ภาษาถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร (พรานกระต่าย)

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ[แก้ไข]

         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภาษาถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร กรณีศึกษา ภาษาถิ่นพรานกระต่าย ซึ่งภาษาเป็นวัฒนธรรมระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์และไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้มนุษย์รู้สึกเป็นพวกเดียวกันได้ดีกว่าภาษา ภาษาจึงเป็นสื่อกลางของคนที่อยู่ในชาติหรือในถิ่นฐานที่ตนอาศัยอยู่ โดยเฉพาะภาษาถิ่นจัดเป็นภาษาที่มีเอกลักษณ์หรือเป็นที่นิยมสื่อสารตามท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งในบทความนี้มุ่งประเด็นศึกษาภาษาถิ่นพรานกระต่าย ตามตำนานเล่าไว้ว่า “มีนายพรานเดินทางมาสำรวจเส้นทาง เพื่อไปสร้างเมืองหน้าด่านของกรุงสุโขทัย วันหนึ่งขณะที่กำลังพักแรม นายพรานได้พบกระต่ายขนสีทองสวยงามมากบริเวณหน้าถ้ำแห่งหนึ่ง และ ได้หายเข้าไปในถ้ำ ต่อมานายพราน จึงกราบบังคมทูลพระร่วงให้รับทราบ และรับอาสาจะจับกระต่ายตัวดังกล่าว และได้ใช้ความพยายามที่จะจับตั้งหลายครั้งแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงได้สร้างบ้านถาวรขึ้นบริเวณหน้าถ้ำเพื่อรอจับกระต่าย หลายปีต่อมาจึงมีผู้อพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหมู่บ้าน ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านพรานกระต่าย" ได้รับสถาปนาเป็นอำเภอครั้งแรกเมื่อปี 2438” ภาษาถิ่นพรานกระต่ายเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารตั้งแต่ยุคชุมชนดั้งเดิมที่เข้ามาตั้งรกรากก่อสร้างบ้านเมืองพรานกระต่ายโดยกลุ่มชนดังกล่าวใช้ภาษาพูดเป็นภาษาไทยถิ่นกลาง (รัชดาภรณ์ รักษ์ชน, 2550 หน้า 3) ได้จำแนกภาษาไทยออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ภาษาไทยถิ่นเหนือ ภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นอีสาน และภาษาไทยถิ่นใต้แต่ภาษาไทยถิ่นกลางมีความหมายเพี้ยนไปบ้างเล็กน้อย คือลักษณะเด่นของภาษาถิ่นพรานกระต่าย คือ การใช้วรรณยุกต์เอกและเสียงเอกจะเปลี่ยนเป็นเสียงจัตวา และเสียงวรรณยุกต์จัตวาจะเปลี่ยนเป็นเสียงวรรณยุกต์เอก ซึ่งสภาพทางภูมิประเทศจะไม่มีอิทธิพลต่อภาษาถิ่นพรานกระต่าย เพราะภาษาของชาวพรานกระต่ายจะกระจายออกไปแบบเครือญาติ

คำสำคัญ : ภาษาถิ่น, ภาษาพรานกระต่าย, ภาษากำแพงเพชร

พื้นที่ที่ใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่าย[แก้ไข]

         จากการศึกษาเรื่องเอกลักษณ์ภาษาถิ่นพัฒนาการทางไทยบนถนนพระร่วง พบว่า ภาษาถิ่นพรานกระต่ายเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันอยู่ทั่วไปใน อำเภอ พรานกระต่าย และบริเวณใกล้เคียง ซึ่งใช้กันแทบทุกครัวเรือน ผู้เขียนสรุปพื้นที่ที่ใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่าย ดังนี้
