ฐานข้อมูล เรื่อง วัดพระแก้ว
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่อเรียกแหล่งโบราณสถาน[แก้ไข]
วัดพระแก้ว
ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]
-
ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]
อยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เขตในกำแพงเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]
16.488276°N 99.518003°E
สภาพธรณีวิทยา[แก้ไข]
ดินปนทรายและมีชั้นทรายตะกอนแม่น้ำ ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำปิง และมีการทับถมของตะกอนทรายและดินปนทรายเกิดเป็นที่ราบบริเวณเมืองกำแพงเพชร
หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]
กรมศิลปากร
สถานการณ์ขึ้นทะเบียน[แก้ไข]
- ขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากร, ขึ้นทะเบียนของ UNESCO - ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 - ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 3 มกราคม 2480 - ประกาศขึ้นทะเบียนกำหนดขอบเขตอีกครั้งในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 85 ตอนที่ 41 วันที่ 7 พฤษภาคม 2511 - ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534
ข้อมูลทางโบราณคดี[แก้ไข]
ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]
วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชร ชื่อเมือง “กำแพงเพชร” ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ 38 หรือ จารึกกฎหมายลักษณะโจร กล่าวพระนามจักรพรรดิราชได้ขึ้นเสวยราชสมบัติที่เมืองกำแพงเพชร ขณะเดียวกัน “กำแพงเพชร” ก็เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี ซ้ำยังเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว ไตรตรึงษ์ นครชุม เมืองเทพนคร เป็นต้น ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่ากำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัย มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมชื่อ เมืองชากังราว ด้วยความที่เป็นเมืองหน้าด่าน กำแพงเพชรจึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์และมีความสำคัญมาก หลักฐานที่ปรากฏถึงความรุ่งเรืองของกำแพงเพชร ได้แก่ กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการที่ถูกสร้างอย่างแข็งแรง รวมถึงวัดโบราณหลายแห่ง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงบันทึกว่า กำแพงเมืองกำแพงเพชรเป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่มั่นคง ยังมีความสมบูรณ์มาก และเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทย ขณะที่ อาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม กล่าวถึงความมหัศจรรย์ของกำแพงเพชร ว่า กำแพงเพชรคือเมืองสองฝั่ง ขยายจากเมืองนครชุมทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง มีการขุดพบหลักฐานทางโบราณคดีสมัยทวาราวดีและก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งแสดงให้เห็นการคมนาคมทางแม่น้ำปิงมาก่อน เมืองนครชุมอาจมีการพัฒนาเป็นบ้านเมืองในพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคมและศูนย์กลางเศรษฐกิจของสุโขทัยในลุ่มแม่น้ำปิง โบราณสถานที่เหลือ เช่น แนวกำแพงเมือง เชิงเทิน ป้อม ประตู น่าจะสร้างร่วมสมัยกับอยุธยาตอนต้น ในสมัยโบราณมีการใช้ “วัด” เป็นศูนย์กลางของนครเช่นเดียวกับสุโขทัย ดังนั้น กลางเมืองกำแพงเพชรจึงปรากฏมี “วัดพระแก้ว” และ “วัดพระธาตุ” เป็นศูนย์กลาง (ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (Matichon Academy), ม.ป.ป.)
ภาพที่ 1 วัดพระแก้ว
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)
ภาพที่ 2 วัดพระแก้ว
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)
“วัดพระแก้ว” เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมือง และมีสถานะเป็นวัดหลวงที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาส เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ในกรุงศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย หรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามของกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ ปัจจุบัน) วัดพระแก้วกำแพงเพชรสันนิษฐานว่ามีการต่อเติมสิ่งก่อสร้างในวัดหลายยุคหลายสมัย ด้านเหนือของวัดเป็นบริเวณที่เรียกว่า “สระมน” สันนิษฐานว่าเป็นเขตพระราชวังโบราณ กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อน สูงประมาณเมตรเศษ ขาดเป็นตอน ๆ แผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้าขนานไปกับกำแพง สิ่งก่อสร้างภายในวัดใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางของวัดมี “พระเจดีย์กลม” แบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดยรอบมีสิงห์ยืนอยู่ในคูหา แต่ชำรุดหมด หลังการขุดแต่งของกรมศิลปากร พบฐานเจดีย์แบบต่าง ๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก 8 วิหาร ฐานโบสถ์ 3 แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่และสำคัญมาก
ภาพที่ 3 บริเวณด้านหลังวัดพระแก้ว
(ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (Matichon Academy), ม.ป.ป.)
