ฐานข้อมูล เรื่อง วิถีชีวิตคนพรานกระต่ายกับของฝากขึ้นชื่อ
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่อภูมิปัญญา[แก้ไข]
จักสานไม้ไผ่
ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]
จักสาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ตอก” จัก เป็นการเตรียมวัสดุที่จะใช้ในการจักสาน โดยนำวัสดุมาทำให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้ว เพื่อความสะดวกในการสาน ลักษณะของการจักสานจะขึ้นอยู่กับลักษณะของวัสดุแต่ละชนิด ซึ่งจะมีวิธีการเฉพาะที่แตกต่างกันไป เช่น วัสดุที่นำมาจักนั้นเป็นไม้ไผ่ หวาย มักเรียกว่า ตอก และการจักตอกไม้ไผ่โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ จักตามแนวไม้ไผ่โดยมีผิวไม้เป็นส่วนแบน เรียกว่า ตอกพื้น ส่วนอีกลักษณะหนึ่งจะจักโดยมีผิวไม้เป็นส่วนสันตอกเรียกว่า ตอกตะแคง นอกเหนือจากตอกไม้ไผ่สองลักษณะนี้แล้ว อาจจะมีตอกที่จัก เหลา เป็นเส้นกลม ๆ หรือลักษณะอื่น ๆ ตามความต้องการที่จะนำตอกชนิดนั้น ๆ ไปใช้อย่างไรก็ตาม การจักตอกเป็นงานขั้นแรกที่สำคัญในการทำเครื่องจักสาน เพราะลักษณะของตอกจะต้องประสานกับลวดลายและรูปทรงของเครื่องจักสานด้วย นอกจากนี้การเลือกสรรวัสดุที่ดีก็มีผลต่อความคงทนและความประณีตสวยงานของเครื่องจักสานด้วย
ความเป็นมาของภูมิปัญญา[แก้ไข]
นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานว่า เมื่อประมาณ 4000 ปีมาแล้วมนุษย์ได้รู้จักวิธีการจักสานของใช้ด้วยไม้ไผ่ เป็นลักษณะลายขัดสองเส้น หลักฐานนี้ได้ค้นพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งถือเป็นดินแดนที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย หลักฐานการค้นพบเครื่องจักสานนี้นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังได้พบที่แอฟริกาและในทวีปเอเชียบางแห่ง บริเวณแหลมมลายู (ในยุคหิน) ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสานที่ทำด้วยไม้กองรวมอยู่กับของใช้ของผู้ตาย จึงสันนิษฐานว่าเครื่องจักสานได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมความเชื่อบางอย่างของมนุษย์ในยุคนั้นบ้างแล้ว ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้มีการดำเนินชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ จึงเป็นที่เชื่อได้ว่ามนุษย์ได้รู้จักพัฒนาการเครื่องจักสานให้เหมาะสมกับการใช้สอยขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะการขยายตัวออกมาดำเนินชีวิตในที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้อย่างเหลือเฟือ สิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ก็คือ การหาเครื่องมือบางชนิดไว้ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่เครื่องจับสัตว์ เครื่องจักสานเป็นเครื่องมือที่มนุษย์สามารถจะนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่ด้านประโยชน์ใช้สอยเท่านั้นที่มนุษย์พัฒนาขึ้น ความสวยงาม และ ความทนทานถาวร ก็เป็นปัจจัยที่มนุษย์ให้ความสำคัญ จากการที่มนุษย์รู้จักการใช้ยางพืชบางชนิดมาทา หรือยา เพื่อมิให้เกิดรอยรั่ว ซึ่งทำให้มีผลสองอย่าง คือ ความคงทนถาวรและประโยชน์ใช้สอยเพิ่มเติมคือการไปใส่น้ำ การใช้ภูมิปัญญาดังกล่าว มีมาแต่ครั้งสุโขทัย หรืออาจจะก่อนหน้านั้น ปัจจุบันเครื่องจักสานได้พัฒนาการไปมาก มีการประดิษฐ์คิดค้นทำให้ได้รูปแบบต่างๆ เครื่องจักสานเป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่มากับสังคมกสิกรรมรับใช้ชีวิตมนุษย์ เป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้และเชื่อว่าจะไม่สูญหายไปจากโลกนี้แน่นอน
ผู้ค้นพบ ผู้คิดค้น[แก้ไข]