         1. ในเขตอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทุกหมูบ้านในอำเภอนี้พูดภาษาถิ่นพรานกระต่ายทั้งสิ้น เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนเป็นเวลานานมาแล้ว
         2. ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จะมีพื้นที่ใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่ายสื่อสารมีจำนวนหนึ่งหมู่บ้าน ซึ่งได้แก่ หมู่บ้านน้ำดิบ
         3. ในเขตอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ที่ใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่ายสื่อสารมีจำนวน 2 หมู่บ้าน ซึ่งได้แก่ หมู่บ้านหนองหลวงและหมู่บ้านลานกระบือ
         4. อำเภอเมือง จังหวัดตาก มีพื้นที่ใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่ายสื่อสารมีจำนวน 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านตลุกป่าตาล บ้านบ่อไม้หว้า บ้านโป่งแดง บ้านลานสอ บ้านวังประจบ บ้านสะแกเครือ และบ้านไม้งาม
         5. อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ที่ใช้ภาษษพรานกระต่ายสื่อสารมีจำนวน 3 หมู่บ้าน ซึ่งได้แก่ หมู่บ้านคุยเสมอ หมู่บ้านชุมแสงสงครามและหมู่บ้านหนองตูม
         6. อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ที่ใช้ภาษาพรานกระต่ายสื่อสารมีจำนวน 4 หมู่บ้าน ซึ่งได้แก่ หมู่บ้านไผ่ล้อม หมู่บ้านยางซ้าย หมู่บ้านฝอย และหมู่บ้านคลองยาง
         7. อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ที่ใช้ภาษาพรานกระต่ายสื่อสารมีจำนวน 7 หมู่บ้าน ซึ่งได้แก่ หมู่บ้านบึงสนม หมู่บ้านคุยประตู่ หมู่บ้านใหม่เจริญผล หมู่บ้านบ่อคู่ หมู่บ้านทุ่งหลวง หมู่บ้านสามพวง หมู่บ้านเขาทองผางับ และหมู่บ้านโตนด
         8. อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย มีพื้นที่ที่ใช้ภาษาพรานกระต่ายสื่อสารมีจำนวน 1 หมู่บ้าน ซึ่งได้แก่ หมู่บ้านวังตะแบกเหนือ จะเห็นได้ว่าวัฒนธรรมการใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่าย มีอยู่เป็นบริเวณกว้างโดยทั่วไป และมีการสืบทอดโดยตลอด

หลักการเขียนและวิธีใช้ภาษาถิ่น[แก้ไข]

         จากการศึกษาเอกลักษณ์ภาษาถิ่น พัฒนาการทางไทยบนถนนพระร่วง (เทศบาลพรานกระต่าย, ม.ป.ป.) สรุปหลักการเขียนและวิธีใช้ภาษา ดังนี้
         1. ตัวพยัญชนะนั้นลำดับไว้ตามตัวอักขระคือ ก ข ฃ ค ฯลฯ จนถึง อ ฮ ไม่ได้ลำดับตามเสียง เช่น จะค้นคำ เทิน จะต้องไปหาในหมวดตัว ท: จะค้นคำเหมืองจะต้องไปหาในหมวด ห
         2. สระนั้นก็ไม่ได่ลำดับตามเสียง ลำดับไว้ตามรูปสระ ดังนี้ เ แ โ ใ รูปสระที่ประสมกันหลายรูปก็จัดเรียงตามลำดับรูปสระที่อยู่ก่อนและหลังตามลำดับข้างบนนี้เหมือนกัน
         3. พยัญชนะกับสระประสมกัน ลำดับพยัญชนะก่อนแล้วจึงลำดับตามรูปสระส่วนพยัญชนะที่ไม่มีสระปรากฏเป็นรูปประสมอยู่ด้วยเอาไว้ข้างหน้า เช่า ขมังข้าว ขมักน้ำ อยู่หน้า ชะโยน กง อยู่หน้า กะ ถ้าผู้ใช้เอกลักษณ์ภาษาถิ่นนี้จะพลิกดูลำดับในเล่มเสียงให้ตลอดสักตัวอักษรหนึ่ง ก็จะทราบวิธีค้นได้โดยง่าย
