ฐานข้อมูล เรื่อง โบราณสถาน (บริเวณศาลหลักเมือง)

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

เนื้อหา

ข้อมูลทั่วไป ศาลหลักเมืองจังหวัดกำแพงเพชร[แก้ไข]

ชื่อสถานที่[แก้ไข]

         ศาลหลักเมืองจังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         ศาลหลักเมือง, ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         ถนนราชดำเนิน 2 ซอยปื่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.489817
         ลองติจูด (Longitude) : 99.516175

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         เทศบาลเมืองกำแพงเพชร

สถานะการขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ.2463 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2528	

วันเดือนปีที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         สันนิษฐานว่าสร้างสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         ศาลหลักเมืองกำแพงเพชรแห่งนี้สันนิษฐานว่าสร้างสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) ที่เคยปกครองดูแลเมืองกําแพงเพชร เป็นศาลที่เก่าแก่มานานกว่า 700 ปี เชื่อกันว่าพระเจ้าวรมันต์ (เหม่) ทําด้วยศิลาแลงรูปกลมยาวประมาณ 2 เมตร ฝังโผล่พ้นดินขึ้นมาประมาณหนึ่งเมตร มีรูปเศียรเทพารักษ์อยู่บนยอดศิลาแลง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังคาศาลได้พังลงมาทับเสาหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ หลังจากนั้นก็อยู่ในสภาพรกร้างมาเป็นเวลานานจนถึงปี พ.ศ.2472 รองอํามาตย์เอกหลวงมนตรีราช (หวาน) อัยการจังหวัดกําแพงเพชรได้ริเริ่มสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่โดยเป็นศาลาทรงไทย
         มีเหตุการณ์ระบุว่า ในปี พ.ศ.2488 ได้มีผู้ลักตัดเศียรเทพารักษ์ไปหลวงปริวรรตวรวิจิตร (จันทรเจริญชัย) ผู้ว่าราชการจังหวัดกําแพงเพชรได้ให้ทําขึ้นใหม่ด้วยดินจากยอดเขาสูงสุดของเขาหลวง ดินใจกลางโบสถ์ใจกลางเจดีย์เก่าทั้งในจังหวัดกําแพงเพชร สุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก และตาก ต่อมานายเชาว์ วัตสุดลาภา เดินทางมารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2525 ได้ไปสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองและมีความรู้สึกว่าศาลหลักเมืองนั้นอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมไร้สง่าราศรี จึงได้มีการปรับปรุงศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ให้สมฐานะการเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งในการบูรณะปรับปรุงศาลหลักเมืองครั้งนี้ได้คำนึงถึงความถูกต้องและความสมบูรณ์ของรูปแบบของศาลหลักเมือง ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นเป็นสำคัญ โดยอาคารศาลหลักเมืองที่ปรับปรุงใหม่นี้ เป็นอาคารจัตุรมุขพร้อมเขตปริมณฑลกว้าง 17.5 x 17.5 เมตร สูงจากระดับเดิมประมาณ 19 เมตร หันหน้าเข้าหาทิศทั้งสี่ถูกต้องตามหลักโหราศาสตร์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กพื้นหินอ่อนทรายล้างสีศิลาแลง กำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จและประกอบพิธีเชิญหลักเมืองและเศียรเทพารักษ์ขึ้นในวันที่ 5 พฤษภาคม 2527 ตรงวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช-สยามมกุฎราชกุมารเสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ในการทรงเจิมเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2527
ภาพที่ 1 ข้อความที่บันทึกไว้บนผนัง.jpg