มนุษย์ได้ค้นพบและมีการคิดค้นที่จะผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุคหินแล้ว เห็นได้จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มนุษย์ยุคก่อนได้นำเอาวัตถุจากธรรมชาติมาสร้างเป็นเครื่องมือเครื่องใช้อย่างง่าย ๆ สำหรับในประเทศไทยมีหลักฐานที่พบ เช่น ได้พบเครื่องมือที่ทำด้วยหินจำพวกขวาน และเครื่องปั้นดินเผาสมัยหินเก่า ที่บ้านท่ามะนาว ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น นอกจากนี้นักโบราณคดียังพบหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานในยุคหินใหม่ที่บริเวณถ้ำแห่งหนึ่งในเขตอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เครื่องจักสานที่พบทำด้วยไม้ไผ่ เป็นลายขัดสองเส้น มีอายุมากกว่า 5,000 ปี เก่ากว่าเครื่องจักสานที่พบจากแหล่งโบราณคดีอื่น ๆ ในทวีปเอเชีย แอฟริกา และอเมริกา หลักฐานเกี่ยวกับการทำเครื่องจักสานของมนุษย์นั้น ได้พบในหลายที่หลายแห่งทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นหลักฐานเครื่องจักสานขอองชาวอียิปต์โบราณ หรือหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสานของมนุษย์ยุคหินในบริเวณแหลมมาลายู ซึ่งมีลักษณะเป็นภาชนะอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "ล่วม" สานด้วยใบไม้ชนิดหนึ่ง กองรวมอยู่ในกลุ่มเครื่องใช้ของคนตาย แสดงให้เห็นว่าเครื่องจักสานได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับคติความเชื่อของมนุษย์นอกเหนือจากทำขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยในชีวิตประจำวัน
ผู้นำมาใช้[แก้ไข]
มนุษย์มีความเฉลียวฉลาดในการเลือกสรรวัตถุดิบแต่ละชนิดจากธรรมชาติ มาทำเป็นเครื่องจักสาน ให้สอดคล้องเหมาะสมกับการใช้สอยไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะนำมาแปรรูปเป็นวัสดุ สำหรับทำเครื่องจักสานมากที่สุด จึงเห็นได้ว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นเครื่องจักสานที่นิยมใช้ และผลิตกันแพร่หลายในภูมิภาคเอเชีย เฉพาะประเทศไทยนั้น ไผ่หลายพันธุ์มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะนำมาทำเครื่องจักสาน กระจายอยู่ในทุกภาคของประเทศ และไผ่ที่นำมาทำเครื่องจักสานได้ดี มีหลายพันธุ์ ได้แก่ ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เฮี้ยะ ไผ่ข้าวหลาม จึงมีผู้นำภูมิปัญญาการจักสานมาใช้ในชีวิตประจำวันและได้มีการนำภูมิปัญญามาใช้ในการประกอบอาชีพอีกด้วย ผู้นำภูมิปัญญามาใช้จักสานสุ่มไก่ ได้แก่นาง ประนอม ขรพัตด์ อายุ 66 อยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำการจักสานมา 10 ปี มีการทำสุ่มไก่หลายขนาด แต่ละขนาดมีราคาแตกต่างกัน ขนาดใหญ่ราคา 200 บาท ขนาดกลางราคา180 บาท ขนาดเล็กราคา 150 บาท ขนาดเล็กสุดราคา 140 บาท มีรายได้ต่อปีประมาณ 40,000 บาท ผู้นำภูมิปัญญามาใช้จักสานแปลไม้ไผ่ ได้แก่นาง จันทร์รอน มีศรีสวัสดิ์ อายุ 58 อยู่บ้านเลขที่ 56/3 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำการจักสานมา 4 ปี มีรายได้ต่อปีประมาณ 40,000 บาท ผู้นำภูมิปัญญามาใช้ในการทำแคร่ไม้ไผ่ ได้แก่นายเทเวศ พลแก้ว อายุ 63 อยู่บ้านเลขที่ 809/1 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำแคร่ไม้ไผ่มา 5 ปี มีการทำแคร่ไม่ไผ่หลายขนาด แต่ละขนาดมีราคาแตกต่างกัน ขนาดใหญ่มีขนาด 1.50x2 เมตร ราคา 600 บาท ขนาดกลางมีนาด1.20x2 เมตร ราคา 500 บาท ขนาดเล็กมีขนาด 1x2 เมตร ราคา 400 บาท
วัน/เดือน/ปีที่ค้นพบ[แก้ไข]
