ฐานข้อมูล เรื่อง แกงหน่อไม้กับความหลากหลายด้านถิ่นกำเนิด

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา
         แกงหน่อไม้บางคนก็เรียก แกงลาว บางคนก็เรียก แกงเปรอะ ลักษณะก็คล้ายกัน คือ ต้องมีใบย่านางเป็นส่วนประกอบหลัก  ใบย่านางจะช่วยเรื่องแก้ความขื่นและขมของหน่อไม้ได้เป็นอย่างดี เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เอาทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ใบย่านางเป็นพืชหาง่าย คุณสมบัติเป็นสมุนไพร นิยมคั้นเอาน้ำจากใบมาทำเป็นอาหาร มากกว่ารับประทานใบสด
         สำหรับแกงหน่อไม้ เป็นอาหารอีสานที่มีส่วนประกอบในการทำไม่ยุ่งยาก ประกอบด้วย หน่อไม้สด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วลวกหรือต้ม เพื่อล้างความขม และสารบางอย่างในหน่อไม้ออกไปเสียก่อน ส่วนประกอบอื่นก็มี พริก หอม ตะไคร้ ใบย่านาง ข้าวเบือ น้ำตาลทราย น้ำปลาร้า แล้วก็น้ำสะอาด สำหรับทำน้ำแกง ในส่วนของผักก็แล้วแต่ชอบ เช่น ผักขะแยง ใบแมงลัก ฝักทอง ยอดฝักทอง 
         สำหรับแกงหน่อไม้ของคนอีสานในจังหวัดกำแพงเพชรจะใส่ปลาย่างเพื่อเพิ่มความหอมให้กับแกงซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น รายงานเล่มนี้แสดงถึงความแตกต่างระหว่างแกงหน่อไม้ของภาคอีสานกับภาคกลางว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

ชื่ออาหาร[แก้ไข]

         แกงหน่อไม้

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         แกงหน่อ แกงลาว ใช้เรียกสำหรับภาคอีสาน 
         แกงเปรอะ ใช้เรียกสำหรับภาคกลางเรียก

ถิ่นอาหาร[แก้ไข]

         แกงหน่อไม้เป็นที่นิยมของชุมชนบ้านหนองกองพัฒนา ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากหมู่บ้านมีการปลูกหน่อไม้เลี้ยงค่อนข้างมากแกงหน่อไม้จึงเป็นที่นิยมเพราะหากินได้ง่ายมาก

ประเภทอาหาร[แก้ไข]

         อาหารคาว

ผู้ให้ข้อมูล[แก้ไข]

         นางรอ นันทะโชติ ชาวบ้านในชุมชนบ้านหนองกองพัฒนา บ้านเลขที่ 46 หมู่ 23 ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เบอร์โทร 097-2298417

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมาของหน่อไม้[แก้ไข]

         แกงหน่อไม้ หรือแกงหน่อ ใช้หน่อไม้สดในการปรุง ใส่เนื้อสัตว์ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็น กระดูกหมู หรือปลาดุก ปลาช่อน ซึ่งวัตถุดิบก็เอาจากในพื้นที่เทือกสวนไร่ซึ่งหาได้ง่ายน่าจะเห็นเมนูแกงหน่อไม้ทุกครัวเรือน แกงหน่อไม้มีหลายแบบแล้วแต่ละท้องที่และการทำแตกต่างกันนิดหน่อย อยู่ที่การปรุง คือสามารถแกงใส่อะไรก็ได้ที่เป็นส่วนประกอบ ส่วนเครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้คือ ปลาร้า การทำแกงหน่อไม้ว่ายากก็ไม่ใช่ว่าง่ายก็ไม่เชิง ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ทำ หน่อไม้มีหลายฤดูการและหลายชนิด มีหน่อไม้ไร่ หน่อไม้บง หน่อไม้ไผ่บ้าน หน่อไม้ฮวก ฯลฯ ซึ่งมีรสชาติแตกต่างกัน 

ข้อมูลการประกอบอาหาร[แก้ไข]

         การเตรียมเครื่องปรุงแกงหน่อไม้ของภาคอีสานและภาคกลางโดยส่วนใหญ่ภาคอีสานจะเน้นน้ำปลาร้าและน้ำใบย่านางเป็นหลักแต่ภาคกลางจะเน้นน้ำกะทิเป็นหลักโดยมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

