รำตง

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

ข้อมูลทั่วไป[แก้ไข]

ชื่อการละเล่น[แก้ไข]

         รำตง

ชื่อเรียกอื่น ๆ[แก้ไข]

         ภาษากะเหรี่ยง เรียกว่า เท่อลีตง หรือไยตง (Pornthip, 2555)

ประเภทการละเล่น[แก้ไข]

         เป็นการแสดงการรำพื้นบ้านของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง (Pornthip, 2555)

โอกาสที่ใช้การละเล่น[แก้ไข]

         งานสงกรานต์ งานศพ ประเพณีทำบุญข้าวเปลือกใหม่ ซึ่งประเพณีดังกล่าวมีพิธีกรรมทำบุญรับขวัญข้าวใหม่และขอบคุณพระแม่โพสพ รำตงถูกนำมาใช้เป็นเครื่องถวายสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล โดยรำตงที่นำมาจัดแสดงถวายนี้มักมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนคติความเชื่อต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นการอบรมสั่งสอนลูกหลานชาวกะเหรี่ยง (ThaiHealth Official, 2557) 

ผู้คิดค้น[แก้ไข]

         -

สถานที่จัดกิจกรรม[แก้ไข]

         เวทีในร่มหรือสนามหญ้า (ThaiHealth Official, 2557)

ข้อมูลการละเล่น[แก้ไข]

ประวัติความเป็นมา[แก้ไข]

         รำตง เป็นการละเล่นของชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิแบะอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี “ตง” เป็นการออกเสียงตามภาษาไทยชาวกะเหรี่ยงจะออกเสียงว่า “โตว” คำว่า ตง หรือ โตว นี่คงจะมาจากเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ ยาว 1 ปล้อง เจาะเป็นช่องตรงกลางเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน
         “การละเล่นรำตง” เป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง (โปว์) ในท้องที่บ้านกองม่องทะ ตำบลไล่โว่ อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นด้วยความเชื่อมั่นและความศรัทธาโดยยกหลักธรรมคำสอนในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดจนคติความเชื่อต่างๆ เพื่อใช้เป็นการอบรมสั่งสอนลูกหลานชาวกะเหรี่ยง การละเล่นรำตงจัดเป็นนาฏกรรมที่ปรากฏมานานกว่า 200 ปี ในอดีตนิยมแสดงกันอย่างแพร่หลาย แต่ปัจจุบันกลับปรากฏเฉพาะในงานพิธีกรรมสำคัญซึ่งเป็นงานประจำปีของชนเผ่าเท่านั้น
         “รำตง หรือ เท่อลี่ตง” ในภาษากะเหรี่ยงนั้น หมายถึง การเหยียบย่ำ หรือการเต้นรำ ให้เข้าจังหวะ เมื่อเคาะแล้วจะมีเสียงดัง ตง ตง ตง ตง โดยมีเครื่องเคาะจังหวะที่ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่ สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการเลียนเสียงมาจากเครื่องดนตรีเฉพาะที่เรียกว่า “วาเหล่เคาะ” เป็นชื่อเรียกเครื่องดนตรีซึ่งเป็นเครื่องกำกับจังหวะประเภทหนึ่งของชาวกะเหรี่ยง ทำจากไม้แดงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีฉิ่งวางหงายทางด้านบนอยู่มุมใดมุมหนึ่ง
          รำตงมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับผู้คิดค้นท่ารำและเพลงจะตั้งชื่อตามคณะของตนเอง การแสดงรำตงของชาวกะเหรี่ยงโปว์ปัจจุบันเหลืออยู่ 5 ชุด คือ รำตงอะบละ รำตงเหร่เร รำตงไอ่มิ รำตงหม่องโยว์การแสดงของเด็ก และรำตงหม่องโยว์การแสดงของผู้ใหญ่ รำตงเป็นการแสดงพื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงที่ผสมผสานทั้งการร้อง การรำ และการทำจังหวะ พร้อมกับการแสดงอารมณ์และความรู้สึกออกมาอย่างอิสระ (จีรภา อินทะนิน, 2566)

อุปกรณ์ประกอบ[แก้ไข]

         ผ้าเช็ดหน้าที่ผูกกับนิ้วกลางข้างขวา ทั้งนี้เพื่อเสริมให้เห็นความพร้อมเพรียงในการรำมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในท่าที่ต้องเคลื่อนไหวด้วยการใช้อุปกรณ์ในมือ หรือเมื่อมีการสะบัดข้อมือ ในส่วนของบทเพลงร้องประกอบการแสดง เนื้อหาในการแสดงโดยส่วนใหญ่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อและความศรัทธาเฉพาะกลุ่มชน เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง ได้แก่ กลองสองหน้า ระนาด ฆ้องวง พิณหรือปี่ ฉิ่ง ตง 

(ไม้ไผ่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เซาะเป็นร่องใช้ไม้ตีให้จังหวะ) (ThaiHealth Official, 2557)

วิธีการเล่น[แก้ไข]

         การแสดงรำตง เป็นการร้องและรำที่ใช้เสียงดนตรีประกอบในการแสดงเป็นผู้หญิงหรือชายก็ได้โดยทั่วไปนิยมใช้ผู้แสดงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจำนวน 12 – 16 คนหรืออาจมากกว่าทั้งนี้อยู่กับสถานที่แสดงซึ่งอาจเป็นเวทีในร่มหรือสนามหญ้าการแสดงมีการตั้งแถวผู้แสดงเป็นแถวลึกประมาณ 4-6 แถว และยืนห่างกันประมาณ 1 ช่วงแขน ชุดที่ใส่ในการแสดงรำตง เป็นชุดกระโปรงปักด้วยด้ายสีสด คาดเข็มขัดเงินที่ที่เอว เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบด้วยการแสดงคือกลองสองหน้า ระนาด ฆ้องวง พิณหรือปี่ ฉิ่งตง (ไม้ไผ่ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร เพราะเป็นร่องใช้ไม้ตีให้จังหวะ) เนื้อร้องของเพลงลำตรงมีเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของกะเหรี่ยงการอบรมให้เป็นคนดีและเกี่ยวกับพุทธศาสนาท่าทางที่รำคล้ายกับฟ้อนพม่า (จีรภา อินทะนิน, 2566)
         ตั้งแถวเป็นแถวลึกประมาณ 5-6 แถว ยืนห่างกันประมาณ 1 ช่วงแขน ส่วนการแต่งกายนั้นแยกตามลักษณะของหญิงและชาย ในด้านของท่ารำเป็นท่าที่เรียบง่ายเพื่อต้องการความพร้อมเพรียง คล้ายกับฟ้อนพม่า เอกลักษณ์อยู่ที่การย่ำเท้าด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเพลง” นายนรพล คงนานดี เล่า (ThaiHealth Official, 2557)

กฎกติกา/มารยาท[แก้ไข]

         -

ระยะเวลา[แก้ไข]

         -

ข้อมูลผู้เล่น[แก้ไข]

เพศผู้เล่น[แก้ไข]

         เพศหญิงหรือเพศชายก็ได้

จำนวนผู้เล่น[แก้ไข]

         จำนวน 12-16 คน หรืออาจมากกว่า 

ลักษณะผู้เล่น[แก้ไข]

         โดยทั่วไปนิยมใช้ผู้แสดงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน

การแต่งกายของผู้เล่น[แก้ไข]

         โดยผู้หญิงจะสวมชุดกระโปรงสีขาวยาวกรอมเท้า หรือที่ภาษากะเหรี่ยงเรียกว่า “ไช่กู่กี๋” เป็นเครื่องแต่งกายประจำชนเผ่าของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยง มีลักษณะเป็นเสื้อกระโปรงยาวกรอมเท้าสีขาว บางครั้งจะทอเป็นลวดลายสีแดงในแนวตั้ง บางครั้งทอยกดอกเป็นตาราง มีพู่ห้อยเป็นระยะ คอแหลม คาดเข็มขัดเงินที่เอว 
         สำหรับผู้ชายก็ใส่ชุดประจำเผ่าเป็นเสื้อสีแดง นุ่งโสร่ง (ThaiHealth Official, 2557)

ข้อมูลการสำรวจ[แก้ไข]

แหล่งอ้างอิง[แก้ไข]

จีรภา อินทะนิน. (15 มกราคม 2566). รำตง. ฐานข้อมูลท้องถิ่นกาญจนบุรี-สุพรรณบุรี. https://rlocal.kru.ac.th/?p=7088   
Pornthip. (16 มีนาคม 2555). รำตง. ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม. http://m-culture.in.th/album/127311
ThaiHealth Official. (27 มีนาคม 2557). รำตง วัฒนธรรมกะเหรี่ยง. https://www.thaihealth.or.th/รำตง-วัฒนธรรมกะเหรี่ย/

วันเดือนปีที่สำรวจ[แก้ไข]

         26 ธันวาคม 2566

วันปรับปรุงข้อมูล[แก้ไข]

         -

ผู้สำรวจข้อมูล[แก้ไข]

         พรลดา พิมพ์แปลก
         ชฎาพร ฉัตรธรรม
         ณัฏฐ์ธิดา เทศวัง
         พันธ์นภา ทองเนตร
         วินิจสา รักษ์พงษ์
         น้องทราย ใจดี

คำสำคัญ (tag)[แก้ไข]

        รำตง เป็นการละเล่นของชาวกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในอำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิแบะอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี “ตง” เป็นการออกเสียงตามภาษาไทยชาวกะเหรี่ยงจะออกเสียงว่า “โตว” คำว่า ตง หรือ โตว นี่คงจะมาจากเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ ยาว 1 ปล้อง เจาะเป็นช่องตรงกลางเพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาน (จีรภา อินทะนิน, 2566)