ภาพที่ 1 ข้อความที่บันทึกไว้บนผนังของพระศาลหลักเมือง

         ตามข้อความมี่ได้บันทึกไว้บน ผนัง ของพระหลักเมือง เป็นข้อความบอกเล่าถึงเหตุการณ์ตามประวัติศาสตร์ของศาลหลักเมืองกำแพงเพชรเอาไว้ดังนี้
             “พ.ศ.2472 หลวงมนตรีราชได้สร้างอาคารศาลหลักเมืองขึ้นเป็นศาลาทรงไทยทำด้วยไม้
             พ.ศ. 2484 หลวงปริวรรต วรวิจิตร (จันทร์ เจริญชัย) ได้ให้นายฉกาจ กุสสุ ปั้นเศียรเทพารักษ์ขึ้นใหม่
             พ.ศ. 2526 นายเชาวน์วัศ สุดสาภา ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เดินทางมารับตำแหน่งพิจารณาเห็นว่า ศาลหลักเมืองทรุดโทรมมากขาดความเป็นสง่าราศี จึงมอบให้ นายประมวล รุจน เสรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ดำเนินการปรับปรุงอาคารบริเวณสถานที่ตามรูปแบบที่ปรากฏในปัจจุบัน
             สิ้นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้น 1,579,972.28 บาท โดยไม่ใช้งบประมาณของทางราชการแต่อย่างใด
             16 เมษายน 2527 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ทรงเจิมเสาหลักเมืองเสาใหม่
             5 พฤษภาคม 2527 พิธีเชิญเสาหลักเมือง เศียรเทพารักษ์ขึ้นศาล”
         การสังเวยเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร ในวันที่ 15 เมษายน ของทุกปี เรียกว่า “วันพญาวัน” ซึ่งประชาชนจำนวนมากจะมาชุมนุมพร้อมกันที่ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร มักเรียกประชาชนที่มาร่วมกันว่า “ลูกช้าง”ทุกคนที่มาชุมนุมกันจะบนบานศาลกล่าวขอพรต่างๆ และพวกที่ยังไม่ได้แก้บนจะแก้บนให้เสร็จสิ้นในวันนี้ นอกจากนี้ พรามหม์จะทำพิธีบวงสรวงประจำปี เสร็จแล้วทำพิธีสรงน้ำเจ้าพ่อหลักเมืองและนิมนต์พระสงฆ์มาถวายภัตราหารเพลด้วย ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร หรือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่ บริเวณวัดพระแก้ว ปากทางเข้าโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม ถนนสายกำแพงเพชร-สุโขทัย ผ่านหน้าศาล ชาวเมืองกำแพงเพชรและประชาชนทั่วไปให้ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาอย่างมากและเป็นที่กล่าวขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันขึ้นทะเบียนเป็นศาลเจ้าตามกฎเสนาบดีว่าด้วยที่กุศลสถานชนิดศาลเจ้า พ.ศ.2463 เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2528 และอยู่ในความดูแลของเทศบาลเมืองกำแพงเพชร 
ภาพที่ 2 ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร.jpg

ภาพที่ 2 ศาลหลักเมืองจังหวัดกำแพงเพชร

         ศาลหลักเมืองกำแพงเพชร คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรให้ความนับถือ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดใกล้เคียงมาหลายชั่วอายุคน ผู้ใดที่ประสบปัญหาอุปสรรค์ในการดำเนินชีวิต ก็มักไปบนบานศาลกล่าว ขอให้เจ้าพ่อหลักเมืองช่วยเหลือคุ้มครอง ซึ่งก็มักจะได้สมใจดังปรารถนาจนเป็นที่เลื่องลือ เป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ดังนั้น จึงมีผู้มาบนและขอแก้บนเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน จากความศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าว ที่มีความเชื่อว่าการสร้างศาลหลักเมืองว่า ก่อนสร้างหลักเมืองได้ขุดหลุมกลางใจเมือง โดยทางการจะมีการป่าวประกาศหาคนชื่อ อิน จัน มั่น คง เมื่อได้บุคคลที่มีชื่อดังกล่าว จะนำบุคคลทั้งสี่คนมาไว้ที่ก้นหลุมและฝังเสาหลักเมืองลงทับร่างทั้งสี่ เพื่อให้เป็น ผีเฝ้าหลักเมืองเป็นเทพารักษ์ประจำเมือง เป็นปีศาลคุ้มครองเมือง เป็นประเพณีในการก่อสร้างเมืองทุกเมืองโดยตลอด นับว่าทั้งสี่ท่านคือ อิน จัน มั่น และคง เป็นผู้เสียสละชีวิต เพื่อมาพิทักษ์บ้านเมืองของเรา กลายมาเป็นเจ้าพ่อหลักเมืองในที่สุด เชื่อกันว่า เมืองกำแพงเพชรน่าจะสร้างพร้อมๆ กับเมืองสุโขทัยและมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง ทางทิศใต้ของสุโขทัย สังเกตได้จากแนวกำแพงสามชั้น ซึ่งเรียกว่าตรีบูรเหมือนสุโขทัยหรือร่วมสมัยกันกับสุโขทัย เจ้าพ่อหลักเมืองกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย เดิมทำด้วยศิลาแลง รูปกลมยาวประมาณ ๒ เมตรฝังโผล่ขึ้นดินมาประมาณหนึ่งเมตรเศษ มีรูปเศียรเทพารักษ์ อยู่บนยอดศิลาแลง เชื่อกันว่าคือเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองน่าจะร้าง เหมือนโบราณสถานทั่วไป พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร ทรงบันทึกไว้ว่าออกจากวัด ไปที่หลักเมือง ซึ่งอยู่มุมท้ายวัดอยู่ระหว่างวัดกับวัง ทรงบันทึกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2449 ไว้เพียงเท่านี้เอง
มีข้อผิดพลาดในการสร้างรูปย่อ: File with dimensions greater than 12.5 MP