         4. ไม้เอก,ไม้โท,ไม้ตรี,ไม้จัตวา,ไม้ไต่คู่และไม้ทัณฑฆาต เหล่านี้ไม่ได้จัดเข้าในลำดับ
         5. คำที่มีความหมายคล้ายคำเดิม แต่ต้องมีคำอื่นประกอบด้วย และคำประกอบนั้นขึ้นต้นด้วยอักษรตัวอื่น มิได้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเดียวกับคำเดิมเก็บเรียงในลำดับอักษรนั้นๆ เช่น ข้าวเกรก เก็บเรียงที่อักษร ข, ไม่เก็บเรียงที่ อักษร ก, ขะมุกเก็บเรียงที่อีกษร ฃ ไม่เก็บเรียงที่อักษร ม

ตัวอย่างภาษาที่เป็นพรานกระต่าย[แก้ไข]

         จากการศึกษา เรื่อง เอกลักษณ์ภาษาถิ่นพรานกระต่าย (องค์การบริหารส่วนตำบลพรานกระต่าย, 2547) สรุปตัวอย่างคำภาษาพรานกระต่ายเบื้องต้น ดังนี้
ล้มกลิ้งกับพื้น ภาษาพรานกระต่ายคือ กลิ้งกะหลุ๋น
ก้องดินในทุ่งนา ภาษาพรานกระต่ายคือ ก้อนขี้แต้
รถมอเตอร์ไซค์ ภาษาพรานกระต่ายคือ รถตามอ
เล่นหมากเก็บ ภาษาพรานกระต่ายคือ เล่นหมากปากเปิด
ตรงโน้น ภาษาพรานกระต่ายคือ โด๋น่ะ
จอบขุดดิน ภาษาพรานกระต่ายคือ กระเบิ้งเหิ๋ง หรือกระบก
ตุ๊กแก ภาษาพรานกระต่ายคือ ตอดตอ
ลูกน้ำ ภาษาพรานกระต่ายคือ ตะกะเตี้ย
เป็นหลุมเป็นบ่อ ภาษาพรานกระต่ายคือ กะบวกกะบั้ว
         1. ลักษณะการใช้ภาษาถิ่น (พรานกระต่าย) วัฒนธรรมการใช้ภาษา ภาษาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นภาษากลาง แต่จะมีเพี้ยนไปบ้างก็ยังพอมีเค้าเดิม การเพี้ยนไปนี้เป็นภาษาทางภาคไหน เพี้ยนมาตั้งแต่โบราณกาลแล้วดังต่อไปนี้ คือ
เสื่อ เพี้ยนเป็น เสือ
ข้าวสาร เพี้ยนเป็น ข้าวส่าน
หนังสือ เพี้ยนเป็น หนังสื่อ
คนสวย เพี้ยนเป็น คนส่วย
มั่งซิ เพี้ยนเป็น มั้งฮิ่
ไปซิวะ เพี้ยนเป็น ไปซั้ว
ไปไหนเล่า เพี้ยนเป็น ไปเม้า
         2. ภาษาถิ่นที่ยังใช้กันอยู่แพร่หลาย และยังใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้บางคำที่ไม่เหมือนกับภาคอื่นๆ เช่น
ขี้ปู๊น คือ ฝรั่ง (ผลไม้)
น้ำแหน่ คือ น้อยหน่า
ยู้ คือ ผลัก,ดัน
โต๋ คือ ตรงโน้น
เนียะ คือ ตรงนี้
ตะพัด คือ สะพัดกั้น
มอด คือ รอดใต้
ยั้ง คือ หยุด
ไม้เส้า คือ ไม้สอยผลไม้
ขวม คือ ครอบ,สวม
แหงะ คือ เหลียวดู,หันหน้ามา
กะบก คือ จอบ
กะจอบ คือ เสียม
คุ คือ ถังน้ำ
อีมุย คือ ขวาน
ตะแก้ม คือ จิ้งจก
แมงกะบี้ คือ ผีเสื้อ
ตะกะเดี้ย คือ ลูกน้ำ (ลูกยุง)
ลูกโจ๋ คือ ลูกสุนัข
หยูด คือ ไม่กรอบ
แคบหมู คือ หนังหมูทอดพอง
จิ้งใน คือ จิ้งหรีด
         3. คำสร้อย ใช้เสียงดนตรีในการจบประโยคการสนทนา
ภาษามาตรฐาน ภาษากำแพงเพชร
เอาเอง เอาเอิง
ไปไหนมา ไปไหนมาเล๊า
เอาซิ เอาฮิ
        4. ภาษาเปลี่ยนไป
อยู่ที่นี่ ไต๊นี่
อยู่โน้น อยู่ปู่น
         จากผลงานวิจัย เรื่อง การศึกษาทางสังคมในการเปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์ของภาษาไทยกลางและภาษาถิ่นพรานกระต่าย และคำศัพท์เฉพาะที่ใช้ในท้องถิ่น (รัชดาภรณ์ รักษ์ชน, 2550 หน้า 17-45) พบว่า ภาษาถิ่นพรานกระต่าย มี 5 วรรณยุกต์ เหมือนกับภาษาไทยกลางนั่นคือ วรรณยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ ดำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์จัตวาในภาษาไทยกลาง