ภาพที่ 4 แสดงถึงภาพจำลองวัดพระแก้ว
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)
ส่วนที่ว่าทำไมถึงมีชื่อว่า “วัดพระแก้ว” ก็มาจากตำนานพระแก้วมรกต เล่าลัดตัดตอนมาที่เมื่อพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรได้ระยะหนึ่ง ทำให้เมืองกำแพงเพชรมีชื่อเสียงว่าเป็นเมืองสำคัญในทางพระพุทธศาสนา บรรดาหัวเมืองฝ่ายเหนือคิดจะแย่งชิงพระแก้วมรกตไป แต่ไม่สำเร็จ กระทั่งเจ้าเมืองเชียงรายยกกองทัพใหญ่มีไพร่พลนับแสนมาที่กำแพงเพชร เพื่อทูลขอพระแก้วมรกต ด้วยแสนยานุภาพของกองทัพเมืองเชียงราย เจ้าเมืองกำแพงเพชรจึงจำใจให้ไปด้วยความโศกเศร้าของอาณาประชาราษฎร์ ต่อมามีการทำศึกแย่งชิงพระแก้วมรกตกันอีกหลายครั้งจนเจ้าเมืองเชียงรายนำพระแก้วมรกตไปซ่อนไว้ภายในพระเจดีย์ วัดป่าเยี้ยะ ซึ่งอยู่ในเชียงรายนั่นเอง จึงทำให้พระแก้วมรกตหายสาบสูญไปตั้งแต่บัดนั้น จนกระทั่งเกิดฟ้าผ่าพระเจดีย์จึงทำให้พบเห็นพระแก้วมรกตอีกครั้ง คราวนี้เจ้าเมืองเชียงใหม่อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เชียงใหม่ แต่มาถึงกลางทางช้างที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตไม่ยอมเดิน แต่กลับไปที่เมืองเขลางค์นคร (ลำปาง) จึงต้องประดิษฐานพระแก้วมรกตไว้ที่นครลำปาง ต่อมาพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์เชียงใหม่ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางไปไว้ที่สถูปเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ เมื่อเกิดศึกเชียงใหม่กับลาว พระเจ้าไชยเชษฐาได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่นครหลวงพระบาง แล้วต่อมาย้ายไปที่เมืองเวียงจันทน์ในที่สุด พระแก้วมรกตอยู่ในเวียงจันทน์มาเป็นเวลาประมาณ 200 ปี จนสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อเสร็จศึกเมืองเวียงจันทน์ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมายังพลับพลาที่วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) โดยพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขา ว่า ได้อาราธนาจากเมืองเวียงจันทน์ ข้ามมายังเมืองพานพร้าว (น่าจะเป็นเมืองศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย) ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขง เดินทัพมาถึงเมืองสระบุรี พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต เป็นขบวนเรือไปรับที่ท่าเจ้าสนุก หลังจากอัญเชิญมาทางบก แล้วทำพิธีสมโภช 3 วัน 3 คืน จึงอัญเชิญมาที่ท่าพระราชวังหลวงมาประทับแรมที่พระตำหนักบางธรณี (วัดตำหนักใต้บางกระสอ นนทบุรี) และในที่สุดพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน เมื่อครั้งพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรนั้น เชื่อว่าต้องประดิษฐานภายในวัดในกำแพงเมืองหรือวัดประจำเมืองก็คือ วัดพระแก้ว ประกอบกับที่วัดพระแก้วมีมณฑปขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 28 ตั้งซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ฐานชั้นล่างกว้างประมาณ 12 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร ตรงกลางด้านทิศตะวันออกทำเป็นทางขึ้น ถัดจากนั้นเป็นฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 36 อีก 1 ชั้น แต่ชั้นนี้ไม่มีบันไดทางขึ้น ต่อไปเป็นฐานย่อมุม 28 กว้างประมาณ 8 เมตร รองรับตัวเรือนธาตุ ย่อมุมไม้ 12 มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน ภายในเป็นห้องสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตนั่นเอง (ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (Matichon Academy), ม.ป.ป.) พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร สันติ อภัยราช (ม.ป.