เครื่องปรุง[แก้ไข]

รายการ อัตราส่วน
แกงหน่อไม้ภาคอีสาน
หน่อไม้สด 1 ถ้วย (ที่หั่นแล้ว)
พริกสด 1 ถ้วยตวง
ปลาร้า 1 ถ้วยตวง
ตะไคร้ 2 ต้น
ใบย่านาง 1 ถ้วย
ปลาย่าง 2 ตัว
เครื่องพริกแกง
หอม ครึ่งขีด
กระเทียม ครึ่งขีด
กระชาย 1 ถ้วยตวง
ภาพที่ 1 แสดงเครื่องปรุงที่ใช้.jpg

ภาพที่ 1 แสดงเครื่องปรุงที่ใช้ในการทำแกงหน่อไม้สด ภาคอีสาน

รายการ อัตราส่วน
แกงหน่อไม้ภาคกลาง
หน่อไม้ดอง 1 ถ้วย (ที่หั่นแล้ว)
ไก่ ครึ่งกิโลกรัม
พริกแกง 3 ช้อนโต๊ะ
พริกหยวก 1 ถ้วยตวง
โหระพา 1 ถ้วยตวง
กะทิ 1 ถ้วยตวง
เครื่องพริกแกง
หอม ครึ่งขีด
กระเทียม ครึ่งขีด
กระชาย ครึ่งขีด
ตะไคร้ ครึ่งขีด
พริก 1 ขีด
ผิวมะกรูด ครึ่งขีด
ข่า ครึ่งขีด
ภาพที่ 2 แสดงเครื่องปรุงที่ใช้.jpg

ภาพที่ 2 แสดงเครื่องปรุงที่ใช้ในการทำแกงหน่อไม้ดอง ภาคกลาง

สรรพคุณ[แก้ไข]

ภาพที่ 11 แสดงหน่อไม้.jpg

ภาพที่ 3 แสดงหน่อไม้

หน่อไม้

         สรรพคุณของหน่อไม้ช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยย่อยอาหาร เพราะหน่อไม้เป็นอาหารที่ให้เส้นใยสูง จึงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้  เมื่อหน่อไม้ผ่านการย่อยร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนกากอาหารที่เหลือหรือสารพิษต่างๆ เช่น ยาฆ่าแมลงหรือโลหะหนักจะไปรวมกันที่ลำไส้ใหญ่ 
ภาพที่ 12 แสดงวัตถุดิบหลักที่ใช้ในไก่.jpg

ภาพที่ 4 แสดงวัตถุดิบหลักที่ใช้ในไก่

ไก่

         สรรพคุณของไก่ทางแพทย์แผนจีนเนื้อกล่าวไว้ว่า เนื้อไก่มีคุณสมบัติร้อน (จัดเป็นหยาง) รสหวาน ใช้บำรุงร่างกาย ทำให้กระดูกและเอ็นแข็งแรง ทำให้ประจำเดือนปกติ รักษาอาการระดูขาวมากกว่าปกติ ชาวจีนเชื่อว่า เนื้อไก่ตัวผู้ มีคุณสมบัติค่อนไปทางร้อน (หยาง) ใช้บำรุงร่างกาย ส่วนเนื้อไก่ตัวเมียมีคุณ สมบัติเย็น (ยิน) ใช้บำรุงร่างกายเช่นกัน เหมาะสำหรับเป็นอาหารของคนชรา สตรีหลังคลอดบุตร และผู้ป่วยที่ป่วยเวลานาน 
ภาพที่ 13 แสดงพริกหยวก.jpg