ภาพที่ 3 ประชาชนที่มากราบไหว้สักการะขอพรจากเจ้าพ่อศาลหลักเมืองจังหวัดกำแพงเพชร

มีข้อผิดพลาดในการสร้างรูปย่อ: File with dimensions greater than 12.5 MP

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         องค์การบริหารส่วนจังหวัดกำแพงเพชร
         กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

         วันที่ 2 มีนาคม 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         อาจารย์ธนกิจ โคกทอง และ คณาจารย์โปรแกรมออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         ศาลหลักเมืองจังหวัดกำแพงเพชร

ข้อมูลทั่วไป วัดพระแก้ว[แก้ไข]

ชื่อสถานที่[แก้ไข]

         วัดพระแก้ว

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         วัดพระแก้ว

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         ถนนราชดำเนิน 2 ซอยปื่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.488269
         ลองจิจูด (Longitude) : 99.518012

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

สถานการณ์ขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ร่วมกับสุโขทัยและศรีสัชนาลัยเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี 2534 โดย UNESCO	

วันเดือนปีที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

สันนิษฐานมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 – 22

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         เป็นพระอารามหลวงที่มีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสคือเป็นวัดที่ไม่มีพระภิกษุจำพรรษา ชื่อวัดพระแก้ว นี้เรียกกันมาแต่เดิม เพราะในตำนาน พระแก้วมรกต กล่าวว่า ในสมัยอยุธยาวัดนี้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต ถ้าพระแก้วมรกตได้มาประดิษฐานอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรจริง ก็น่าจะต้องอยู่บนบุษบกที่ย่อมุมอย่างงดงามนี้ โดยสร้างไว้บนพื้นยกสูงกว้างใหญ่มาก ด้านหน้าของบุษบกเป็นแท่นสูงใหญ่ ข้างบนยกพื้นสี่เหลี่ยม เข้าใจว่าเดิมอาจจะเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท ติดกับแท่นใหญ่นี้เป็นโบสถ์ มีใบเสมาทำด้วยหินชนวนอยู่ล้อมรอบ เป็นใบเสมาเกลี้ยงๆ มีขนาดใหญ่ ไม่มีลวดลายอะไร ภายในโบสถ์ วัดพระแก้ว มีพระประธานขนาดใหญ่ ที่เดิมหักครึ่งซีก และล้มอยู่ แต่ได้รับการบูรณะเรียบร้อยแล้ว เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย โบสถ์หลังนี้มีการก่อสร้างเป็น 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยา เป็นไปได้ว่า ในสมัยเดิม โบสถ์หลังนี้คงเป็นวิหาร ต่อมาได้รับการดัดแปลงเป็นโบสถ์ในสมัยอยุธยา 
         วัดพระแก้วมีสิ่งก่อสร้างเรียงเป็นแนวยาวในแกนทิศตะวันออก – ตะวันตก กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษ แผนผังของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอน ๆ สิ่งก่อสร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ โดยสิ่งก่อสร้างต่างๆนั้นคงมีการสร้างเพิ่มเติมต่อเนื่องมาเรื่อยๆในหลายสมัย ด้านหน้าสุดทางทิศตะวันออกของวัดเป็นวิหารขนาดใหญ่ที่มีการยกพื้นสูงมาก ที่ฐานชุกชียังเหลือร่องรอยของโกลนพระพุทธรูปศิลาแลงพระพุทธรูปประธาน ด้านหลังวิหารเป็นอาคารที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสันนิษฐานว่าเป็นมณฑป ถัดจากนั้นเป็นฐานย่อมุม ๓ ชั้น ด้านบนพังพลายหมดแล้วซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นพระปรางค์ซึ่งฐานนี้เชื่อกันว่าเป็นฐานบุษบกที่เคยประดิษฐานพระแก้วมรกตถัดมาในส่วนตรงกลางของวัดเป็นเจดีย์ประธานทรงระฆังที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดยรอบมีประติมากรรมพระพุทธรูปและรูปสิงห์อยู่ในซุ้มแต่ชำรุดหมด จำนวน 32 ตัว 
ภาพที่ 3 แผนผังของวัดพระแก้ว.jpg

