ฐานข้อมูล เรื่อง อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
ภาพที่ 1 ป้ายแสดงทางเข้าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า.jpg

ภาพที่ 1 ป้ายด้านหน้าทางเข้าอุทยาน

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

ชื่อเรียกทางการ[แก้ไข]

         อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า (Klongwangchao National Park)

ชื่ออื่น ๆ[แก้ไข]

         -

ที่ตั้ง/ที่ค้นพบ[แก้ไข]

         446 หมู่ 22 ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร

พิกัดที่ตั้งทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อยู่ในพื้นที่อำเภอคลองลาน อำเภอโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร มีที่ตั้งอยู่ระหว่างพิกัด UTM ที่ 1780000 ถึง 1830000 N และระหว่างพิกัด UTM ที่ 500000 E ถึง 530000 E 
         - ทิศเหนือ จดคลองแมะยะมาและคลองแม่ละเมา ซึ่งเป็นคลองที่แบ่งเขตระหว่าง อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าและป่าสงวนแห่งชาติป่าประดางก์และป่าวังเจ้า
         - ทิศใต้ จดเขตอุทยานแห่งชาติคลองลาน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
         - ทิศตะวันออก จดคลองสวนหมาก ซึ่งเป็นคลองที่แบ่งเขตระหว่างอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า และป่าสวนหมาก 
         - ทิศตะวันตก จดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก 

สภาพธรณีวิทยา[แก้ไข]

         ลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จากข้อมูล กรมทรัพยากรธรณีพบว่า หินในอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ประกอบด้วย ชุดหิน 2 ชนิดคือ หินอัคนี หินตะกอน และหินแปร ซึ่งในอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จะพบหินตะกอนและหินแปรมากที่สุด ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของเนื้อหิน จากเดิมไปเป็นหินชนิดใหม่ใต้ผิวโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงความดัน และอุณหภูมิ ในสภาพที่ยังเป็นของแข็ง อาจมีส่วนประกอบใหม่มาเพิ่มหรือไม่ ก็ได้ มีเนื้อที่รวม 507.90 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 68.5 9 และหินอัคนี เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืด ที่ดัน ขึ้นมาสู่ผิวโลก มีทั้งชนิดที่มีผลึก และไม่มีรูปผลึก โดยเฉพาะหินภูเขาไฟจะไม่มีรูปผลึก ชนิดที่มีรูปผลึกขนาดของผลึกจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการเย็นตัวของหินหนืด มีเนื้อที่รวม 232.64 ตารางกิโลเมตร  คิดเป็นร้อยละ 31. 41 ดังในตารางที่ 1
ลำดับที่ ชุดหิน พื้นที่ (ไร่) พื่นที่ (ตารางกิโลเมตร) พื้นที่ (ร้อยละ)
1 หินอัคนี 317,473.50 507.90 68.59
2 หินตะกอนและหินแปร 145,399.38 232.64 31.41
รวม 462,836.88 740.54 100

ตารางที่ 1 ลักษณะทางธรณีวิทยาจำแนกชุดหินของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

         ลักษณะทางธรณีวิทยาจำแนกตามชนิดหินของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จำนวน 5 ชนิด และพบว่าส่วนใหญ่เป็นหินชนิด PE มากที่สุด ซึ่งเป็นหินในยุค PRE CAMBRIAN  มีอายุมากกว่า 542 ปี มีลักษณะหิน แปรเกรดสูง เนื้อหยาบพวกหินไนส์ หินชีสต์ และหินแคลก์-ซิลิเกต มีเนื้อที่รวม 575.12 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ64.04  รองลงมาคือชนิดหินTRGT หินในยุค TRIASSIC มีอายุระหว่าง 200-250ปี มีลักษณะเป็นหินอัคนีชนิด หินไบโอไทต์แกรนิต เนื้อปานกลางถึงหยาบ เนื้อเป็นดอก หินมัสโคไวต์แกรนิตเนื้อละเอียด มีเนื้อที่รวม 312.94 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 34.84 และชนิดหินที่พบน้อยที่สุดคือQC เป็นตะกอนเศษหินเชิงเขาและตะกอนผุอยู่กับที่ กรวด ทราย ศิลาแลงและเศษหิน มีเนื้อที่รวม 3.55 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 0.39 ของพื้นที่ทั้งหมดในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ดังแสดงในตารางที่ 2 
ลำดับที่ ชนิดหิน คำอธิบาย พื้นที่ (ไร่) พื่นที่ (ตารางกิโลเมตร) พื้นที่ (ร้อยละ)
1 E หินในยุค Cambrian มีอายุระหว่าง 490-540 ล้านปี มีลักษณะเป็นหินทรายเนื้อควอตซ์ เป็นแถบ ชั้นหนามาก และหินทรายอาร์โคส 31414.56 50.26 6.79
หินควอร์ต สีน้ำตาลแกมเหลือง
2 O หินในยุค Ordovician มีอายุระหว่าง 440-500 ล้านปี มีลักษณะเป็นหินปูน หินปูนเนื้อดิน สีเทาด้าน เนื้อแน่น แข็ง มีซากดึกดำบรรพ์มากมาย 79443.13 127.11 17.16
3 PE หินในยุค Cambrian มีอายุมากกว่า 540 ล้านปี มีลักษณะหินแปลเกรดสูง เนื้อหยาบพวกหินไนส์ หินชีสต์ และหินแครลก์ซิลิเกต 100320.63 160.51 21.68
4 Qt หินในยุค Quaternary มีอายุระหว่าง0.01-1.8 ล้านปี มีลักษณะเป็นตะกอนตะพักลำน้ำ กรวด ทราย ทรายแป้ง ดินเหนียวและดินศิลาแลง 57.06 0.09 0.01
5 SDCtp Silurian-Devonian-Carboniferous มีอายุ 280-440 ล้านปี ลักษณะเป็นหินดินดาน สีดำ หินเชิร์ต และหินทรายแป้ง สีเทาเข้มเนื้อปูนผสม 106202.50 169.92 22.95
หินปูนแสดงชั้นบางและเป็นก้อน
6 Trgr หินในยุค Triassic มีอายุระหว่าง 200-250 ล้านปี มีลักษณะเป็นหินอัคนี ชนิดหินไบโอไทต์แกรนิต เนื้อปานกลางถึงหยาบ เนื้อเป็นดอก 145399.38 232.64 31.41
หินมัสโคไวต์แกรนิต เนื้อละเอียด
รวม 462837.26 740.54 100

