ฐานข้อมูล เรื่อง หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
         หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ อยู่ในตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ขัดสมาธิราบ พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิ อยู่บริเวณพระนาภี พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่ ฐานมีบัวรอง ทั้งบัวคว่ำและบัวหงาย มีลักษณะเป็นเนื้อดิน เดิมเป็นสีดำแต่ชาวบ้านได้จัดให้มีการปิดทอง ลักษณะภายในโปร่ง มีพุทธลักษณะที่งดงามยิ่งเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำแพงเพชรและหัวเมืองฝ่ายเหนือ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน จากการบอกเล่าพบหลวงพ่อในดินลักษณะคล้ายจอมปลวกจึงขุดกันออกมา มองดูคล้ายท่านอยู่ในอุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปาฏิหาริย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ หลวงพ่ออุโมงค์ เป็นที่พึ่งทางใจของชาวนครชุมและใกล้เคียง มีความศักดิ์สิทธิ์เรื่องความสัตย์ ชาวบ้านนิยมมากล่าวคำสาบานถ้าผิดคำสาบาน ก็จะเป็นไปตามคำสัญญานั้น จนเป็นที่เลื่องลือ และยังขอพรได้ดั่งประสงค์ มักจะมีผู้มาแก้บนด้วยลิเก พวงมาลัย และหัวหมู ปัจจุบันชมรมพระเครื่องแห่งประเทศไทยได้ยกย่องหลวงพ่ออุโมงค์ให้เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ทางวัดสว่างอารมณ์ได้จัดให้มีการสมโภชในวันเพ็ญ เดือน 4 
1 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 1 หลวงพ่ออุโมงค์

2 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 2 หลวงพ่ออุโมงค์

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

ชื่อเรียก[แก้ไข]

         หลวงพ่ออุโมงค์

ศาสนา[แก้ไข]

         พุทธ

ที่ตั้ง[แก้ไข]

         วัดสว่างอารมณ์ หมู่ 6 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด 13.7457248 ลองติจูด 100.1805057

หน่วยงานที่ดูแล[แก้ไข]

         วัดสว่างอารมณ์ / คณะกรรมการชาวบ้านตำบลนครชุม

สถานการณ์ขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         -

วัน/เดือน/ปี ก่อสร้าง[แก้ไข]

         สร้างราวพุทธศักราช 1700 – 1800 หรือประมาณ 700-800 ปี

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนองค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์หนึ่ง แต่ที่มีลักษณะคล้ายสิงห์สามน่าจะเกิดจากการบูรณะ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในวิหารริมคลองสวนหมาก มีลักษณะเป็นเนื้อดินสีดำ ข้างในโปร่งชาวบ้านจึงรวมกันปิดทอง มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชรมิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน 
         ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือเมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คนมาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช 1600 อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป)
         ข้อสันนิษฐานข้อที่สองคือ เมื่อพระเจ้าชัยศิริ มาสร้างเมืองแปบ ในเขตกำแพงเพชร ได้สร้าง หลวงพ่ออุโมงค์ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระสมัยเชียงแสนที่ปากคลองสวนหมาก หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงกว่า 3 เมตร ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิอยู่บริเวณพระนาภี พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่ ฐานมีบัวรอง ทั้งบัวคว่ำและบัวหงาย ฐานจมอยู่ระดับเดียวกับพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา (ศรีศักร วัลลิโภดม) งดงามอย่างที่สุด
         ผู้เก็บข้อมูลสรุปได้ว่า หลวงพ่ออุโมงค์เป็นหลวงพ่อเชียงแสนขนาดใหญ่ เป็นศิลปะเชียงแสน สิงห์หนึ่ง แต่ที่มีลักษณะคล้ายสิงห์สามน่าจะเกิดจากการบูรณะ พบที่วัดสว่างอารมณ์ ริมคลองสวนหมาก มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชรมิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน   ข้อสันนิษฐานคือ เมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คนมาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช 1600 อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่ พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไปและข้อสันนิษฐานข้อที่สองคือเมื่อพระเจ้าชัยศิริ มาสร้างเมืองแปบ ในเขตกำแพงเพชร ได้สร้างหลวงพ่ออุโมงค์ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระสมัยเชียงแสนที่ปากคลองสวนหมาก
         หลวงพ่อบุญมีและหลวงพ่อทองหล่อ อดีตเจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ ได้เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมหลวงพ่ออุโมงค์อยู่ริมคลองสวนหมาก พบในลักษณะคล้ายจอมปลวกใหญ่มีลักษณะประหลาด คือมีลักษณะดินหุ้มไม่มิด ทางด้านที่หันหน้าสู่คลองสวนหมากมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมีจึงขอให้หลานชายซึ่งขณะนั้นเป็นกำนันชิน โตพุ่ม นำราษฎร และควาญช้างช่วยกันถางเถาวัลย์ออก จึงพบพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ เห็นพระพักตร์เหมือนอยู่ในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปาฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ หลังจากนั้นได้ทำวิหารถวายหลวงพ่ออุโมงค์ ปิดทองหลวงพ่ออุโมงค์ใหม่ทั้งองค์ หลวงพ่อทองหล่อเล่าต่อไปว่า พระพุทธรูปหลวงพ่ออุโมงค์นี้ศักดิ์สิทธิ์นัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่ขอในเรื่องการสอบบรรจุ การศึกษาต่อ โดยมักจะแก้บนด้วยพวงมาลัยทั้งสดและแห้ง มีผู้ประสบความสำเร็จบ่อยครั้ง ที่แปลกคือบริเวณเศียร คือพระเมาลีของหลวงพ่ออุโมงค์สามารถเปิดได้เหมือนฝาหม้อ ในพระเศียรมีน้ำมนตร์อยู่คือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก ปัจจุบันได้ปิดไปแล้วเพราะมีผู้มาลักลอบตักน้ำมนตร์บ่อยๆ และปีนขึ้นไปบนพระอังสาของหลวงพ่ออุโมงค์                        
         หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเมืองกำแพงเพชร มีพุทธลักษณะที่งดงามหาที่เปรียบมิได้ ถ้ามากำแพงเพชรควรจะได้มีโอกาสไปสักการบูชาหลวงพ่ออุโมงค์จะเป็นสิริมงคลต่อตนเองอย่างที่สุด ชาวปากคลองเชื่อว่าในองค์หลวงพ่ออุโมงค์ประดิษฐานพระบรมสารีริธาตุ เล่ากันว่าวันดีคืนดีพระบรมสารีริกธาตุจะแสดงปาฏิหารย์เป็นดวงไฟกลมโต ลอยวนรอบวิหารหลวงพ่ออุโมงค์ ปัจจุบันนี้หลวงพ่ออุโมงค์ได้รับเลือกจากชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นพระพุทธรูปสักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดกำแพงเพชร 
         ผู้เก็บข้อมูลสรุปได้ว่า แต่เดิมหลวงพ่ออุโมงค์อยู่ริมคลองสวนหมาก พบในลักษณะคล้ายจอมปลวกใหญ่มีลักษณะประหลาด คือมีลักษณะดินหุ้มไม่มิด ทางด้านที่หันหน้าสู่คลองสวนหมากมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมีจึงขอให้หลานชายซึ่งขณะนั้นเป็นกำนันชิน โตพุ่ม นำราษฎร และควาญช้างช่วยกันถางเถาวัลย์ออก จึงพบพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ เห็นพระพักตร์เหมือนอยู่ในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ สันนิษฐานว่าคงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปราฏิหารย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ หลังจากนั้นได้ทำวิหารถวายหลวงพ่ออุโมงค์ ปิดทองหลวงพ่ออุโมงค์ใหม่ทั้งองค์
         ประวัติหลวงหลวงพ่อบุญมี  ธมฺมสโร เนื้อเหมือนเนื้อ ถ้าไม่เอื้อก็เหมือนเนื้อกลางป่า เนื้อไม่เหมือนเนื้อ ถ้าเอื้อ ถ้าเฝี้อ ก็เหมือนเนื้ออาตมา นี่คือวาถะของพระภิกษุชาวมอญ ที่มาธุดงค์จากจังหวัดตากมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้อง แห่งนี้ มีครอบครัวน้องสาวชื่อแม่สายทอง สะใภ้ของตระกูลโตพุ่ม เป็นโยมอุปัฏฐาก ท่านเป็นผู้สังเกตุเห็นจอมปลวกประดริมคลองสวนหมาก เมื่อแผ้วถางก็พบวิหารคล้ายอุโมงค์ มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ภายในต่อมาท่านได้เป็นเจ้าโอวาสองค์แรกของวัดสว่างอารมณ์ ท่านมีเมตตาสูง ในสมัยของท่านนั้น โรงครัวจะมีอาหารสำหรับคนเดินทางไม่เคยขาด และท่านมีฌานถึงขั้นวาโยกสิณ เรื่องจริงมีว่า ในปี 2485 ไฟไหม้ตลาดนครชุมลามมาตามบ้านเรือนริมคลอง ถึงบ้านเลขที่ 059 ท่านได้ไปเพ่งกสิณใกล้บริเวณนั้นโบอกพัดในมือ 3 ครั้ง ลมก็เปลี่ยนทิศ ไฟก็หยุดลุกลามท่านมรณภาพในท่านั่งสมาธิ เมื่อมีการฌาปณกิจท่าน เหรียญรูปเหมือนของท่านที่ทำแจกในงาน ก็มีพุทธคุณแคล้วคลาด ปลอดภัยอีกด้วย
3 หลวงพ่อบุญมี.jpg

ภาพที่ 3 หลวงพ่อบุญมี ธมฺมสโร เจ้าอาวาสองค์แรงของวัดสว่างอารมณ์

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม[แก้ไข]

4 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 4 หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์

         ได้อธิบายไว้ว่า พระเกศาเป็นก้นหอย พระเกตุมาลาเป็นดอกบัวตูม พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรโต เหลือบต่ำ พระนาสิกงุ้ม พระหนุเป็นปม มีเส้นปล้องพระศอสามเส้น 
5 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 5 หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์

         พระโอษฐ์เล็ก อวบอ้วน พระอุระนูน ครองจีวรห่มเฉียงไปทางด้านขวา ขัดสมาธิราบ ฐานมีบัวรอง ทั้งบัวคว่ำและบัวหงาย
6 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 6 หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงกว่า 3 เมตร ขัดสมาธิราบพระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิอยู่บริเวณพระนาภี พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่ ฐานมีบัวรอง ทั้งบัวคว่ำและบัวหงาย พระเมาลีของหลวงพ่ออุโมงค์สามารถเปิดได้เหมือนฝาหม้อ

บุคคลเกี่ยวข้อง[แก้ไข]

         พระครูโอภาสวชีรานุกูล เจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ รองเจ้าคณะอำเภอเมืองกำแพงเพชร

วิธี/ขั้นตอน/กระบวนการในการสะการะ[แก้ไข]

         เข้าไปในวิหารหลวงพ่ออุโมงค์ จะพบกับจุดกราบไหว้ หน้าหลวงพ่ออุโมงค์องค์จำลอง โดยการกราบไหว้หรือสักการะจะใช้ธูปทั้งหมด 3 ดอก และกล่าวคาถาบูชาหลวงพ่ออุโมงค์ จะมีคาถาบูชาหลวงพ่ออุโมงค์อยู่ด้านหน้าของหลวงพ่ออุโมงค์ หรือ คนส่วนมากจะกราบไหว้บูชาหลวงพ่ออุโมงค์ด้วยพวงมาลัยดอกไม้สด หรือพวงมาลัยดอกไม้แห้ง 

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

วันเดือนปีสำรวจ[แก้ไข]

         22 สิงหาคม 2563

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         27 สิงหาคม 2563

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นายเทพทัต  ทองคุ้ม
         นางสาวพรรณพร  เทวโลก
         นายพันธการต์  ฤมิตร

คำสำคัญ (Tag)[แก้ไข]

         หลวงพ่ออุโมงค์, วัดสว่างอารมณ์, จังหวัดกำแพงเพชรร, ความเป็นมา