ระบำเกลียวเชือก
ไบยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา
ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]
ชื่อการละเล่น[แก้ไข]
ระบำเกลียวเชือก
ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]
ตะลุโคะ
ประเภทการละเล่น[แก้ไข]
-
โอกาสที่ใช้การละเล่น[แก้ไข]
ประเพณีต่าง ๆ เช่น เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ปกาเกอะญอ วันลอยกระทง และหลังเก็บเกี่ยวข้าว หรือผลผลิตของชาวกะเหรี่ยง (CS, 2561)
ผู้คิดค้น[แก้ไข]
-
สถานที่จัดกิจกรรม[แก้ไข]
หมู่บ้านขุนห้วยแม่ท้อ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก (CS, 2561)
ข้อมูลการละเล่น[แก้ไข]
ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]
เกลียวเชือกก็เปรียบเสมือนมิตรภาพในกลุ่มเพื่อน ยามใดที่เส้นเชือกเส้นเล็กเส้นน้อยรวมตัวเป็นเกลียวเดียวกันนั้นหมายถึงความสามัคคี แต่ในยามที่ปลายซองเกลียวเฮือกบานออกนั่นคงหมายความว่ารอยแยกระหว่างมิตรภาพ ลักษณะสำคัญชองศิลปะการแสดงชุดนี้เป็นการแสดงของสาวเซาเผ่ากะเหรี่ยงที่แสดงงความรัก ความสามัดดี ความพร้อมเพรียงและการร่วมูมือ ร่วมใจกันฮองชนเผ่า เพื่อบ่งบอกให้เห็นถึงความงามของสายน้ำ ธรรมชาติ ภูเขา และความเป็นอยู่ของชนเผ่าที่รักความสงบสุข บทเพลงจะถ่ายทอดถึงวิถีชีวิตของเผ่ากะเหรี่ยง มีนัยและความหมายที่ต้องการสะท้อนให้เห็นถึงด้วยความสามัคคี ความพร้อมเพรียง ผสมผสานการเล่นคนตรีที่เป็นจังหวะ แสดงถึงความสามัคคีของผู้ร้อยเชือก ผู้ร้องและผู้เล่นคนตรี ที่มีจังหวะสอดคล้องกันได้อย่างลงตัวและสวยงาม และการร่วมมือร่วมใจกันข้องซนเผ่า ความสามัคคีกลมเกลียวในหมู่คณะ ที่เปรียบดังเส้นเฮือกหลายเส้นหลายสี (สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, ม.ป.ป.)
อุปกรณ์ประกอบ[แก้ไข]
1. เชือก 3 สีที่แทนด้วยสีของธงชาติประเทศไทย 2. เสาไม้ เพื่อยึดเชือกไว้ตรงกลาง
วิธีการเล่น[แก้ไข]
เด็กผู้หญิงใส่ชุดประจำเผ่าปกาเกอะญอที่เรียกว่า เชวา ซึ่งเป็นชุดที่ใส่ได้เฉพาะเด็กสาวที่ยังไม่แต่งงานเท่านั้น เดินนำหน้าขบวน ส่วนเด็กผู้ชายก็ใส่เสื้อปกาเกอะญอสีแดง ตามด้วยแถวของชาวบ้านที่พากันแต่งกายอย่างสวยงามมาร่วมเฉลิมฉลอง (ไทยรัฐออนไลน์, 2560)
กฎกติกา/มารยาท[แก้ไข]
เด็กสาวที่มาร่วมการละเล่นจะต้องเป็นเด็กสาวที่ยังไม่แต่งงานเท่านั้น (ไทยรัฐออนไลน์, 2560)
ระยะเวลา[แก้ไข]
การละเล่นครั้งละ 5 นาที
ข้อมูลผู้เล่น[แก้ไข]
เพศผู้เล่น[แก้ไข]
เพศหญิงและเพศชาย
จำนวนผู้เล่น[แก้ไข]
ไม่กำหนดจำนวนผู้เล่น
ลักษณะผู้เล่น[แก้ไข]
เพศหญิงและเพศชาย
การแต่งกายของผู้เล่น[แก้ไข]
1. เชวา ซึ่งเป็นชุดที่ใส่ได้เฉพาะเด็กสาวที่ยังไม่แต่งงานเท่านั้น 2. เด็กผู้ชายก็ใส่เสื้อปกาเกอะญอสีแดง
ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]
แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]
ไทยรัฐออนไลน์. (18 มีนาคม 2560). เที่ยวงานช้าง'บ้านปูเต้อวิถีป่า..วิถีปกาเกอะญอ. https://www.thairath.co.th/news/887676 สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). ระบำเกลียวเชือก อ.พบพระ. https://www.thaiculture.go.th/script/test.php?pageID=108&table_d=performance&s_type= CS. (20 กุมภาพันธ์ 2561). ระบำเกลียวเชือก [Video]. Youtube. https://www.youtube.com/watch?v=6Pyv9GUZcrE
วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]
21 ธันวาคม 2566
วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]
-
ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]
พรลดา พิมพ์แปลก ชฎาพร ฉัตรธรรม ณัฏฐ์ธิดา เทศวัง พันธ์นภา ทองเนตร วินิจสา รักษ์พงษ์ น้องทราย ใจดี
คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]
ระบำเกลียวเชือก เป็นการแสดงของชาวกะเหรี่ยงที่มักแสดงกันในช่วงเทศกาลปีใหม่ และหลังช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ถือเป็นการสืบสานความภาคภูมิใจ และร่วมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของชนเผ่ากะเหรี่ยงการแสดงระบำเกลียวเชือกมีการแสดงครั้งแรกที่หมู่บ้านห้วยแม่ท้อ อ.แม่ระมาด จ.ตาก และได้เผยแพร่วัฒนธรรมการแสดงนี้ไปยังพี่น้องชาวปกาเกอะญอในเขตอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดตาก และในอำเภอท่าสองยางก็มีการแสดงระบำเกลียวเชือกด้วยเช่นกัน เนื่องจากร้อยละ 90 ของผู้คนที่อาศัยอยู่ในอำเภอท่าสองยางเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ฉะนั้นจึงมีการแสดงระบำเกลียวเชือกให้เห็นเป็นประจำทุกงานประเพณีวันขึ้นปีใหม่ปกาเกอะญอ หรืองานฉลองหลังจากเก็บเกี่ยวข้าว หรือผลผลิตของชาวกะเหรี่ยง (สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, ม.ป.ป.)