ตารางที่ 2 ลักษณะทางธรณีวิทยาจำแนกตามชนิดหินของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

ลักษณะดิน
         อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีลักษณะดิน 2 แบบ คือ 
         1. SIOPE COMPLEX เป็นดินตื้นถึงลึก มีการระบายน้ำที่ดีถึงดีเกินไป พบในสภาพพื้นที่ลาดชันมาก เช่น เนินเขาหรือเทือกเขา ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ มีพื้นที่ประมาณ 683 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 91.4 3 ของ พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
         2. SKELETAL HAPLUSTULTS/SKELE PALEUSTULTS เป็นดินค่อนข้างลึกมีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง เป็นดินเนื้อละเอียดถึงละเอียด ปานกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง พบในสภาพพื้นที่เกือบราบ หรือลาดชันเล็กน้อย และมักอยู่ใกล้ลำน้ำ ครอบคลุมพื้นที่เล็กน้อย ทางด้าน ทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ มีพื้นที่ประมาณ 64 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8.57 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาต
         สำหรับการศึกษาทางด้านสมรรถนะที่ดิน (LAND CAPABILITY) เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตร และความเหมาะสมของที่ดิน สำหรับการปลูกพืชต่างๆ พบว่าในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ มีข้อจำกัดมากมายที่ทำให้พื้นที่ไม่มีความเหมาะสมสำหรับการเกษตร เช่น มีความลาดชันสูงมาก มีการชะล้างพังทลายของดินสูง เป็นดินตื้น ดินมีการอุ้มน้ำต่ำ และพบหินโผล่ได้ทั่วไปในบริเวณอุทยานแห่งชาติ ดังนั้น ซึ่งควรใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรืออนุรักษ์ไว้เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารแทน 

ประเภททรัพยากร[แก้ไข]

        - ทรัพยากรน้ำ พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าเป็นส่วนหนึ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำหลักลุ่มน้ำปิง แบ่งเป็นกลุ่มน้ำสาขาย่อยของลุ่มน้ำปิงตอนล่าง 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำคลองวังเจ้า และลุ่มน้ำคลองสวนหมาก
        - ทรัพยากรดิน อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีลักษณะดิน 2 แบบ คือ 1.SIOPE COMPLEX เป็นดินตื้นถึงลึก มีการระบายน้ำที่ดีถึงดีเกินไป  2.SKELETAL HAPLUSTULTS/SKELE PALEUSTULTS เป็นดินค่อนข้างลึกมีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง เป็นดินเนื้อละเอียดถึงละเอียด ปานกลาง
        - ทรัพยากรป่าไม้ สังคมพืชที่ปกคลุมอยู่มี 5 ชนิด คือ ป่าดิบเขา (HILL EVERGREEN FOREST) ป่าเบญจพรรณ (MIXED DECIDUOUS  FOREST) ป่าดิบแล้ง (DRY EVERGREEN FOREST) ป่าเต็งรัง (DRY DIPTEROCARP FOREST) และป่าสน (PINE FORESR)  		
         - ทรัพยากรสัตว์ป่า จำแนกสัตว์ออกได้เป็น 5 ประเภท สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำ นก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา และแมลงป่าไม้

สถานการณ์ขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ได้รับการจัดตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า พ.ศ.2533 เล่มที่ 107 ตอนที่ 158 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ.2533 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 63 ของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 747 ตารางกิโลเมตร หรือ 466,875 ไร่

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
         หน่วยงานในพื้นที่
             หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ วจ.1 (เกาะร้อย)
             หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ วจ.2 (คลองมดแดง)
             หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ วจ.3 (ปางสังกะสี)
             หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ วจ.4 (แม่ยะมา)
             หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ วจ.5 (โละโคะ)
             หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ วจ.6 (ผาผึ้ง)
ภาพที่ 2 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช.jpg

ภาพที่ 2 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพที่ 3 สำนักงานอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า.jpg

ภาพที่ 3 สำนักงานอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

ข้อมูลจำเพาะทรัพยากรธรรมชาติ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]