จะออกเสียงในวรรณยุกต์ เอก ในภาษาถิ่นพรานกระต่าย และคำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์ เอกและโท ในภาษาไทยกลาง จะออกเสียงในวรรณยุกต์จัตวา ในภาษาถิ่นพรานกระต่าย และในด้านของคำศัพท์เฉพาะของภาษาถิ่นพรานกระต่ายนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 16 กลุ่ม นั้นคือ 1) กลุ่มคำสร้างคำเสริม 2) กลุ่มคำผสมที่มีสัมผัสสระ 3) กลุ่มคำเลียนเสียงธรรมชาติ 4) กลุ่มคำที่มีการสลับที่พยัญชนะ 5) กลุ่มคำที่เรียกตามลักษณะการใช้ 6) กลุ่มคำที่ไม่ถูกใช้แล้ว 7) กลุ่มคำยืน 8) กลุ่มคำที่บางพยางค์ถูกตัดออกไป 9) กลุ่มคำที่ถูกกลืมเสียง 10) กลุ่มคำที่เรียกตามลักษณะเฉพาะ 11) กลุ่มคำที่ใช้เหมือนกับภาษาไทยกลาง 12) กลุ่มคำที่สร้างขึ้นมาใหม่ 13) กลุ่มคำที่มีบางส่วนของคำถูกตัดและเพิ่ม 14) กลุ่มคำที่เพิ่มคำอุปสรรค 15) กลุ่มคำที่สระเปลี่ยน 16) กลุ่มคำที่ตัวควบกล้ำหายไป
         1. กลุ่มคำสร้างคำเสริม
             •	 กงล้อ กงรถ --> กงล้อ + กงรถ
             ความหมาย : ล้อรถ
             ที่มา : กงล้อ (วง,ส่วนรอบของล้อ)
                      กงรถ (วง,ล้อรถ)
             • กระบวกกระบั๋ว --> กระบวก + กระบั๋ว
             ความหมาย : เป็นหลุมเป็นบ่อ	
             ที่มา : กระบวก (เป็นหลุมเป็นบ่อ)
                      กระบั๋ว (ไม่มีความหมาย)
             • กระเซะกระแซะ --> กระเซะ + กระแซะ
             ความหมาย : เปียก
             ที่มา : กระเซะ (รู้สึกเริ่มจะเป็นไข้)
                      กระแซะ (ไม่มีความหมาย
             • ไข้ตะก๊นตะก๊าน --> ไข้ตะกุ๊น + ตะก๊าน  
             ความหมาย : รู้สึกเริ่มจะเป็นไข้
             ที่มา : ไข้ตะกุ๊น (รู้สึกเริ่มจะเป็นไข้)
                      ตะก๊าน (ไม่มีความหมาย)
         2. กลุ่มคำผสมที่มีสัมผัสสระ
             • ซะโลกโกกเกก --> ชะโลก + โกกเกก
             ความหมาย : หุบเขาที่มีหินมาก ไม่เรียบ
             ที่มา : ชะโลก (ไม่มีความหมาย)
                      โกกเกก (เกะกะระราน ไม่เรียบร้อย)
         3. กลุ่มคำเลียนเสียงธรรมชาติ
             • กุ๊กๆ หรือ โก๊กๆ
             ที่มา : กาทำเสียงเรียกให้ไก่มากินข้าว ; เลียนเสียงไก่			 		
             เช่น : เวลาจะเรียกไก่ให้มากินข้าวจะทำสียง ก็ก กุ๊ก ๆๆๆๆ (พร้อมทำท่าทางดีดนิ้ว)
             • ไกตั๊กกะก๊าก
             ที่มา : เสียงไก่เวลาตกใจร้อง (ตัวเมีย)		 		
             เช่น : ไก่ตกใจเมื่อมีเสียงแปลกปลอม เช่น คน, งู เข้าไป ไก่จะขัน “ไกตั๊กกะต๊าก”
             • โจ๋ๆ
             ที่มา : การทำเสียงเรียกให้สุนัขมา(ลูกสุนัข)			 		
             เช่น : เวลาจะเรียกให้ลูกสุนัขมา ก็ทำเสียง “โจ๋ โจ่ ๆๆๆๆ”
             • เด๊าะๆ โอ๊ะๆ
             ที่มา : การทำเสียงเรียกสุนัขให้มา (สนุขตัวใหญ่)			 		
             เช่น : การทำเสียงเรียกให้สุนัขมา “ เด๊าะๆ โอ๊ะๆๆๆ ”
         4. กลุ่มคำที่มีการสลับที่พยัญชนะ