นักโบราณคดีได้ค้นพบหลักฐานว่า เมื่อประมาณ 4000 ปีมาแล้วมนุษย์ได้รู้จักวิธีการจักสานของใช้ด้วยไม้ไผ่ เป็นลักษณะลายขัดสองเส้น หลักฐานนี้ได้ค้นพบที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งถือเป็นดินแดนที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย หลักฐานการค้นพบเครื่องจักสานนี้นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังได้พบที่แอฟริกาและในทวีปเอเชียบางแห่ง บริเวณแหลมมลายู (ในยุคหิน) ได้ค้นพบหลักฐานเกี่ยวกับเครื่องจักสานที่ทำด้วยไม้กองรวมอยู่กับของใช้ของผู้ตาย จึงสันนิษฐานว่าเครื่องจักสานได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวกับพิธีกรรมความเชื่อบางอย่างของมนุษย์ในยุคนั้นบ้างแล้ว ต่อมาเมื่อมนุษย์ได้มีการดำเนินชีวิตด้วยการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ จึงเป็นที่เชื่อได้ว่ามนุษย์ได้รู้จักพัฒนาการเครื่องจักสานให้เหมาะสมกับการใช้สอยขึ้นมาเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะการขยายตัวออกมาดำเนินชีวิตในที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน เพียบพร้อมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีให้อย่างเหลือเฟือ สิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ก็คือ การหาเครื่องมือบางชนิดไว้ใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้แก่ เครื่องจับสัตว์ เครื่องจักสานเป็นเครื่องมือที่มนุษย์สามารถจะนำไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่ด้านประโยชน์ใช้สอยเท่านั้นที่มนุษย์พัฒนาขึ้น ความสวยงาม และ ความทนทานถาวร ก็เป็นปัจจัยที่มนุษย์ให้ความสำคัญ จากการที่มนุษย์รู้จักการใช้ยางพืชบางชนิดมาทา หรือยา เพื่อมิให้เกิดรอยรั่ว ซึ่งทำให้มีผลสองอย่าง คือ ความคงทนถาวรและประโยชน์ใช้สอยเพิ่มเติมคือการไปใส่น้ำ การใช้ภูมิปัญญาดังกล่าว มีมาแต่ครั้งสุโขทัย หรืออาจจะก่อนหน้านั้น ปัจจุบันเครื่องจักสานได้พัฒนาการไปมาก มีการประดิษฐ์คิดค้นทำให้ได้รูปแบบต่างๆ เครื่องจักสานเป็นสิ่งที่อยู่ควบคู่มากับสังคมกสิกรรมรับใช้ชีวิตมนุษย์ เป็นมรดกตกทอดมาจนทุกวันนี้และเชื่อว่าจะไม่สูญหายไปจากโลกนี้แน่นอน บ้านลานไผ่ หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยยั้ง อำเภอพรานกระต่ายหมู่บ้านสารสนเทศต้นแบบบ้านลานไผ่ในหมู่บ้านจะประกอบประชาชนที่อพยพมาจากต่างจังหวัด จำนวน 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 มาจากจังหวัดตาก ซึ่งในสมัยนั้นเกิดปัญหาน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างเขื่อนภูมิพลได้มีนายเอื้อม โตพ่วงและนางซิว โตพ่วง อพยพเข้ามาประกอบอาชีพทำการเกษตรเป็นกลุ่มแรก กลุ่มที่ 2 ย้ายมาจากอำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย ซึ่งในสมัยก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโรคฝีดาต ทำให้ประชาชนในเขตบ้านด่านลานหอยอพยพเข้ามาทำการเกษตร โดยครอบครัวที่ 2 ที่ย้ายเข้ามา คือ ครอบครัวของนางสร้อย พรมมี และกลุ่มที่ 3 เป็นประชาชนที่อพยพมาหนีจากภัยแล้งมาจากภาคอีสาน คือ จังหวัดอุดรธานี ,หนองบัวลำภู, ชัยภูมิ อุบลราชธานี และขอนแก่น โดยประชาชนกลุ่มที่อพยพมาได้นำเอาวัฒนธรรมและประเพณีทางภาคอีสานเข้ามาใช้ในการดำรงชีวิต และได้มีการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านลานไผ่ ในปี 2472 โดยขึ้นอยู่ในการดูแลของตำบลหนองหัววัว อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร และในปี 2538 ได้แยกตำบลหนองหัววัวออกมาเป็นตำบลห้วยยั้ง และบ้านลานไผ่ได้ขึ้นอยู่ในการปกครองของตำบลห้วยยั้ง เปลี่ยนเป็นบ้านลานไผ่หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยยั้งสาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้าน “ลานไผ่” เพราะว่าตั้งตามสภาพพื้นที่มีบริเวณกว้างและมีต้นไผ่จำนวนมากจึงมีการนำทรัพยากรธรรมชาติไปใช้ในการดำรงชีวิต เช่น หาหน่อไม้มาบริโภคและแปรรูปไว้ให้นาน มีการนำไม้ไผ่มาจักสานเป็นของใช้ต่าง ปีที่ค้นพบการจักสานในจังหวัดกำแพงเพชร นางประนอม ขรพัตด์ ได้มีการค้นพบการทำสุ่มไก่ เมื่อ 16 มิถุนายน 2552 นางจันทร์รอน มีศรีสวัสดิ์ ได้มีการค้นพบการทำแปลไม้ไผ่ เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558 นายเทเวศ พลแก้ว ได้มีการค้นพบการทำแคร่ไม้ไผ่ เมื่อ 28 สิงหาคม 2557
ข้อมูลภูมิปัญญา[แก้ไข]
แนวคิดภูมิปัญญา[แก้ไข]
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นทุนที่ทรงคุณค่าของไทย จึงถือกําเนิดและถูกใช้ในอดีตอย่าง กว้างขวาง แต่ถูกมองข้ามไปในยุคของการพัฒนาตามกระแสตะวันตก ด้วยเหตุผลของการก้าวสู่ความ ทันสมัย หากแต่เมื่อประเทศชาติอยู่ในภาวะวิกฤต ภูมิปัญญาท้องถิ่นกลับถูกนํามาใช้อย่างเป็นผล การนําภูมิปัญญาท้องถิ่นไปใช้ประโยชน์ ยังสร้างความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาซึ่งเป็นมรดกของชาติอีกด้วย
วัตถุประสงค์ของภูมิปัญญา[แก้ไข]
1. การอนุรักษ์ โดยการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่า และเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น 2. การฟื้นฟู โดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย เช่นการจักสานไม้ไผ่ มาทำให้มีคุณค่าและเห็นความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของคนในท้องถิ่น 3. การพัฒนา ควรริเริ่มสร้างสรรค์และปรับปรุงภูมิปัญญาให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกิดประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยใช้ภูมิปัญญาเป็นพื้นฐานในการรวมกลุ่มการพัฒนาอาชีพควรนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาช่วยเพื่อต่อยอดใช้ในการผลิต การตลาด และการบริหาร ตลอดจนการป้องกันและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 4. การถ่ายทอด โดยการนำภูมิปัญญาที่ผ่านมาเลือกสรรกลั่นกรองด้วยเหตุและผลอย่างรอบคอบและรอบด้าน แล้วไปถ่ายทอดให้คนในสังคมได้รับรู้ เกิดความเข้าใจ ตระหนักในคุณค่า คุณประโยชน์และปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม โดยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ 5. ส่งเสริมกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาภูมิปัญญาของชุมชนต่าง ๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง 6. การเผยแพร่แลกเปลี่ยน โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาและวัฒนธรรมอย่างกว้างขวาง โดยให้มีการเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นต่างๆ ด้วยสื่อและวิธีการต่างๆ อย่างกว้างขวาง รวมทั้งกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก 7. การเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน ผู้ดำเนินงานให้มีโอกาสแสดงศักยภาพด้านภูมิปัญญา ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ มีการยกย่องประกาศเกียรติคุณในลักษณะต่าง ๆ
กระบวนการทำงานของภูมิปัญญา[แก้ไข]
ภาพที่ 1 สุ่มไก่
1. การจักรสานสุ่มไก่ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ 1. ไผ่ตะเกียบ คุณสมบัติมีความเหนียวและอ่อนตัวได้ดี ไผ่ตะเกียบที่นำมาจักสานสุ่มไก่มี อายุประมาณ 5 ปีแหล่งที่มาเก็บหาภายในหมู่บ้านซึ่งมีเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่รับซื้อ จากหมู่บ้านอื่น ราคาลำละ 4 บาทแต่ละลำมีความยาวประมาณ 8 ม.