ป) พระพุทธรูปที่ทรงคุณค่าควรเมืองที่สุดในประเทศไทยคือ พระแก้วมรกต เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของไทยมาช้านาน ตามตำนานกล่าวว่า ผู้สร้างคือพระนาคเสนเถระ พระอรหันต์เจ้าแห่งประเทศอินเดีย ท่านต้องการบำรุงพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป จึงดำริที่สร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วมณี เมื่อสร้างเสร็จได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ เจ็ดพระองค์ เข้าประดิษฐานในองค์พระแก้วมรกต พระแก้วมรกตเดิมประดิษฐานที่นครปาตลีบุตร แห่งประเทศอินเดีย ต่อมาเกิดสงครามประชาชนจึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปยังลังกาทวีป จากนั้นหลังปีพุทธศักราช 1000 พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่ที่พระมหานครเอกราช แต่เกิดอุทกภัย ทำให้ประชาชนตายทั้งพระนคร. ต่อพระเจ้าอาทิตยราช แห่งอโยชยา ยกกองทัพมาตีชายแดนมหานครเอกราชจึงอัญเชิญมาไว้ที่ นครอโยชยา พระยาวิเชียรปราการแห่งเมืองกำแพงเพชร ได้มาอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรนั้น ต้องประดิษฐาน ณ วัดในกำแพงเมือง วัดประจำเมืองกำแพงเพชรคือวัดที่เรียกกันว่า วัดพระแก้ว เพราะเชื่อกันว่าถ้ามาอยู่กำแพงเพชร ต้องอยู่ที่วัดนี้อย่างแน่นอน และประกอบกับที่วัดพระแก้วมีมณฑปขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 28 ตั้งซ้อนกันอยู่ 2 ชั้น ฐานชั้นล่างกว้างประมาณ 12 เมตร สูงประมาณ 2 เมตร ตรงกลางด้านทิศตะวันออก ทำเป็นทางขึ้น ถัดจากนั้นเป็นฐานบัวลูกฟัก ย่อมุม 36 อีก 1 ชั้น แต่ชั้นนี้ไม่มีบันไดทางขึ้น ต่อไปเป็นฐานย่อมุม 28 กว้างประมาณ 8 เมตร รองรับตัวเรือนธาตุ ย่อมุมไม้ 12 มีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน ภายในเป็นห้อง ที่สันนิษฐานว่า น่าจะประดิษฐานพระแก้วมรกต พระแก้วมรกตประดิษฐานที่กำแพงเพชรระยะหนึ่ง ทำให้เมืองกำแพงเพชรมีชื่อเสียง โด่งดังว่าเป็นเมืองสำคัญในทางพระพุทธศาสนา ทำให้หัวเมืองฝ่ายเหนือคิดจะแย่งชิงพระแก้วมรกตไปแต่ทำไม่สำเร็จ เพราะความแข็งแกร่งของเมืองกำแพงเพชร เจ้านครเชียงราย ยกกองทัพใหญ่มีไพร่พลนับแสน มากำแพงเพชร เพื่อทูลขอพระแก้วมรกตไปเป็นขวัญพระนครเชียงราย ด้วยแสนยานุภาพที่เกรียงไกร กำแพงเพชรจึงให้พระแก้วมรกตไปด้วยความโศกเศร้าเสียดายของอาณาประชาราษฎร์ คงมีการแย่งชิงพระแก้วมรกตกันอีกหลายครั้งทำให้เจ้าผู้ครองนครเชียงราย นำพระแก้วมรกตไปซ่อนไว้ภายในพระเจดีย์ วัดป่าเยี้ยะ ทำให้พระแก้วมรกตหายสาบสูญไป จนกระทั่งเกิดฟ้าผ่าพระเจดีย์ทำให้พบพระแก้วมรกตอีกครั้ง เจ้าเมืองเชียงใหม่ตั้งใจจะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่เชียงใหม่ แต่มาถึงกลางทางช้างที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตไม่ยอมเดิน แต่กลับมาที่เขลางค์นคร จึงมาประดิษฐานที่นครลำปาง ต่อมาพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ เชียงใหม่ ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากลำปางมาไว้ที่สถูปเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ ต่อมาพระเจ้าไชยเชษฐาได้อัญเชิญพระแก้วมรกตไปไว้ที่นครหลวงพระบาง และไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์ในที่สุด อยู่ในประเทศลาว เป็นเวลาประมาณ 200 ปี พระแก้วมรกต ได้รับการอาราธนาอีกครั้งหนึ่งในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี จากเมืองเวียงจันทน์ มายังพลับพลาที่วัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) โดยพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขาว่า ได้อาราธนา จากเมืองเวียงจันทน์ ข้ามมายังเมืองพานพร้าว (น่าจะเป็นเมืองศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย) ฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงเดินทัพมาถึงเมืองสระบุรี พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ เสด็จขึ้นไปรับพระแก้วมรกต ว่าเป็นขบวนเรือไปรับที่ท่าเจ้าสนุก หลังจากที่อัญเชิญมาทางบก แล้วทำพิธีสมโภช 3 วัน 3 คืน จึงอัญเชิญมาที่ท่าพระราชวังหลวง มาประทับแรมที่พระตำหนักบางธรณี (วัดตำหนักใต้บางกระสอ นนทบุรี) และในที่สุดพระแก้วมรกต มาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
