ฐานข้อมูล แกงพันงู
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่ออาหาร/ขนม/เครื่องดื่ม[แก้ไข]
แกงพันงู
ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]
แกงผักอีรอก
แหล่ง / ถิ่นอาหาร[แก้ไข]
ตำบลนครชุม
ประเภท อาหาร/ขนม/ ครื่องดื่ม[แก้ไข]
อาหาร
ที่ตั้งพิกัดทางภูมิศาสตร์[แก้ไข]
ละติจูด (Latitude) : 16.479090 ลองจิจูด (Longitude) : 99.506511
ผู้คิดค้น[แก้ไข]
-
ข้อมูลจำเพาะ[แก้ไข]
ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]
เป็นแกงของคนโบราณ 1 ปี กินได้ 1 ครั้ง ออกช่วงเดือนเมษา แกงได้หลายวิธี เช่น แกงใส่หมูสับ หมูย่าง แย้ อึ่ง กบ ปลาย่าง พันงู หรือบุกอีรอกเป็นผักที่คุณค่าทางอาหาร นิยมใช้บำรุงกำลังช่วยในการสูบฉีดโลหิต ป้องกันโรคไหลตายได้
ภาพที่ 1 พันงู (ผักอีรอก)
สรรพคุณ[แก้ไข]
1) ช่วยใช้เป็นยากัดเสมหะ 2) ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล 3) ช่วยลดระดับน้ำตาลในหลอดเลือด และการดูดซึมของน้ำตาลในทางเดินอาหาร
ข้อมูลการประกอบอาหาร[แก้ไข]
เครื่องปรุง[แก้ไข]
พันงู (ผักอีรอก) กะทิ น้ำพริกแกงเผ็ด เนื้อหมู ปลาย่าง ใบมะขามอ่อน ผักชะอม
ภาพที่ 2 เครื่องปรุงแกงพันงู (แกงผักอีรอก)
ขั้นตอนการปรุง[แก้ไข]
ลอกพันงูหั่นเป็นท่อนๆ ประมาณ 1 นิ้ว ไม่ต้องล้างน้ำเพราะจะทำให้คัน โขลกเครื่องพริกแกงให้แหลกปลาย่างแกะเอาแต่เนื้อโขลกลงไป คั้นกะทิแยกหัว แยกหางกะทิ นำส่วนหางกะทิตั้งไฟ เคี่ยวให้แตกมัน ผัดน้ำพริงแกงที่เตรียมไว้ให้หอม ใส่หมูผัดให้สุก เทกะทิใส่ เติมเกลือเล็กน้อย พอน้ำแกงเดือด ใส่พันงูลงไปเคี่ยวจนสุก ใส่ใบมะขามและชะอม ยกกะทะลงจากเตาไฟ ถ้าเป็นหน้าเห็ดถอบจะนิยมใส่ลงไปด้วยเพื่อให้อร่อยยิ่งขึ้น
ภาพที่ 3 เครื่องปรุงแกงพันงู (แกงผักอีรอก)
การเสิร์ฟ/การรับประทาน[แก้ไข]
รับประทานกับข้าวสวยร้อน ๆ
ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]
แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]
ดวงรัตน์ พยอม เทศบาลตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร ชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนนครชุม
วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]
5 มีนาคม 2561
วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]
-
ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]
นางสาวไพลิน สุ่มแก้ว และ นางสาวยุพดี จุลสุข
คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]
-