ภาพที่ 5 แสดงพริกหยวก

พริกหยวก

         สรรพคุณของพริกหยวกมีสารแคปไซซิน ซึ่งมีประโยชน์ต่อคนป่วยเป็นโรคเบาหวาน เพราะช่วยบำบัดอาการของโรค ช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
         1. พริกหยวกยังส่งผลให้ระดับของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลงด้วย โดยการเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี ทำให้ระดับไขมันแต่ละชนิดมีความสมดุลกัน
         2. พริกหยวกมีคุณสมบัติที่ช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือดน้อย และเลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้มากและดีขึ้น ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
         3. สรรพคุณของพริกหยวกอุดมด้วยเบต้าแคโรทีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินซี ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะป้องกันความเสื่อมของเซลล์ ลดโอกาสเกิดโรคมะเร็งได้หลายชนิด
         4. พริกหยวกมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ จากสารแคปไซซินที่มีสรรพคุณช่วยให้หลอดเลือดอ่อนตัว ซึ่งจะส่งผลทำให้สลายลิ่มเลือดได้เร็ว และเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง มีความยืดหยุ่นรับแรงดันในระดับต่างๆ ได้ดี
         5. พริกหยวกช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยง่าย ช่วยให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
         6. ประโยชน์ของพริกหยวกทำให้รู้สึกอารมณ์ดี สดชื่น แจ่มใส โดยจะช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอนดอร์ฟินซึ่งมีฤทธิ์ทำให้เกิดความผ่อนคลายและรู้สึกมีความสุข
         7. พริกหยวกมีสรรพคุณช่วยลดอาการเจ็บปวด เช่น ปวดฟัน เจ็บคอ ผิวหนังอักเสบ ฯลฯ เพราะสารแคปไซซินจะมีผลช่วยชะลอความรู้สึกเจ็บปวดที่ปลายประสาทของสมองส่วนกลางให้ช้าลง
         8. พริกหยวกช่วยกระตุ้นความรู้สึกอยากกินอาหาร ทำให้เจริญอาหาร และยังมีประโยชน์ต่อระบบการย่อย ช่วยกระตุ้นน้ำย่อยทำให้สามารถย่อยอาหารได้ดีขึ้น
         9. สรรพคุณพริกหยวกมีฤทธิ์ช่วยขับเหงื่อ แก้อาเจียน บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ และแก้หวัด โดยสารแคปไซซินจะช่วยลดน้ำมูกทำให้การหายใจสะดวกขึ้น ช่วยบำบัดอาการภูมิแพ้ต่างๆ ได้
         10. พริกหยวกมีสรรพคุณที่สามารถนำไปผสมกับขี้ผึ้งใช้เป็นยาทาภายนอก เพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยที่มีสาเหตุจากไขข้ออักเสบ ทำให้เลือดลมไหลเวียนดีขึ้น
         11. พริกหยวกมีประโยชน์ช่วยขับลมซึ่งจะช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ 
ภาพที่ 14 แสดงโหระพาหน่อไม้.jpg

ภาพที่ 6 แสดงโหระพาหน่อไม้

โหระพา

         สรรพคุณของโหระพาเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกายโหระพามีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน พร้อมส่งเสริมการทำงานของร่างกายให้เป็นปกติ เมื่อรับประทานโหระพาเป็นประจำ จึงทำให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยได้ง่าย แถมยังลดความเสี่ยงการป่วยด้วยโรคร้ายต่างๆ ได้ดีอีกด้วยและมีประโยชน์ด้านอื่นๆดังต่อไปนี้
         1. แก้อาการท้องอืดใบโหระพามีสรรพคุณลดการบีบตัวของลำไส้ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะ กระตุ้นระบบการย่อยอาหารให้มีประสิทธิภาพ จึงสามารถแก้อาการท้องอืด แน่นท้อง ได้เป็นอย่างดี ใครที่มีอาการท้องอืดบ่อยๆ ต้องทานใบโหระพากันเลย
         2. สร้างความผ่อนคลาย ลดเครียดน้ำมันหอมระเหยในใบโหระพา จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดการผ่อนคลาย ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดความวิตกกังวล คลายเครียด และลดอาการซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยให้เกิดสมาธิมากกว่าเดิมอีกด้วย
         3. ลดคอเลสเตอรอลในเลือดใบ โหระพามีส่วนช่วยในการลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งก็จะช่วยลดความเสี่ยงโรคร้ายจากภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูงได้อีกหลายโรคเลยทีเดียว ดังนั้นคนที่มีภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ควรทานใบโหระพาเป็นประจำ โดยเฉพาะการทานใบสดๆ จะได้รับคุณประโยชน์อย่างเต็มที่
         4. บรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน การทานใบโหระพาจะช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ โดยจะช่วยให้อาการดีขึ้น และรู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น สบายตัวมากกว่าเดิม เพราะใบโหระพามีสรรพคุณในการลดอาการคลื่นไส้ และด้วยกลิ่นหอมอ่อนๆ ของใบโหระพา ก็จะช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย จึงหยุดยั้งอาการคลื่นไส้อาเจียนได้เหมือนกัน
         5. แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ ผู้หญิงมักจะเจอกับปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ ไม่ว่าจะมามาก มาน้อย มาสองครั้งในเดือนเดียว มาแบบกะปริบกะปรอย หรือมาบ้างไม่มาบ้าง 