ลักษณะสิ่งปลูกสร้าง[แก้ไข]
วัดพระแก้วมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาคารสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ใช้ศิลาแลงในการก่อสร้าง เจดีย์ช้างเผือก เป็นกลุ่มโบราณสถานที่ตั้งอยู่ตอนหลังสุดทางด้านทิศตะวันตกของวัดพระแก้วเป็นเจดีย์ทรงระฆังบนฐานสี่เหลี่ยม มีเจดีย์บริวารทรงระฆังอยู่ที่มุมทั้ง 4 ของฐาน โดยรอบฐานสี่เหลี่ยม มีการประดับประติมากรรมปูนปั้นรูปช้างโผล่ครึ่งตัว จำนวน 32 เชือก แบบศิลปะสุโขทัย มีระเบียงคตล้อมรอบเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบ ทางด้านทิศตะวันออกของเจดีย์เป็นวิหารสามารถศึกษาเปรียบเทียบทางศิลปะเทียบเคียงได้กับเจดีย์ประธานแห่งวัดช้างล้อมแห่งเมืองศรีสัชนาลัย และเจดีย์วัดช้างล้อมแห่งเมืองสุโขทัย บริเวณระหว่างวิหารและระเบียงคตที่ล้อมรอบเจดีย์ช้างเผือกเป็นมณฑป ขนาดกว้าง 10.60 เมตร ยาว 12.50 เมตร มีเสาอาคารสร้างด้วยศิลาแลง จำนวน 12 ต้น ตรงกลางของอาคารปรากฏหลักฐานการประดิษฐานพระพุทธรูปในอิริยาบถยืน สร้างจากศิลาแลงชิ้นเดียว โกลนให้เป็นแท่นฐานสี่เหลี่ยมขนาดความกว้าง 2.00 เมตร ยาว 2.10 เมตร สูง 0.60 เมตร ส่วนของพระพุทธรูปคงเหลือเฉพาะแกนศิลาแลงที่โกลนให้เป็นพระบาทถึงข้อพระบาททั้ง 2 ข้าง ส่วนบนขึ้นไปหักหาย ขนาดความยาวพระบาทแต่ละข้างยาว 1.70 เมตร กว้าง 0.60 เมตร สูงถึงข้อพระบาท 0.57 เมตร สันนิษฐานว่าพระพุทธรูปในอิริยาบถยืนดังกล่าวคือ “พระอัฏฐารส” (เว็บท่ากรมศิลปากร, ม.ป.ป.)
ภาพที่ 5 รูปแบบสัณนิฐานวัดพระแก้ว
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)
ภาพที่ 6 รูปแบบสัณนิฐานวัดพระแก้ว
(ผู้นิพนธ์สร้างสรรค์เอง)
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม[แก้ไข]
สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา
ยุคทางโบราณคดี[แก้ไข]
ยุคทวารวดี
สมัย/วัฒนธรรม[แก้ไข]
สมัยหินใหม่
อายุทางโบราณคดี[แก้ไข]
พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๒
อายุทางวิทยาศาสตร์[แก้ไข]
-
อายุทางตำนาน[แก้ไข]
700 ปี
ประเภทของแหล่งโบราณคดี[แก้ไข]
ศาสนสถาน
ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]
แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]
เว็บท่ากรมศิลปากร. (ม.ป.ป.). พระอัฏฐารส ณ วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชร. https://www.finearts.go.th/kamphaengphethistoricalpark/view/30166- ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (Matichon Academy). (ม.ป.ป.). Tour Story: เรื่องราวระหว่างทัวร์ วัดพระแก้ว เมืองกำแพงเพชร เสน่ห์แห่งแท่งศิลา. https://www.matichonacademy.com/tour-story/วัดพระแก้ว-เมืองกำแพงเพ สันติ อภัยราช. (ม.ป.ป.). พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร. http://sunti-apairach.com/06N/06NJ.htm
วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]
21 ธันวาคม พ.ศ.2566
วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]
27 ธันวาคม พ.ศ.2566
ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]
ชัชฏาภรณ์ อินทรีย์ สุนิษา แก้วประเสริฐ บวรรัตน์ ดินแดง อินทิรา ภักดีนอก ทิฆัมพร เทียนชัย ศลิษา สร้อยสนธ์
คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]
วัดพระแก้ว, โบราณสถาน, กำแพงเพชร