ภาพที่ 2 ไผ่ตะเกียบ
2. เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ และเลื่อยตัดปากสุ่มเมื่อสานสุ่มไก่
ภาพที่ 3 เลื่อยคันธนู
3. มีดพร้า ใช้ผ่าลำไผ่และเหลาจักตอกไผ่เพื่อแยกส่วนในและส่วนผิวของไผ่ ซึ่งส่วนผิวที่ใช้งานจะมีความเหนียว ง่ายต่อการจักสาน
ภาพที่ 4 มีดพร้า
4. ค้อน ใช้ตอกตะขอข้อไผ่หลักหมุดยึดส่วนหัวสุ่มไก่เมื่อสานขึ้นรูป
ภาพที่ 5 แสดงการจักตอกไผ่
วิธีการจักสาน
ภาพที่ 6 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก
ภาพที่ 5 7 จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่มีตาไผ่)
ภาพที่ 8 สานตอกยาวและตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด
ภาพที่ 9 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ
ผู้นำภูมิปัญญามาใช้จักสานสุ่มไก่ ได้แก่นาง ประนอม ขรพัตด์ อายุ 66 อยู่บ้านเลขที่ 64 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำการจักสานมา 10 ปี มีการทำสุ่มไก่หลายขนาด แต่ละขนาดมีราคาแตกต่างกัน ขนาดใหญ่ราคา 200 บาท ขนาดกลางราคา180 บาท ขนาดเล็กราคา 150 บาท ขนาดเล็กสุดราคา 140 บาท มีรายได้ต่อปีประมาณ 40,000 บาท
ภาพที่ 10 เปลไม้ไผ่
2. การทำเปลไม้ไผ่ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ ไผ่สีสุก จัดเป็นไผ่พื้นบ้านที่นิยมปลูกตามหัวไร่ปลายนา เป็นไผ่แตกกอเร็ว หน่อ และลำต้นมีขนาดใหญ่ นิยมใช้หน่อทำอาหาร แปรรูปเป็นหน่อไม้ดองหรือหน่อไม้ส้ม และใช้ลำไผ่ทำเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ
ภาพที่ 11 ไผ่สีสุก
ภาพที่ 12 ลวดขาว, ลวดดำ, กรรไกรตัดเหล็ก, คีม, มีด
ภาพที่ 13 เชือกไนล่อน, ปอพลาสติก
ภาพที่ 14 แชลคสีเหลือง
ภาพที่ 15 นำไม้ไผ่สีสุกมาตัดตามความยาว 3 เมตร
ภาพที่ 16 ผ่าออกส่วนที่เหลือครึ่งหนึ่งจะแบ่ง ให้ได้ 9 ซี่
ภาพที่ 17 นำเชือกผูกหัว-ปลายให้มีลักษณะโค้งนาพิมพ์เหล็กมามัดไว้ 3 ระยะ
ภาพที่ 18 สานจนเสร็จ แล้วผ่าสายยางแล้วนามาครอบกันขอบทั้ง 2 ข้าง
ภาพที่ 19 นำเปลที่เสร็จแล้ว มาทาแชลคสีเหลือง เป็นอันเสร็จสมบูรณ์
ผู้นำภูมิปัญญามาใช้จักสานแปลไม้ไผ่ ได้แก่นาง จันทร์รอน มีศรีสวัสดิ์ อายุ 58 อยู่บ้านเลขที่ 56/3 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำการจักสานมา 4 ปี มีรายได้ต่อปีประมาณ 40,000 บาท ได้มีการค้นพบการทำแปลไม้ไผ่เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2558
ภาพที่ 20 แคร่ไม้ไผ่
3. การทำแคร่ไม้ไผ่ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ 1. ไผ่สีสุก (ดังรูปที่ 11 ) 2. เลื่อยคันธนู ใช้เลื่อยตัดข้อปลายลำไผ่ ให้ได้ขนาดและความยาวตามที่ต้องการในการทำแคร่(ดังรูปที่ 3 ) 3. สิ่ว, สว่าน, มีดโต้และตลับเมตร