             • กระต้า --> (กระ + ต้า)
             ที่มา : ตะกร้า (ตะ + กร้า)
             เช่น : ภาชนะสานเป็นที่ใส่ของ
             • กระต้อ --> (กระ + ต้อ)
             ที่มา : ตะกร้า (ตะ +กร้อ)
             เช่น : กระโซงที่สานเป็นตะกร้อใช้วิดน้ำ
             • (รถ)ตามอ --> (ตา + มอ)
             ที่มา : มอตาไซต์ ( มอ + ตา )
             เช่น : รถจักรยานยนต์ 2 ล้อ
         5. กลุ่มคำที่เรียกตามลักษณะการใช้กระพือ   กระ (ไม่มีความหมาย) + พือ (ไม่มีความหมาย)
             เช่น :        พัดจีน	  		
             ที่มา :       การใช้พัดจีน พัดหรือโบก เรียกลักษณะนั้นว่า กระพือ (โบก , พัดไป)	
             • ก้อนเซ้า (ก้อนเช้า)           ก้อน (วัตถุกลมๆ) + เช้า (เวลาตั้งแต่สว่างถึงเที่ยง)
             เช่น : 	     ก้อนหินที่วางใช้หุงข้าว 		
             ที่มา : 	     การเอาก้อนหิน 3 ก้อนมาวาง ก่อไฟ เพื่อหุงข้าว
             • ขะโยน    ขะ (ไม่มีความหมาย) + โยน (ทิ้งให้พ้นไกลจากตัว,เหวี่ยง)
             เช่น : 	     ที่ตักน้ำจากบ่อ	  		
             ที่มา : 	     ถังน้ำที่โยนลงในบ่อเพื่อตักน้ำขึ้นมา
             • ผ้าห่มเข้า (ผ้าห่มเช้า)        ผ้า (สื่งที่ทอถักเป็นผืนด้วยฝ้ายหรือเยื่อใยต่างๆ) + ห่ม (หุ้ม ห่อ) + เช้า (เวลาตั้งแต่สว่างถึงเที่ยง)
             เช่น : 	     ผ้าขนหนู	
             ที่มา :	     ผ้าที่ห่มไปอาบน้ำตอนเช้า
         6. กลุ่มคำที่ไม่ถูกใช้แล้วกะลอง     กะ (กำหนด, หทาย, คะเน) + ลอง (ทำทดสอบดู)
             เช่น : การเอามือลูบหรือสะกิดลูกอัณฑะ
             การแทนคำ : (ไม่มี)
             • ข้าวเกรก     ข้าว (เมล็ดของพืชในจำพวกหญ้าใช้เป็นอาหารหลัก) + เกรก (ไม่มีความหมาย)
             เช่น : ข้าวเกรียบ
             การแทนคำ : ข้าวเกี๋ยบ ซึ่งเป็นการเพี้ยนเสียง จากคำว่า ข้าวเกรียบ
             • ปุ้น     ปุ้น (ไม่มีความหมาย)
             เช่น : หัน
             การแทนคำ : หั่น ซึ่งเป็นการเพี้ยนเสียงจากคำว่า หัน
             • เสือตบตูด     เสือ (สัตว์ป่า 4 เท้ามีเล็บคม ลำตัวลายเหลืองสลับดำ) + ตบ (เอาฝ่ามือตี) + ตูด (ทวาร)
             เช่น : ด้วยดักแด้
             การแทนคำ : ตัวค๋วง ซึ่งเป็นการเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า ตัวค้วง
         7. กลุ่มคำยืนเจิงเหลิม     เจิง (ไม่มีความหมาย) + ดหลิม (ไม่มีความหมาย)
             เช่น : น้ำแกงมากเกินไป
             การแทนคำ : จะเล่น เพี้ยนมาจากคำว่า จะล้น
                               เจิ๋ง   เพี้ยนเสียงจากคำว่าเจิ่ง (แผ่ไปมากกว่าปกติ มักใช้แก่น้ำ)
             • เจียมเหลิง     เจียม (รุจักประมาณตัวเอง) + เหลิง (คะนอง,เกินความพอดี)
             เช่น : สะอาด
             การแทนคำ : สะอาด เอี๋ยม (ซึ่งเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า สะอาด เอี่ยม)