ภาพที่ 5 ภาพแผนผังโดยรวมของวัดพระแก้ว

         ถัดมาเป็นวิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ เป็นพระพุทธรูปไสยาสน์ 1 องค์และพระพุทธรูปมารวิชัย 2 องค์ซึ่งพระพักตร์ของพระพุทธรูปเป็นพระพักตร์เหลี่ยมซึ่งเป็นอิทธิพลจากศิลปะอยุธยาตอนต้น 
ภาพที่ 4 วัดพระแก้ว.jpg

ภาพที่ 6 พระพุทธรูปไสยาสน์ 1 องค์และพระพุทธรูปมารวิชัย 2 องค์

         ด้านหลังสุดของวัดเป็นกลุ่มเจดีย์ที่มีเจดีย์ประธานทรงระฆังที่มีฐานช้างล้อมรอบ เรียกกันว่า เจดีย์ช้างเผือก มีรูปปั้นช้างที่ฐานโดยรอบจำนวน 32 เชือก ทางด้านตะวันออกของเจดีย์ช้างล้อมนี้ มีสิ่งสำคัญคือ พระบาทคู่ ขนาดใหญ่ของพระพุทธรูปทำด้วยศิลาแลง แต่ไม่ปรากฏมีชิ้นส่วนของพระพุทธรูปเหลืออยู่เลย โบราณวัตถุสำคัญที่พบในบริเวณวัดคือ ขันสัมฤทธิ์ ขนาดใหญ่ ซึ่งพบที่ฐานเจดีย์ มุมด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ภายในขันมีกระดูกซึ่งเผาแล้วบรรจุไว้ นอกจากนี้ ยังพบอาวุธเป็นรูปสามง่าม ทำด้วยเหล็ก และยังได้พบเศียรพระพุทธรูปสมัยอยุธยาขนาดเล็ก รวมทั้งพระพุทธรูปสมัยอู่ทองอีกด้วย ในกรุนี้มีพระเครื่องประเภทพระกรุจำนวนไม่มากนัก แต่มีพระอยู่พิมพ์หนึ่ง เป็น พระยืนปางเปิดโลก มีขนาดจิ๋ว ลักษณะเรียวแหลมยาวเหมือนเข็ม จึงมีชื่อเรียกว่า พระกำแพงเข็ม ซึ่งเป็นปางที่นิยมมากที่สุด จากการขุดแต่งวัดพระแก้วพบฐานเจดีย์แบบต่างๆ กัน รวม 35 ฐาน วิหาร 10 วิหาร ฐานโบสถ์ 1 แห่ง แสดงถึงความเป็นวัดใหญ่และมีความสำคัญมากจากรูปแบบศิลปะและหลักฐานที่พบ สันนิษฐานว่าวัดพระแก้วมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 – 22 ในสมัยอยุธยาที่มีศิลปะสุโขทัยและอยุธยาผสมอยู่ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร ก็จัดให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้
ภาพที่ 5 วัดช้างรอบ.jpg

ภาพที่ 7 ลักษณะรูปปั้นช้างรอบๆเจดีย์ช้างเผือก

ภาพที่ 6 รูปปั้นสิงห์.jpg

ภาพที่ 8 รูปปั้นสิงห์ที่ชำรุดเกือบหมดแล้ว อยู่ล้อมรอบฐานของเจดีย์ประธาน

มีข้อผิดพลาดในการสร้างรูปย่อ: File with dimensions greater than 12.5 MP

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

         วันที่ 2 มีนาคม 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         อาจารย์ธนกิจ โคกทอง และ คณาจารย์โปรแกรมออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         วัดพระแก้ว, อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

ข้อมูลทั่วไป วัดพระธาตุ[แก้ไข]

ชื่อสถานที่[แก้ไข]

         วัดพระธาตุ

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         วัดมหาธาตุ

ศาสนา[แก้ไข]

         ศาสนาพุทธ

ที่ตั้ง (ที่อยู่)[แก้ไข]

         ถนนราชดำเนิน 2 ซอยปื่นดำริห์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000

ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]

         ละติจูด (Latitude) : 16.487431
         ลองจิจูด (Longitude) : 99.520092

หน่วยงานที่ดูแลรักษา[แก้ไข]

         อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

สถานการณ์ขึ้นทะเบียน[แก้ไข]

         ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ร่วมกับสุโขทัยและศรีสัชนาลัยเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในปี 2534 โดย UNESCO	

วันเดือนปีที่ก่อสร้าง[แก้ไข]

         สันนิษฐานมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 20 – 22

ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา/คำบอกเล่า/ตำนาน[แก้ไข]