ภาพที่ 21 สิ่ว, สว่าน, มีดโต้ และตลับเมตร
ภาพที่ 22 เครื่องยิงตะปู, ปั้มลม
ภาพที่ 23 น้ำยากำจัดมอดแมลง
วิธีการจักสาน
ภาพที่ 24 เลื่อยไม้ไผ่ความยาว 1.75 ซ.ม. และเหลาส่วนที่เกินหรือเหลาให้เรียบ
ภาพที่ 25 ใช้ตัวเครื่องผ่าไม้ไผ่ และเหลาให้เรียบ
ภาพที่ 26 ไม้ไผ่ที่เหลาสำเร็จแล้ว ใช้สิ่วเจาะให้เป็นรูสี่เหลี่ยม 7 รู
ภาพที่ 27 นำแผ่นไม้ไผ่มาตอกเข้ากับโครงสร้าง
ภาพที่ 28 นำมาใส่ขาแคร่แล้วตอกให้แน่น
ภาพที่ 29 ทาน้ำยากำจัดมอดแมลง เป็นอันเสร็จ
ผู้นำภูมิปัญญามาใช้ในการทำแคร่ไม้ไผ่ ได้แก่นายเทเวศ พลแก้ว อายุ 63 อยู่บ้านเลขที่ 809/1 หมู่ 1 ตำบลคุยบ้านโอง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทำแคร่ไม้ไผ่มา 5 ปี มีการทำแคร่ไม่ไผ่หลายขนาด แต่ละขนาดมีราคาแตกต่างกัน ขนาดใหญ่มีขนาด 1.50x2 เมตรราคา 600 บาท ขนาดกลางมีนาด1.20x2 เมตรราคา 500 บาท ขนาดเล็กมีขนาด 1x2 เมตรราคา 400 บาท
กระบวนการนำภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้[แก้ไข]
1. การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการจักสานให้คงอยู่คู่คนไทยต่อไป 2. การประยุกต์ใช้ คือ การนำวัตถุดิบที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น สุ่มไก่ แคร่ไม้ไผ่ เปลไม้ไผ่ และอื่น ๆ 3. การนำมาสร้างรายได้ เช่น การขายส่ง ขายปลีก หรืองานหัตถกรรมหมู่บ้าน (OTOP)
ผลที่ได้จากภูมิปัญญา[แก้ไข]
คือ ประชาชนทั่วไปและผู้ที่ประกอบธุรกิจการจักสาน และผู้ที่สนใจศึกษาค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาการจักสานไม้ไผ่
สิ่งทีต้องคำนึงในการนำภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้[แก้ไข]
1. ความรู้ ความสามรถและความเข้าใจ 2. วัสดุ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ 3. ความต้องการของผู้ที่จะนำภูมิปัญญาไปใช้
ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]
วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]
วันจันทร์ ที่ 7 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2562 ณ หมู่บ้าน นาป่าแดง ต.คุยบ้านโอง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร
วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]
วันอังคาร ที่ 29 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2562 วันศุกร์ ที่ 1 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2562
ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]
นางสาววีรวรรณ แจ้งโม้ นางสาววิจิตรา มาน้อย นางสาวมัณฑนา แสงเมือง นาย นิรัติศัย เฟื่องอิ่ม นางสาวสุดารัตน์ แก้วทรัพย์ นางสาวสาวิกา บัวบาน
คำสำคัญ(Tag)[แก้ไข]
สุ่มไก่, แคร่ไม้ไผ่, เปลไม้ไผ่