             • แทงคอน     แทง (ใช้ของคมทิ่มลงไป) + คอน (แบกสิ่งของของที่ห้อยปลายคานข้างเดียว)
             เช่น : ไปหาเขาตั้งแต่เขายังไม่ตื่น
             การแทนคำ : ไปห่าเข่าแต๊เช้า ซึ่งดพี้ยนเสียงมาจาก ไปหาเขาแต่เช้า
         8. กลุ่มคำที่บางพยางค์ถูกตัดออกไปกะมัง     กะ + มัง
             ที่มา : กะละมัง (กะ + ละ + มัง)    	
             เช่น : ซาม อ่าง หรือจาน
             • มาชิ     มา + ซิ
             ที่มา :  มานี่ซิ (มา + นี่  + ซิ)	
             เช่น : มาทางนี่ หน่องซิ
             • เสือกกระดี่     เสือก + กระ + ดี๋
             ที่มา : เสือกปลากระดี่ (เสือก + ปลา + กระ + ดี่)   	
             เช่น : การว่ายน้ำหงายหลัง
             • เดินโดกแดก     เดิน + โดก + เดก
             ที่มา :  เดินกระโดกกระเดก (เดิน + กระโดก + กระเดก) 	
             เช่น : เดินไปเดินมา ไม่เรียบร้อย
         9. กลุ่มคำที่ถูกกลืมเสียงจริงเม๊า     จริง + เม๊า
             ที่มา : จริงไหมเล่า (จริง + ไหม + เล่า)	
             เช่น : ใช่ไหม
             • ไปชัวะ     ไป + ชัวะ
             ที่มา : ไปชิวะ (ไป + ชิ + วะ)
             เช่น : ไปสิ (ยืนยันว่าไปแน่นอน)
         10. กลุ่มคำที่เรียกตามลักษณะเฉพาะ
             • ขนมคู่     ขนม (ของหวาน)  + คู่ (สองอย่างควบคู๋กัน)
             มาจาก : ปลาท่องโก๋
             ที่มา : ลักษณะของขนมที่ติดกกันเป็นคู่
             • ดั้งกางเกง     ดั้ง (สันจมูก) + กางเกง (เครื่องนุ่ง มี 2 ขา)
             ที่มา : เป้ากางเกง
             มาจาก : ลักษณะส่วนตรงเป้ากางเกงที่มีลักษณะคล้ายกับคั้งหรือสันจมูก
             • ปลาหง     ปลา (สัตว์ที่อาสัยอยู่ใต้น้ำ มีครีบ มีหาง) + หง (แดง)
             มาจาก : ปลาดุกตัวเล็กมีผังแดงๆ
             ที่มา : ลักษณะสีของลูกปลาที่มีผังสีแดงที่ลำตัว
         11. กลุ่มคำที่ใช้เหมือนกับภาษาไทยกลาง
คำศัพท์ภาษาถิ่น ความหมาย คำศัพท์ไทยกลาง ความหมาย
กระเจิง กระจาย กระเจิง แตกหมู่ไป
จริงจัง มากมาย จริงจัง แน่แท้, หนักแน่น, มาก
ทด ทำนบกั้นน้ำ ทด ที่กั้นน้ำ
ตะไก กรรไกร ตะไก เครื่องมือสำหลับตัดโคยใช้หนิบ
โน้น ไกลริบ โน้น ใช้ประกอบนามที่อยู่ไกล
         12. กลุ่มคำที่สร้างขึ้นมาใหม่ก๊วยติ๊งนง     ก๊วย (ไม่มีความหมาย) + ติ๊ง (ไม่มีความหมาย) + นง (ไม่มีความหมาย)
             การสร้างความหมายคำใหม่ : ไขว่ห้าง
             • คุย     คุย (พูดสนทนากัน)
             การสร้างความหมายคำใหม่ : ป่าสูง
             • เงิง     เงิง (ไม่มีความหมาย)
             การสร้างความหมายคำใหม่ : (ปิด) ไม่สนิด
         13. กลุ่มคำที่มีบางส่วนของคำถูกตัดและเพิ่มอีซิว     อี + ซิว
             ที่มา : (อี) + ปลา + กระ + ซิว
             คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม : อี 
             การตัดคำ : ปลา / กระ
             เช่น : ปลากระซิว
             • อีข้อง     อี + ข้อง
