 
             • หญิง สวมกระโปรงยาวถึงข้อเท้า ผมเกล้ามวยไว้ข้างหลัง พันด้วยเส้นด้ายถักสีแดง ผ้าส่วนมากจะทอเอง เสื้อแขนกุดพื้นดำ หรือน้ำเงินปนดำ ส่วนล่างของเสื้อปักลวดลายทรง เรขาคณิตด้วยด้ายแดง ปักลูกเดือย มีพู่ชายครุยบริเวณชายเสื้อ 
             • ชาย สวมกางเกงขายาวแบบจีน สีดำ หรือขาว สวมเสื้อสีแดงยกดอกเป็นหมู่ แขนสั้น เสื้อยาวครึ่งเข่า บางคนสวมเสื้อเชิ้ต สีขาวด้วยเสื้อชุดสีแดง บางคนสวมชุดดำ
         กะเหรี่ยงเผ่าโปว' 
             • หญิง หญิงสวมเสื้อ แขนกุดพื้น แดงอ่อนหรือสีน้ำหมาก ตัวเสื้อครึ่งล่างปักลวดลายเป็น เส้นตรงแนวนอนเป็นช่วง ๆ เกล้ามวยผมสูงเป็นกระพุ่มกลมแผ่บาน ขมวดเป็นจุก ส่วนการแต่งกาย โดยทั่วไปจะคล้าย ๆ กัน 
             • ชาย แขนกุด ชายต่ำกว่าเอว สีและลวดลายเหมือนเผ่าสะกอ กางเกงเป้าต่ำสีน้ำเงินเข้ม หรือดำ โพกหัวด้วยผ้าสีแดง หมวกขาวสีน้ำตาล
         กระเหรี่ยงบเว (คยา) 
             • หญิง สวมชุดสีดำ และแดง มีผ้าขาวม้าพันเอว มีชายห้อยลงมาด้านหน้า 2 แฉก มีผ้าผืน ใหญ่คลุมไหล่ ผม 
             • ชาย สวมเสื้อสีแดง สีดำ นิยมสวมเสื้อกางเกงลายสลับขาวเป็นเส้นตรงลงมา 
         กะเหรี่ยงตองสู่ (พะโอ) 
             • กะเหรี่ยงสะกอเรียกตองสู่ว่า “กระเหรี่ยงดำ” อาจจะเป็นเพราะสวมชุดดำทั้งหมด 
อีก้อ
         • หญิง นุ่งกระโปรงพลีทสีดำ หรือน้ำเงินอมดำ สนับแข้งสีน้ำเงินอมดำ ปักผ้าแถบสี เข็มขัด ผ้าปักหอยเบี้ย เสื้อคอกลมผ่าหน้าแขนยาว ปลายแขนกุ๊นผ้าแถบหลากสีจากข้อศอกถึงข้อมือ สาบเสื้อกุ๊นด้วยสีแดง ด้านหลังเสื้อปักลายเรขาคณิตในกรอบเส้นตรงหลายเส้นประมาณครึ่งล่าง ด้านข้างผ่าจากชายขึ้น ไป 1 คืบทั้ง 2 ด้าน
         • หมวกผ้าเป็นรูปกรวยคว่ำ ยอดกรวยจะป้านประดับ เม็ดเงินกลมผ่าซีกขนาดต่างๆ กันตามแนวนอนสลับกับกระดุมเม็ดเล็ก ๆ แถบผ้าสีจากหน้าผากขึ้นไปกับยอดหมวกมีพู่ห้อยจากยอดหมวกลงมาหลายพู่ ลูกปัดร้อยเป็นเส้นหลากสีหลายเส้นห้อยลงมาตามขอบหมวก หน้าผาก จอนหู ประดับห้อยเหรียญเงินเก่า สายรัดคางดำด้วยลูกปัด ร้อยเป็นเส้นหลายเส้นหลากสี ห่วงเงินรอบคอ แผ่นเงินกลมปิดหน้าอก เสื้อผ้าผู้หญิง หมวกผู้หญิง