เมื่อทานใบโหระพาเป็นประจำ จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ เพราะใบโหระพาจะช่วยกระตุ้นให้ฮอร์โมนเพศทำงานปกติและเกิดความสมดุล จึงทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอนั่นเอง

         6. ช่วยให้เจริญอาหาร สำหรับคนที่มีอาการเบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อย ลองใส่ใบโหระพาลงในเมนูอาหารกันดู หรืออาจนำมาทานใบสดๆ พร้อมกับอาหาร จะช่วยให้เจริญอาหารได้ดีมาก จากที่เคยตัวเล็กน้ำหนักน้อย ดูเหมือนคนขาดสารอาหาร น้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นมาอย่างเหมาะสมตามเกณฑ์มาตรฐาน 
ภาพที่ 15 แสดงหอมแดง.jpg

ภาพที่ 7 แสดงหอมแดง

หอมแดง

         สรรพคุณของหอมแดงช่วยให้เจริญอาหาร สำหรับผู้ที่รู้สึกทานอาหารได้น้อย ไม่ค่อยรู้สึกหิว หรือเบื่ออาหาร ให้ลองนำหอมแดงมาใช้ในการปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็นยำวุ้นเส้น ไข่เจียวใส่หอมแดง หรือแม้แต่ซุปหัวหอม กลิ่นหอมแดงจะช่วยกระตุ้นร่างกายให้รู้สึกอยากอาหารมากยิ่งขึ้น รสชาติของหอมแดงยังช่วยทำให้กับข้าวอร่อยมากขึ้นด้วยและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
         1. ป้องกันโรคหัวใจและช่วยลดความดันโลหิต หอมแดงอุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น เนื่องจากในหอมแดงมีสารเคอร์ซิติน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยปกป้องเซลล์ในร่างกาย และช่วยลดการอักเสบได้เป็นอย่างดี
         2. บำรุงสมอง ในหอมแดงนั้นเต็มไปด้วยธาตุฟอสฟอรัส การทานหอมแดงบ่อยๆ จะช่วยบำรุงสมอง ทำให้ความจำดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
         3. ป้องกันมะเร็ง เนื่องจากมีผลการวิจัยค้นพบว่า สารเคอร์ซิตินและสารฟลาโวนอยด์ที่มีอยู่ในหอมแดง มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระที่เป็นสาเหตุในการก่อโรคมะเร็งได้
         4. ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น หอมแดงเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่มีฤทธิ์เผ็ดร้อน จึงมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มอุณหภูมิภายในร่างกาย ใครที่ขี้หนาวเป็นประจำ ทานหอมแดงแล้ว รับรองจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นได้แน่นอน
         5. ช่วยไล่แมลงสาบ สำหรับบ้านไหนที่มีปัญหาแมลงสาบมาคอยกวนใจ ให้ลองนำหอมแดงมาหั่นเป็นแผ่น แล้วนำไปวางบริเวณที่แมลงสาบชอบเข้ามา ในหอมแดงนั้นเต็มไปด้วยสารกำมะถัน ที่มีกลิ่นฉุน จึงสามารถช่วยขับไล่แมลงสาบ ไม่ให้มากวนใจได้ 
ภาพที่ 16 แสดงกระเทียม.jpg

ภาพที่ 8 แสดงกระเทียม

กระเทียม

         สรรพคุณของกระเทียมช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรงและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
         1. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย
         2. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
         3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
         4. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
         5. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
         6. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ
         7. ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
         8. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
         9. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
ภาพที่ 17 แสดงตะไคร้.jpg

ภาพที่ 9 แสดงตะไคร้

ตะไคร้

         สรรพคุณของตะไคร้มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
         1. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
         2. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
         3. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
         4. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
         5. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
         6. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
         7. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
         8. น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้
         9. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ 
ภาพที่ 18 แสดงกระชาย.jpg