             ที่มา : (อี) + ตะ + ข้อง
             คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม : อี 
             การตัดคำ : ตะ
             เช่น : ตะข้องใส่ปลา
             • ไอ้โต้ง     ไอ้ + โต้ง
             ที่มา : (ไอ้) + ไก่ + โต้ง
             คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปปจากเดิม : ไอ้ 
             การตัดคำ :	ไก่
             เช่น :	ไก่โต้ง
         14. กลุ่มคำที่เพิ่มคำอุปสรรคอีโหง     (อี) คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม + โหง
             ที่มา : โหง
             เช่น : เครื่องซ้องปลา           
             • อีบุ้ง     (อี) คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม + บุ้ง
             ที่มา : บุ้ง
             เช่น : หนอนผีเสื้อ
             • อีอ้อ     (อี) คำที่ใช้เติมเข้าข้างหน้าคำอื่นแล้วทำให้คำคำนั้นมีความหมายผิดไปจากเดิม  +  อ้อ
             ที่มา : อ้อ	
             เช่น : มันสมอง
         15. กลุ่มคำที่สระเปลี่ยนกะต๋อนกระแต๋น     กระท่อนกระแท่น
             เช่น :	ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่สืบเนื่อง
             • ซวดเลย     ซวดเลย
             เช่น :	อด, ไม่ได้, ผิดหวัง
             • งัว     วัว
             เช่น : วัว ; สัตว์ 4 ขาเลี้ยงลูกด้วยนม
         16. กลุ่มคำที่ตัวควบกล้ำหายไปไขห้าง     ไขว์ห้าง
             เช่น : ไขว์ห้าง ; เอาขาข้างหนึ่งพาดบนอีกข้างหนึ่ง
             • เพี้ยงทำ     เพลี้ยงท่า
             เช่น : เสียท่า, พลาดท่า

บทสรุป[แก้ไข]

         ภาษาถิ่นพรานกระต่ายเป็นภาษาที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนในปัจจุบันนอกจากชาวอำเภอพรานกระต่ายแล้วยังมีผู้ใช้ ภาษาถิ่นพรานกระต่าย ในเขตอำเภอเมือง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร รวมถึงจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ จังหวัดตากและ จังหวัดสุโขทัย จากผลงานวิจัย พบว่า ภาษาถิ่นพรานกระต่าย มี 5 วรรณยุกต์ เหมือนกับภาษาไทยกลางนั่นคือ วรรรยุกต์ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา แต่มีความแตกต่างกันตรงที่ คำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์จัตวาในภาษาไทยกลาง จะออกเสียงในวรรณยุกต์ เอก ในภาษาถิ่นพรานกระต่าย และคำที่ออกเสียงในวรรณยุกต์ เอกและโทในภาษาไทยกลาง จะออกเสียงในวรรณยุกต์จัตวา ในภาษาถิ่นพรานกระต่าย และ    ในด้านของคำศัพท์เฉพาะของภาษาถิ่งพรานกระต่ายนั้น เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 16 กลุ่ม โดยในปัจจุบันการใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่าย มีลักษณะการใช้แบบกระจายออกไปแบบเครือญาติ โดยผู้ใช้จะมีความภาคภูมิใจและรู้สึกเป็นเจ้าของในภาษา ทำให้การใช้ภาษาถิ่นพรานกระต่ายยังคงอยู่ และถูกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไปอย่างยั่งยืน