         • ชาย นุ่งกางเกงเป้าต่ำสีดำหรือน้ำเงินเข็ม เสื้อดำหรือน้ำเงินผ่าหน้า คอยู ชายเสื้อผ่าข้าง เล็กน้อย ปักลวดลายโปร่งเล็กน้อยตามชายเสื้อด้านข้าง 
         อีก้อโลมิ หรือโลมิซา 
             • หญิง สวมกระโปรงพลีทสีดำ หรือน้ำเงินเข้ม ใส่สนับแข้งสีน้ำเงิน เสื้อคอกลม แขนยาว ผ่าหน้าสีดำหรือน้ำเงินเข้ม ยาวพอประมาณผ่าข้าง 2 ข้าง ด้านหลังเสื้อปักลายโปร่ง แขนเสื้อกุ๊น แถบสีต่าง ๆ จากข้อมือจนถึงใต้รักแร้ เข็มขัดผ้าประดับด้วยหอยเบี้ยหงายลูกเดือยป่า
            • หมวกเป็นผ้า ปักเม็ดเงินผ่าซีกเป็นแถวเรียงจากหน้าผากขึ้น ไปหาท้ายทอยและด้านข้าง ด้านหลังหมวกใช้กล่อง เงินแบบแบนรูปสี่เหลี่ยมคางหมูหันทางด้านเล็กขึ้น บน ตกแต่งด้านข้างด้วยพวงมาลัยผ้าสีแดง พ่วงลูกปัดหลากสี ด้านข้างเหนือหูขึ้น ไปแขวนลูกเงินกลมโปร่งข้างละหลาย ๆ ลูก ห้อยเหรียญ เงินโบราณตามจอนผมลงไป มีสายรัดคางทำจากลูกปัดหลากสี ประดับด้วยห่วงเงินที่บริเวณ หน้าอก คอ และลูกเดือยตามแบบของอีก้อ
            • ชาย นุ่งกางเกงเป้าต่ำสีดำหรือน้ำเงิน เสื้อผ่าหน้า แขนยาว ปักลายทางด้านหลังครึ่งตัว 
        อีก้อผาหมี
            • หญิง ใส่กระโปรงพลีทสีน้ำเงินหรือดำ เสื้อสีดำหรือน้ำเงิน คอกลม ผ่าหน้า แขนยาว กุ๊นผ้าสีต่าง ๆ จากข้อมือถึงใต้รักแร้ สนับแข้งสีดำหรือน้ำเงิน ปักลายเหมือนกับลายปักเสื้อด้านหลัง บริเวณหน้าอกตกแต่งด้วยแผ่นเงินเล็กบ้างใหญ่บ้าง หมวกผ้าประดับด้วยเม็ดเงินกลมผ่าซีกรอบ ศีรษะ แนวหูประดับเงินเหรียญเก่า มีสายรัดคางเป็นเงิน และลูกปัดหลากสี เสื้อผ้าผู้หญิง หมวกผู้หญิง
            • ชาย นุ่งกางเกงเป้าต่ำสีดำหรือน้ำเงินเข้ม เสื้อดำหรือน้ำเงินคอกลม แขนยาว ผ่าหน้าติด กระดุมเงิน เสื้อยาวผ่าด้านข้าง ปักลายทางขวางลำตัว จนถึงใต้รักแร้ สาบเสื้อ ด้านหน้าล่างกุ๊น ผ้าแดงแถบเล็ก ๆ เสื้อผู้ชาย ครอบครัวชาวอีก้อ
3 การแต่งกายชาวไทยภูเขาเชื้อชาติต่างๆ.jpg