         ด้วย ฯพณฯ พันโทสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ไปตรวจราชการในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร เกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2531 ได้บันทึกสั่งการให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2531 มีมติเห็นสมควรกำหนดบริเวณป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพธรรมชาติให้อยู่คงเดิม
         กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กษ 0713/1499 ลงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2531 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1914/2531 ลงวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2531 ให้นายวิฑูรย์ อุรัชโนประกร นักวิชาการป่าไม้ 4 สำรวจจัดตั้งป่าบริเวณดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดตากเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจตามหนังสืออุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ กษ 0713(วจ)/11 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 รายงานว่าพื้นที่ป่าคลองวังเจ้า ป่าคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 488 (พ.ศ. 2515) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 175 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 และป่าประดาง-วังเจ้า อำเภอเมืองตาก ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2507) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 116 ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2507 มีสภาพภูมิประเทศเป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ  ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าประดาง และป่าวังก์เจ้า ในท้องที่ตำบลเชียงทอง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ในท้องที่ตำบลโกสัมพี อำเภอเมืองกำแพงเพชร และตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 158 ลงวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2533 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 63 ของประเทศ 

อายุทรัพยากร'[แก้ไข]

         -
ภาพที่ 4 ส่วนจัดแสดงในโถงของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว.jpg

ภาพที่ 4 ส่วนจัดแสดงในโถงของศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อช.คลองวังเจ้า

ข้อมูลจำเพาะทางวิทยาศาสตร์[แก้ไข]

         1. ป่าเบญจพรรณ (Mixed Declduous Forest) 
         2. ป่าเต็งรัง (Declduous Dipterocarp Forest)
         3. ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
         4. ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)
         5. ป่าเขาสน (Pine Forest) 

ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม'[แก้ไข]

         อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ.2533 ซึ่งอุทยานแห่งชาติเป็นพื้นที่ คุ้มครองรูปแบบหนึ่งที่รัฐ โดยกรมป่าไม้จัด ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติ อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2504 เพื่อคุ้มครอง รักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ เช่น พันธุ์ไม้ สัตว์ป่า และของป่า  ตลอดจนทิวทัศน์ป่าไม้ ภูเขา ให้คงอยู่ในสภาพธรรมชาติเดิม มิให้ถูกทำลายหรือเปลี่ยนแปลงไป เพื่อเป็นแหล่งศึกษาวิจัยให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติ ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อน หย่อนใจของประชาชน
         - ทรัพยากรพืช
         อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีพื้นที่ประมาณ 747 ตารางกิโลเมตร มีสภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง วางตัวในแนวทิศเหนือทิศใต้ ทางด้านทิศตะวันตกของพื้นที่ ยอดเขาสูงที่สุด ประมาณ 1,980 เมตร  จากระดับน้ำทะเลปานกลาง สภาพภูมิประเทศจะค่อยๆ หน้าเทลงไปทางทิศตะวันออก และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จุดต่ำสุดอยู่บริเวณปากคลองสวนหมาก ประมาณ 200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพื้นที่ป่าปกคลุมทั้งหมดประมาณ 308.32 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณร้อยละ38.68 ตารางกิโลเมตร  เป็นพื้นที่เกษตรกรรม และชุมชนที่อยู่ภายใต้พื้นที่อุทยาน สังคมพืชที่ปกคลุมอยู่มี 5 ชนิด คือ ป่าดิบเขา(HILL EVERGREEN FOREST) ป่าเบญจพรรณ(MIXED DECIDUOUS  FOREST) ป่าดิบแล้ง(DRY EVERGREEN FOREST) ป่าเต็งรัง(DRY DIPTEROCARP FOREST) และป่าสน(PINE FORESR)  สัดส่วนการปกคลุมพื้นที่ ของสังคมพืชทั้ง 5 ชนิด ป่าเบญจพรรณ มีพื้นที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64.56 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า  ป่าดิบเขามีพื้นที่ปกคลุมรองลงมาคือ ร้อยละ  20.53 ส่วนป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรังและป่าสนมีพื้นที่ปกคลุมเพียงเล็กน้อย ปรากฏการกระจายอยู่เป็นหย่อม คิดเป็นพื้นที่ปกคลุมร้อยละ 7.83,1.42 และ 0.48 ของพื้นที่อุทยานตามลำดับ 
             1. สังคมพืชป่าเบญจพรรณ
             ป่าเบญจพรรณหรือป่าผสมผลัดใบ เป็นสังคมพื้นที่ปกคลุมพื้นที่อุทยาน แห่งชาติคลองวังเจ้ามากที่สุด ตั้งแต่ระดับความสูงต่ำ สูตรของพื้นที่ประมาณ 200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ทางทิศตะวันออกติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ตลอดแนวเหนือใต้ ขึ้นไปบนภูเขาสูงชัน ทางด้านทิศตะวันตกถึงระดับความสูงประมาณ 400 ถึง 1000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ต่อเนื่องกับป่าดิบเขา โดยมีป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ฝากศูนย์กระจายแทรกอยู่เป็นหย่อม 
             ป่าเบญจพรรณในอุทยานแห่งชาติ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดย่อย คือป่าเบญจพรรณที่มีไม้สัก(MIXED DECIDUOS FOREST WITH TEAK)  และป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สัก (MIXED DECIDUOUS FOREST WIHOUT TEAK) ป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักขึ้นอยู่ในพื้นที่ ที่มีความลาดชัน ของพื้นที่ที่ไม่สูงมาก ทางด้านทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ คลองวังเจ้า ตั้งแต่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ลงมาจนถึง บริเวณหน่วยพิทักษ์ฯ คลองมดแดงเดิมเป็นป่าสักที่อุดมสมบูรณ์ มีไม้สักขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น แต่เนื่องจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เคยผ่านการทำร้ายมาแล้ว ไม้สักจึงถูกตัดออก ไป นาเกลือพื้นที่ที่มีไม้สักอยู่อย่างสมบูรณ์ไม่มากนัก บริเวณใกล้เคียงบ้านวุ้งกระสัง ไม้สักเป็นไม้เด่นมีรกฟ้า แดง ประดู่ และมะกอกเกลื้อน ปะปนอยู่ ส่วนป่าเบญจพรรณที่ไม่มีไม้สักขึ้น อยู่เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ  คลองวังเจ้า พันธุ์ไม้เด่น ได้แก่ พลวง ก่อแพะ เต็งรัง รักใหญ่ เสลา โมกมัน สะทิบ กางขี้มอด ลำไยป่า พลับพลา ตะคร้ำ และปอตูบหูช้าง เป็นไม้ดัชนี ของสังคมพืชชนิดนี้ นอกจากไม้ยืนต้นแล้ว ยังมีไม้ไผ่หลายชนิด ขึ้นปะปนอยู่ด้วย เช่นไผ่ซางนวล ไผ่ไร่ เป็นต้น
              2. สังคมพืชป่าดิบเขา
              ป่าดิบเขา (HILL EVERGREEN FOREST) เป็นสังคมพืชที่มีเนื้อที่ปกคลุมมากเป็นอันดับ 2 รองจากป่าเบญจพรรณ พบกระจายบนเขาสูงชันทางด้านทิศตะวันตก ตลอดแนวเหนือใต้ ของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ตั้งแต่ระดับความสูง ประมาณ 1000 เมตรเมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางถึงยอดเขาสูงสุดของอุทยาน ที่สูงประมาณ 1898 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ถัดขึ้นไปจากสังคมพืชป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขาในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดเด่นหลายชนิด ขึ้นผสมกันอยู่ ชนิดที่สำคัญๆ ได้แก่ ก่อนเดือย ก่อใบเลี่ยม ฝาละมี ค่าหด สารภีดอย พะวา โพบาย ก่อหม่น ก่อแดง นูดต้น เหมือด มุ้นหลวง ทะโล้และตำเสาหนู เป็นต้น ไม้พื้นล่างค่อนข้าง แน่นทึบ ประกอบด้วย พันธุ์ไม้จำพวก เฟิร์น ปอ กระวาน อ้อ แขม หญ้าเข้าป่า  หวาย และหญ้าคา เป็นต้น 
              3. สังคมพืชป่าดิบแล้ง
              ป่าดิบแล้ง(DRY EVERGREEN FOREST) เป็นสังคมพืชที่มีเนื้อที่ปกคลุม พื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มากเป็นอันดับที่ 3 รองจากป่าเบญจพรรณ และป่าดิบเขา ปรากฏกระจายอยู่บริเวณตอนกลาง ของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ตามแนวหุบตอนกลางของพื้นที่ ล้อมรอบด้วยสังคม พืชป่าเบญจพรรณ ที่ระดับความสูงประมาณ 400 ถึง 1000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ในสภาพภูมิประเทศ ที่เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบ และบริเวณภูเขาหินปูน และหินแกรนิตไนส์ ที่ไม่สูงมาก บริเวณตอนกลางอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า พื้นที่ป่าดิบแล้ง ถูกบุกรุกแผ้วถางเป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชมากที่สุด
              ป่าดิบแล้งในพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดเด่น ที่เป็นดัชนี ชี้ให้เห็นถึงสังคม พืชป่าดิบแล้ง คือ ชุมแสงแดง เสลา ยมหิน กระโดนแดง เต็ม สบันงา และตาว  เป็นต้น แต่บางแห่ง ก็มีกระทุ่มน้ำ ลำพูป่า มะเดือ และพันธุ์ไม้เด่น แต่ก็มีตาว เต่าร้างและค้อปะปนอยู่เช่นกัน
              4. สังคมพืชป่าเต็งรัง
              ป่าเต็งรัง (DRY DIPTEROCARP FOREST)  มีพื้นที่ปกคลุม มากเป็นอันดับที่ 4 พบปรากฏอยู่เป็นหย่อม ตามบริเวณยอดเขาหรือเนินเขาเตี้ยๆ ที่มี หน้าดินน้อย หินโผล่หรือเศษหินแตกหัก ปะปนอยู่มาก ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีวัตถุต้นกำเนิดดินมาจากหินแกรนิตไนส์ ไบโอไทต์หินแกรนิต และหินควอร์ตไซต์ ทางด้าน ตะวันออกและตอนเหนือของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ป่าเต็งรังจะพบปรากฏ เป็นหย่อมเล็ก ๆ หรืออาจขึ้นอยู่บนเขาทั้งลูก ที่ระดับความสูงประมาณ 200 ถึง 800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง
              ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชที่มีไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น ชนิดพันธุ์ไม้เด่นที่เป็นดัชนี ของสังคมพืชป่าเต็งรัง มีความแตกต่างกันบ้าง บางบริเวณอาจพบ รัง เหียง พลวง กระท่อมหมู ก่อนกและเต็งเป็นไม้เด่น แต่บางแห่งพบว่าไม้พลวง ก่อแพะ เพลง รักใหญ่และก่อนก หรือ รัง พลวง ก่อแพะ รกฟ้า เป็นพันธุ์ไม้เด่นตามลำดับ ไม้พื้นล่างจำพวกหญ้า เช่น หญ้าเพ็ก โจด หญ้าคา และหญ้าหนวดฤาษีเล็ก เป็นไม้พื้นล่างที่สำคัญของป่าเต็งรัง
              5. ป่าเขาสน (PINE FOREST) 
              พบปกคลุมพื้นที่อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าน้อยที่สุด เพียงร้อยละ 0.48 ของพื้นที่ อุทยานปรากฏกระจายอยู่เป็นหย่อมเล็กๆ ตามแนวสันขาวและบนยอดเขาบริเวณตอนกลาง ตามแนวเหนือใต้ ที่ระดับความสูงประมาณ 900 ถึง 1,200 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนดินที่มีหน้าดินลึกเกิดจาก การผุกร่อน ของหินต้นกำเนิดพวก แกรนิตไนส์ ไบโอไทต์ หินดินดาน หินชนวน และหินทราย
              พันธุ์ไม้ที่เป็นชนิดเด่นและเป็นดัชนีของป่าสนเขาที่สำคัญคือ สนสามใบ อาจพบพันธุ์ไม้ยืนต้นชนิดอื่นปะปนอยู่บ้าง เช่น มะก่อ ทะโล้ สารภีดอย ตำเสาหนู และอาจพบไม้ในวงศ์ก่อขึ้นอยู่ด้วยในบางพื้นที่
         - ทรัพยากรทางกายภาพ
         สภาพภูมิประเทศและความลาดชัน
         ลักษณะภุมิประเทศบริเวณอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า อยู่ในเขตรอยต่อระหว่างบริเวณเขตเทือกเขาภาคตะวันตกกับบริเวณขอบที่ราบภาคกลาง สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในทิศเหนือ-ทิศใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาถนนธงชัย ที่ราบอยู่ทางตอนกลางพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะอ่างกระทะขนาดเล็ก จำนวน 2 แอ่ง พื้นที่2,000-5,000 ไร่ แนวเทือกเขาที่สำคัญได้แก่ เขาเย็น เขาสน เขาเต่าดำ เขาขนุน เขาขาแล้ง เขาลีโอะโคะ เขาวังเจ้า เขาปั๋งใหญ่ ดอยลวก และเขาวุ้งกะสัง อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีค่าระดับความสูงเฉลี่ยจากระดับน้ำทะเลปานกลางสูงที่สุดประมาณ 1,898 เมตร อยู่บริเวณยอดเขาเขาเย็น พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 31.01 มีความสูงอยู่ระหว่าง 500-700 เมตร ส่วนความลาดชันของพื้นที่มีค่าเฉลี่ยประมาณ 30 % และมีค่าความสูงประมาณ 87.5% ของพื้นที่
         - ทรัพยากรสัตว์ป่า 
         1. สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (MAMMALS) จากการรวบรวมข้อมูลและทำการสำรวจสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในพื้นที่ พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 11 อันดับ 28 วงศ์ 65 สกุล 80 ชนิด ได้แก่ อันดับ Chiroptrra 5 วงศ์ 12 สกุล 18 ชนิด อันดับ Primate 3วงศ์ 4 สกุล 7 ชนิด อันดับ Carnivora 5 วงศ์ 18 สกุล 21 ชนิด อันดับ Rodentia 4 วงศ์ 18 สกุล 22 ชนิด อันดับ Artiodactyla 4 วงศ์ 6 สกุล 6 ชนิด อันดับ Pholidota 1 วงศ์ 1 สกุล 1ชนิด อันดับ Eulipotyphla 1 วงศ์ 1 สกุล 1 ชนิด อันดับ Scandentia 1 วงศ์ 1 สกุล อันดับ Lagomorpha 1วงศ์ 1 สกุล 1 ชนิด อันดับ Perissodactyla 1วงศ์ 1 สกุล 1 ชนิด อันดับ Proboscidae 1 วงศ์ 1 สกุล 1 ชนิด  
         2. สัตว์เลื้อยคลาน (Reptiles) จากการรวบรวมข้อมูลและทำการสำรวจสัตว์เลื้อยคลานในพื้นที่พบเป็นสัตว์เลื้อยคลาน 2 อันดับ 12 วงศ์ 47 สกุล 70 ชนิด ได้แก่ Testudines 3 วงศ์ 3สกุล 10 ชนิด และอันดับ Squamata 7 วงศ์ 21 สกุล 30 ชนิด
         3. สัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำ (Amphibians) จากการรวบรวมข้อมูลและทำการสำรวจสัตว์สะเทนบกสะเทินน้ำในพื้นที่ พบเป็นสัตว์สะเทินบกสะเทินน้ำ 1 อันดับ 5 วงศ์ 16 สกุล 45 ชนิด  อันดับที่พบคือ  อันดับ Anura ได้แก่ วงศ์ Megophryidae 4 สกุล 7 ชนิด วงศ์ Bufonidae 1 สกุล 4 ชนิด วงศ์ Ranidae 2 สกุล 17 ชนิด วงศ์ Rhacohhoridae 4 สกุล 5 ชนิด วงศ์ Microhylidae 4 สกุล 10 ชนิด
         4. นก (Birds) จากการรวบรวมและทำการสำรวจนกในพื้นที่ พบเป็นนกทั้งหมด 17 อันดับ 55 วงศ์ 127 สกุล 189 ชนิด ได้แก่ อันดับ Accipitriformes 1 วงศ์ 6 สกุล 7 ชนิด อันดับ Falconiformes 1 วงศ์ 1 สกุล 1 ชนิด อันดับ Pelecaniformes 1 วงศ์ 1 สกุล 4 ชนิด อันดับ Podicepediformes 1 วงศ์ 1 สกุล 1 ชนิด อันดับ Galliformes 2 วงศ์ 2 สกุล 4 ชนิด อันดับ Charadriiformes 1 วงศ์ 1 สกุล 2 ชนิด อันดับ Columbiformes 1 วงศ์ 1 สกุล 9 ชนิด อันดับ Psittaciformes 1 วงศ์ 1 สกุล 3 ชนิด อันดับ Cuculiformes 1 วงศ์ 1 สกุล 5 ชนิด อันดับ Strigiformes 1 วงศ์ 2 สกุล 7 ชนิด อันดับ Coraciiformes 3 วงศ์ 5 สกุล 7 ชนิด อันดับ Bucerotiformes 2 วงศ์ 5 สกุล 5 ชนิด อันดับ Piciformes 2 วงศ์ 8 สกุล 16 ชนิด อันดับ Passeeiformes 35 วงศ์ 65 สกุล 109 ชนิด 
         5. ปลา (Fishes) จากการรวบรวมข้อมูลและทำการสำรวจปลาในพื้นที่ พบเป็นปลา 5 วงศ์ 25 สกุล 35 ชนิด ได้แก่ วงศ์ Cobitidae 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Botiidae 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Bagridae 2 สกุล 3 ชนิด วงศ์ Clariidae 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Sisoridae  2 สกุล 2 ชนิด วงศ์ Clariidae 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Synbranchidae 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Mastacembelidae 1 สกุล 3 ชนิด วงศ์ Pristolepididae 1สกุล 1 ชนิด วงศ์ Anabantidae 1 สกุล 1 ชนิด วงศ์ Channidae 1 สกุล 2 ชนิด
         6. แมลงป่าไม้ (Forest insects) พบเป็นแมลงป่าไม้ 1 อันดับ 5 วงศ์ 25 สกุล 35 ชนิด ได้แก่ อันดับ Lepidoptera ได่แก่วงศ์ Geometridae 1 สกุล 1 ชนิด Lycaenidae 5 สกุล 6 ชนิด Nymphalidae 10 สกุล 14 ชนิด Papilionidae 2 สกุล 6 ชนิด Pieridae 7 สกุล 8 ชนิด 

ตารางที่ 3 จำนวนชนิดทรัพยากรสัตว์ป่าในแต่ละประเภทที่รวบรวมและสำรวจพบบริเวณอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า

กลุ่ม อันดับ วงศ์ สกุล ชนิด
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 11 28 65 80
สัตว์เลื้อยคลาน 2 12 47 70
สัตว์เลื้อยคลาน 2 12 47 70
นก 17 55 127 189
ปลา 6 13 30 41
แมลงป่าไม้ 1 5 25 35
ภาพที่ 2 น้ำตกคลองวังเจ้า.jpg

ภาพที่ 4 น้ำตกคลองวังเจ้า

จุดเด่นที่น่าสนใจของอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
         - น้ำตกคลองวังเจ้า: น้ำตกชั้นเดียวไหลทิ้งตัวในแนวตั้งฉาก สูงประมาณ 60 เมตร ความกว้างประมาณ 100 เมตร ถือเป็นน้ำตกขนาดกลาง และเป็นจุดที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของผืนป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ อยู่ห่างจากถนนพหลโยธิน 29 กิโลเมตร บนถนนวังเจ้า-โละโคะ หลักกิโลเมตรที่ 29 การเดินทางสะดวก
         - ปากคลองนาคีรี: เป็นแก่งน้ำตามธรรมชาติที่สวยงามไหลผ่านโขดหินแกรนิตสีขาวสะอาด สะท้อนแสง เป็นจุดบริเวณที่คลองนาคีรีไหลมารวมกับคลองวังเจ้า
         - น้ำตกคลองสมอกล้วย: เป็นน้ำตกขนาดกลาง แต่มีลักษณะเด่นสวยงาม มี 5 ชั้น ชั้นที่ 1 มีความสูง ประมาณ 40 เมตร ทิ้งตัวลงมาในแนวดิ่ง ส่วนชั้นอื่นๆ มีความสูงแตกต่างกันไป เป็นน้ำตกที่มีสีบุษราคัม มีลักษณะสวยงามแฝงด้วยความน่ากลัวอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 800 เมตร เดินทางได้สะดวก
         - น้ำตกเต่าดำ: เป็นน้ำตกขนาดใหญ่มี 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงมากกว่า 200 เมตร โดยเฉพาะชั้นที่ 3 มีความสูงประมาณ 270 เมตร มีความสูงรวมกันประมาณ 600 เมตร ชั้นที่ 3 ทิ้งตัวในแนวตั้งฉากสวยงามและยิ่งใหญ่มาก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 34 กิโลเมตร โดยไปทางบ้านโละโคะจนสุดทางที่ป่าไผ่ แล้วเดินลงเขาชันไปอีก 500 เมตร จะถึงน้ำตก
         - โป่งแก๊สธรรมชาติ: เป็นบ่อน้ำร้อน อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นโป่งน้ำที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส
         - เขากระดาน: เป็นหน้าผาของเขาเต่าดำ อยู่ใกล้น้ำตกเต่าดำ มีลักษณะเหมือนมีคนเอากระดานมาเรียงต่อกันเป็นหน้าผาสูงขึ้นประมาณ 300 เมตร
         - ผากลม: เป็นหน้าผาสูงชันทุกด้าน 360 องศา มีลักษณะคล้ายเอาแท่งดินสอขนาดใหญ่มาปักไว้บนดินมีลักษณะเด่นงดงามมาก การเดินทางต้องใช้วิธีเดินเท้าห่างจากน้ำเข้ารู ประมาณ 3 กิโลเมตร
         - น้ำเข้ารู: เป็นชื่อที่ชาวเขาใช้เรียกชื่อบริเวณหนึ่ง ที่มีลักษณะตรงตัว คือ ลำห้วยโละโคะไหลลงมา ถึงบริเวณนี้จะมุดหายเข้าไปในภูเขา เป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ไปโผล่อีกด้านหนึ่งของภูเขา จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “น้ำเข้ารู”
         - ถ้ำเขาพนัง: เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ริมคลองสวนหมาก เป็นถ้ำหินงอกหินย้อยสวยงามมากมีความลึกประมาณ100 เมตร
         - ถ้ำเทพพนม: เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีสภาพคล้ายถ้ำเขาพนัง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 17 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ วจ.5 (โละโคะ) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร
         - น้ำตกคลองโป่ง: มีชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า น้ำตกคลองน้ำแดง เป็นน้ำตกหินชนวนมี 4 ชั้น ชั้นบนสูง 100 เมตร จากบ้านโละโคะต้องเดินเท้าอีกประมาณ 20 กิโลเมตร ผ่านป่าดิบแล้ง โดยพักแรมในป่าประมาณ 2 คืน ระหว่างทางมีน้ำพุร้อนธรรมชาติให้แวะชม และในฤดูที่มีความชื้นสูงจะพบกล้วยไม้ประเภทลิ้นมังกรขึ้นบริเวณตัวน้ำตกอย่างหนาแน่นสวยงาม
         - น้ำตกกระแตไต่ไม้: ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม มีแอ่งให้เล่นน้ำ และลานหินกว้างสำหรับนั่งพักผ่อน ในบริเวณนั้นจะมีเฟินกระแตไต่ไม้ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตก เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วย
         - น้ำตกนาฬิกาทราย: ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.9 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร แต่มีรูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม มีแอ่งให้เล่นน้ำ บริเวณน้ำตกมีความร่มรื่นของต้นไม้ เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วยและน้ำตกกระแตไต่ไม้
         - น้ำตกเขาเย็น: เป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาดใหญ่ มีความสูงเกือบ 1,000 เมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาเย็น ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ การเข้าถึงต้องเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปหมู่บ้านโละโคะประมาณ 29 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางไปน้ำตกเขาเย็นประมาณ 6 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตก ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทาง
         - โป่งน้ำร้อน: เป็นบ่อน้ำร้อนที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นโป่งน้ำร้อนที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส
         - จุดชมทิวทัศน์ผาตั้ง: อยู่ริมเส้นทางบ้านโละโคะ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเส้นทางที่จะไปบ้านโละโคะ เป็นจุดที่สามารถมองลงไปเห็นดอยผาตั้ง เหมาะแก่การชมสภาพป่าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความงามของดวงอาทิตย์ตกลับเหลี่ยมเขาในยามเย็น
ข้อควรปฏิบัติในการเที่ยวอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
         - ไม่ทำการยึดถือ ครอบครอง แผ้วถางป่า นำออกไปซึ่งแร่, ดิน, หิน, พรรณไม้ และสัตว์ป่า ตลอดจนของป่าทุกชนิด
         - ไม่ล่าสัตว์และไม่นำสัตว์เลี้ยงทุกชนิดเข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ
         - ไม่ทำเสียงดังจนเป็นที่รบกวนแก่นักท่องเที่ยวและสัตว์
         - ต้องช่วยระมัดระวังมิให้เกิดไฟไหม้ป่า หากมีความจำเป็นต้องก่อไฟ เมื่อเสร็จแล้วกรุณาช่วยดับให้ด้วย
ข้อแนะนำในการเข้าชมโบราณสถาน
         - ศึกษาข้อมูลรายละเอียดสถานที่ต่างๆ ก่อนไป ติดต่อวิทยากรผู้ให้ความรู้ เช่น พระ ชาวบ้านในท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล
         - แต่งกายให้สุภาพ สำรวมกิริยาวาจา ถอดรองเท้า และเก็บให้เรียบร้อยก่อนเข้าโบสถ์ และเขตศาสนสถาน
         - ระวังไม่ทำให้โบราณวัตถุ โบราณสถาน แตกหักเสียหาย เดินตามทางเดินที่อนุญาต ไม่จับ สัมผัส อาคาร โบราณสถาน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นลวดลายแกะสลักหรือภาพเขียนสี ไม่ลักลอบขุดค้นโบราณวัตถุ และโบราณสถาน
         - การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช เพราะอาจทำให้โบราณวัตถุโบราณสถานเสียหายได้
ข้อแนะนำในการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเดินป่า
         - สอบถามข้อมูลของสถานที่ที่จะไป เพื่อจะได้เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม
         - เตรียมอุปกรณ์เดินป่าที่คล่องตัวและจำเป็น เช่น ถุงนอน เต็นท์ ผ้ายางกันฝน ยารักษาโรค ไฟฉาย มีดพก ยาไล่แมลง และเข็มทิศ
         - ศึกษาฤดูกาลของธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ นกอพยพ เตรียมกล้องส่องทางไกล สมุดบันทึก ดินสอปากกา และแผนที่
         - ศึกษาเส้นทางตรวจดูแผนที่ก่อนออกเดินทาง เลือกเส้นทางเดินตามสันเขาจะเดินง่ายกว่าตามหุบเขา และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด
แคมป์ปิ้ง
         - เตรียมเต็นท์ ถุงนอน ผ้าใบกันฝน อุปกรณ์เครื่องครัว เช่น หม้อสนาม เตาแก๊ส เตาน้ำมัน อาหารแห้ง น้ำดื่ม รองเท้าผ้าใบ และหมวก
         - ตรวจสอบทิศทางลมก่อนกางเต็นท์ และกางเต็นท์ต้นลม ส่วนกองไฟ ห้องส้วม ต้องอยู่ใต้ลม กางเต็นท์บนเนินหรือที่สูงอยู่ในที่โล่งริมห้วย
         - กวาดเศษหญ้า ใบไม้ ก่อนตั้งแคมป์ เพราะอาจเป็นที่อยู่ของแมลงสัตว์เลื้อยคลานต่าง ๆ
         - หาเชื้อฟืนจากเศษไม้ในป่า/คลื่นซัด มาติดหาดและดับกองไฟก่อนเข้านอน ดูแลความสะอาดทุกครั้งที่เก็บแคมป์ให้เหมือนสภาพเดิมเรียบร้อย หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่
การเดินทาง
         ทางรถยนต์ การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีความสะดวก สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง ดังนี้ จากจังหวัดกำแพงเพชร ไปจังหวัดตากตามถนนสายเอเซีย (A1) ถึงสี่แยกตลาดวังเจ้า แยกซ้ายไปทางบ้านนาโบสถ์ ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1110 ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านเด่นคา แยกซ้ายไปทางบ้านหนองแดนและแยกขวาตรงบ้านหนองแดนอีก 7 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์เข้าอุทยานแห่งชาติ ได้สะดวกตลอดทั้งปี ถนนลาดยางตลอดเส้นทาง จากจังหวัดกำแพงเพชร ไปจังหวัดตาก ตามถนนสายเอเซีย (A1) ก่อนถึงสี่แยกบ้านวังเจ้า ประมาณ 500 เมตร แยกซ้ายมือไปบ้านโละโคะ ผ่านบ้านหนองแดนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางรวม ประมาณ 30 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์เข้าอุทยานแห่งชาติได้สะดวกตลอดทั้งปี ถนนลาดยางตลอดเส้นทาง
อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ
         - ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
         - ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
ค่าธรรมเนียมรถยนต์ (เปิดให้ขึ้นตั้งแต่เวลา 06.00 - 21.00 น.)
          - รถเล็ก รถเก๋ง รถตู้ ฯลฯ  คันละ 30 บาท
         - รถยนต์โดยสารขนาดไม่เกิน 24 ที่นั่งและไม่เกิน 4 ตัน (6 ล้อ)  คันละ 100 บาท
         - รถยนต์โดยสารขนาดตั้งแต่ 24 ที่นั่งและไม่เกิน 10 ล้อ  คันละ 200 บาท
ภาพที่ 5 ค่ายพักแรมในอุทยาน.jpg

ภาพที่ 5 ค่ายพักแรมในอุทยาน

ภาพที่ 6 ป้ายแสดงเวลาทำการของอุทยาน และข้อห้ามทำในอุทยาน.jpg

ภาพที่ 6 ป้ายแสดงเวลาทำการของอุทยาน และข้อห้ามทำในอุทยาน

ภาพที่ 7 จุดลานกางเต็นท์.jpg

ภาพที่ 7 จุดลานกางเต็นท์

ภาพที่ 8 สะพานแขวนเขตข้ามจังหวัดตากและจังหวัดกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 8 สะพานแขวนเขตข้ามจังหวัดตากและจังหวัดกำแพงเพชร

ภาพที่ 7 จุดชมวิวผาตั้ง.jpg

ภาพที่ 9 จุดชมวิวผาตั้ง

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

         วันที่ลงพื้นที่ 8 ตุลาคม 2562

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         วันที่ 25 ตุลาคม 2562 
         วันที่ 10 พฤศจิกายน 2562

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         นายวชิรวิทย์  กรรณิกา
         นางสาวอุษณีย์  ปูเครือ

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         - อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า                    
         - หิน 
         - สัตว์ป่า
         - คลองสวนหมาก