ภาพที่ 10 แสดงกระชาย

กระชาย

         สรรพคุณของกระชายช่วยบำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบางและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
         1. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกาย
         2. ช่วยบำรุงกำหนัด แก้อาการกามตายด้าน (เหง้าใต้ดิน)
         3. ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
         4. ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิตเมื่อความดันโลหิตสูง แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ
         5. สรรพคุณกระชายช่วยแก้โลหิตเป็นพิษ (ใบ)
         6. กระชายมีสรรพคุณทางยาช่วยแก้โรคในปากและคอ เช่น ปากเปื่อย ปากแห้ง ปากเป็นแผล (ใบ, เหง้า) 
ภาพที่ 19 แสดงใบย่านาง.jpg

ภาพที่ 11 แสดงใบย่านาง

ใบย่านาง

         สรรพคุณของใบย่านาง ในตำราสมุนไพรจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะและมีประโยชน์ด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
         1. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมากจึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
         2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในร่างกาย
         3. ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
         4. ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
         5. เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
         6. ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
         7. ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่าง ๆ 

การเตรียมหน่อไม้[แก้ไข]

ภาพที่ 3 แสดงการสับหน่อไม้.jpg

ภาพที่ 12 แสดงการสับหน่อไม้

ขั้นตอนการปรุง[แก้ไข]

         ขั้นตอนการปรุงแกงหน่อไม้ของภาคอีสานและภาคกลางดังต่อไปนี้
         1. แกงหน่อไม้ของคนคนอีสาน
ภาพที่ 4 แสดงนำหน่อไม้ที่ได้มาสับ.jpg

ภาพที่ 13 แสดงนำหน่อไม้ที่ได้มาสับ ล้างน้ำให้สะอาดและนำหน่อไม้มาต้ม เพื่อไม่ให้หน่อไม้ขม

ภาพที่ 5 นำหน่อไม้ที่ต้มแล้วมาต้ม.jpg

ภาพที่ 14 นำหน่อไม้ที่ต้มแล้วมาต้มกับน้ำใบหญ้านางและพริกแกง

ภาพที่ 6 แสดงตักใส่ถ้วยพร้อมเสิร์ฟ.jpg

ภาพที่ 15 แสดงตักใส่ถ้วยพร้อมเสิร์ฟ

         2. แกงหน่อไม้ภาคกลาง
ภาพที่ 7 แสดงการนำเนื้อไก่ไปผัด.jpg

ภาพที่ 16 แสดงการนำเนื้อไก่ไปผัดกับพริกแกง

ภาพที่ 8 แสดงภาพการปรุงแกงหน่อไม้ดอง.jpg

ภาพที่ 17 แสดงภาพการปรุงแกงหน่อไม้ดอง

ภาพที่ 9 แสดงเนื้อไก่สุกได้ที่.jpg

ภาพที่ 18 แสดงเนื้อไก่สุกได้ที่ ใส่พริกหยวกและใบโหระพาเพิ่มความหอม

ภาพที่ 10 แสดงตักใส่ถ้วยพร้อมเสิร์ฟ.jpg

ภาพที่ 19 แสดงตักใส่ถ้วยพร้อมเสิร์ฟ

การเสิร์ฟ/การรับประทานอาหาร[แก้ไข]

         ชาวบ้านที่เป็นคนไทยจะรับประทานกับข้าวสวยแต่คนอีสานจะรับประทานกับข้าวเหนียว

ข้อแนะนำ[แก้ไข]

         เมื่อนำหน่อไม้สดมาควรนำมาแกงทันทีเพราะจะทำให้หน่อไม้ไม่มีรสชาติ ถ้าต้มหน่อไม้ไม่ดีก็จะทำให้รสขม

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

         วันที่ 7 ตุลาคม 2562

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         วันที่ 10 ตุลาตม 2562

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         1. นายวุฒิชัย  ตรุษลักษณ์
         2. นางสาวนันทนา  นันทะโชติ
         3. นางสาวประวีณา  บุญเหลือ
         4. นางสาวพรณภัส  คุ้มพระพาย
         5. นางสาวสิริยากร  เกตุณรงค์
         6. นางสาวสายรุ้ง  แจ่มใส

ประวัติผู้ให้สัมภาษณ์[แก้ไข]

         นางรอ นันทะโชติ ชาวบ้านชุมชนบ้านหนองกองพัฒนา บ้านเลขที่ 46 หมู่ 23 ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เบอร์โทร  097-2298417