ภาพที่ 3 การแต่งกายชาวไทยภูเขาเชื้อชาติต่างๆ

อุปกรณ์ประกอบ[แก้ไข]

         เครื่องดนตรีบางชิ้นนำมาจากชนเผ่ารวมเผ่า

ขั้นตอน/วิธี/กระบวนการ[แก้ไข]

         1. ศึกษาข้อมูลกลุ่มชาติพันธ์ที่ปรากฏอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร
         2. ศึกษาวิถีชีวิต ความเป็นอยู่วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์
         3. ศึกษาองค์ประกอบของการประดิษฐ์ท่ารำ

ท่าการแสดงจำเพาะ[แก้ไข]

         ท่ารำของระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขาเป็นการสร้างสรรค์ท่ารำขึ้นมาใหม่โดยการตีภาษาท่าตามคำร้องเพราะฉนั้นลักษณะเด่นของการแสดงสชุดนี้อยู่ที่ความงดงามของเครื่องแต่งกายที่บ่งขอกความงามของการแต่งกายแต่ละเผ่า พบว่า การสร้างสรรค์ผลงานระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา พบว่ามีชาวไทยภูพำนักอยู่ที่อำเภอคลองลาน มีมากมายหลายเผ่าแต่สำหรับการแสดงชุดนี้ได้คัดสรรเลือกจำนวนเพียง 6 เผ่ามาจัดสร้างเป็นชุดการแสดงคือ เผ่าม้ง เผ่าลีซอ เผ่ามูเซอ เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าเย้า และเผ่าอีก้อ จากการสำรวจพบว่าเผ่าอีก้อมีประชากรจำนวนน้อยที่สุดเครื่องแต่งกายระบำรวมเผ่าชาวไทยภูเขา
ภาพที่ 1 การแต่งกายชาวไทยภูเขา.jpg

ภาพที่ 4 การแต่งกายชาวไทยภูเขา

ข้อมูลผู้แสด[แก้ไข]

เพศผู้แสดง[แก้ไข]

         ชาย 6 หญิง 6 คน

จำนวนผู้แสดง[แก้ไข]

         ใช้ผู้แสดง 12 คน

ลักษณะผู้แสดง[แก้ไข]

         รวมชนเผ่า

การแต่งกายผู่แสดง/เครื่องประดับ[แก้ไข]

         ใส่ตามลักษณะของชนเผ่าโดยรวมใช้เครื่องเงิน

ข้อมูลเพลง/ดนตรี[แก้ไข]

เพลงที่ใช้ในการแสดง[แก้ไข]

         -

เนื้อร้อง/ทำนอง[แก้ไข]

ภาพที่ 2 เนื้อเพลง.jpg

ผู้แต่งเพลง เนื้อร้อง/ทำนอง[แก้ไข]

         -

เครื่องดนตรีประกอบ[แก้ไข]

         ดนตรี ใช้วงดนตรีพื้นเมือง

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

25 เมษายน 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

-

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา  

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         ระบำ
         ระบำ  ตามพจนานุกรมแปลว่า การฟ้อนรำ รำหรือฟ้อน ดังนั้น โดยนัยดังกล่าวนี้คำว่า ระบำ รำ หรือฟ้อน จึงไม่แตกต่างกันเลย ดังนั้น ระบำ คือ ศิลปะของการร่ายรำที่แสดงพร้อมกันเป็นหมู่เป็นชุด ไม่ดำเนินเรื่องราว ท่ารำบางครั้งก็มีความหมายเข้ากับเนื้อเรื่อง บางครั้งก็ไม่มีความหมายนอกจากความสวยงาม คำว่า "ระบำ" ย่อมรวมเอา "ฟ้อน" และ "เซิ้ง" เข้าไว้ด้วย เพราะวิธีการแสดงไปในรูปเดียวกัน หากแต่แยกให้เห็นความแตกต่างของท้องถิ่น วิธีร่ายรำตลอดจนการแต่งกายตามระเบียบประเพณีเท่านั้น คำว่า "ฟ้อน" และ "เซิ้ง" เป็นระบำประเภทพื้นเมืองแต่งกายตามเชื้อชาติ ประกอบด้วยเพลงที่มีทำนอง และบทร้องตามภาษาท้องถิ่น เช่น ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนลาวแพน เซิ้งสวิง เซิ้งกระติ๊บ ฯลฯ