         เป็นวัดที่ก่อสร้างด้วยแบบสถาปัตยกรรมศิลปะกำแพงเพชร ซึ่งปัจจุบันเรียกขานกันว่าวัดพระธาตุ เป็นวัดที่สำคัญ สำคัญภายในกำแพงเมืองกำแพงเพชร อยู่กึ่งกลางของเมืองกำแพงเพชร โบราณสถานภายในวัดประกอบด้วย เจดีย์ประธาน 1 องค์ วิหาร 2 หลัง มีระเบียงคดล้อมรอบเจดีย์ประธาน และวิหาร เจดีย์ราย 2 องค์ ที่มุมด้านหน้าวัด กำแพงวัด ศาลา 1 หลัง ที่ด้านนอกกำแพงวัดทางทิศใต้ และสระน้ำรูปสี่เหลี่ยมอยู่ทางทิศตะวันออกด้านหน้าวัด 
ภาพที่ 7 วัดพระธาตุ.jpg

ภาพที่ 10 ภาพบริเวณวัดพระธาตุ

         เหตุที่ชื่อว่าวัดพระธาตุ เพราะเป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางเมือง เช่นเดียวกับวัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัยจากพระราชนิพนธ์ เรื่องเที่ยวเมืองพระร่วง ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ส่วนวัดนั้นคงเป็นอย่างวัดพระศรีสรรเพชญ์ กรุงทวาราวดี มีเจดีย์ โบสถ์วิหารใหญ่ๆ งามๆอยู่มาก การก่อสร้างใช้ศิลาแลงเป็นพื้น มีที่ก่อซ่อมแซมด้วยอิฐภายหลังก็มาก มีกำแพงแก้วสูงประมาณ ๓ ศอก ล้อมรอบลาน ต่อลงไปทางทิศใต้มีลานอีกลานหนี่ง มีกำแพงแก้วล้อมรอบเหมือนกัน ในที่กลางมีพระธาตุใหญ่ตั้งอยู่บนลานสูง พระวิเชียรปราการตั้งชื่อไว้ว่า วัดมหาธาตุ
ภาพที่ 8 วัดพระธาตุ.jpg

ภาพที่ 11 รูปสันนิษฐานลักษณะและแผนผังของวัดพระธาตุ

         จากแผนผังของวัด ทำให้สันนิษฐานว่าวัดพระแก้วและวัดพระธาตุ เดิมอาจเป็นวัดเดียวกัน ต่อมาสร้างวัดพระแก้วต่อไปข้างหน้า จึงทำให้วัดแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ แต่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมมีลักษณะที่แตกต่างกัน คือวัดพระแก้วสร้างด้วยศิลาแลง แต่วัดพระธาตุสร้างด้วยอิฐ จึงทำให้สันนิษฐานว่าสร้างที่หลังวัดพระแก้วลักษณะของสถาปัตยกรรมจัดเป็นแบบเฉพาะของตระกูลช่างกำแพงเพชร มีฐานแปดเหลี่ยมต่อจากฐานเขียงอีกหลายชั้น ต่อจากนั้นเป็นลักษณะของเจดีย์ทรงกลม ตระกูลช่างกำแพงเพชร มีผู้พบจารึกลานเงินได้ที่วัดนี้ ต่อมาเมื่อข้าศึกถอยกลับไปหมดแล้ว เจ้าสร้อยแสงดาว ซึ่งมาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ได้บูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่
ภาพที่ 9 วัดพระธาตุ.jpg

ภาพที่ 12 ภาพโครงสร้างส่วนฐานของสิ่งก่อสร้างบริเวณวัดพระธาตุ

         จากการขุดค้นของกรมศิลปากร พบพระ พุทธรูปทองคำและเงิน ขนาดหน้าตัก 3 นิ้ว เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543 ประมาณ 10 องค์ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ความจริงก่อนหน้า ไม่กี่ปีได้มีการลักลอบขุด พบพระว่านหน้าทองจำนวนมาก จึงยืนยันได้ว่า วัดพระธาตุ เป็นวัดหลวงประจำเมืองกำแพงเพชร
13 ลักษณะเจดีย์ศิลปะแบบกำแพงเพชร ในวัดพระธาตุ.jpg

ภาพที่ 13 ลักษณะเจดีย์ศิลปะแบบกำแพงเพชร ในวัดพระธาตุ

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

         อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
         นายสันติ อภัยราช

วัน เดือน ปี ที่สำรวจ[แก้ไข]

         วันที่ 2 มีนาคม 2561

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         อาจารย์ธนกิจ โคกทอง และ คณาจารย์โปรแกรมออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

         วัดพระธาตุ, อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร