หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

จาก KPPStudies
ไบยังการนำทาง ไปยังการค้นหา

บทนำ[แก้ไข]

         หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์ ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปเชียงแสน สิงห์หนึ่งขนาดใหญ่ มีหน้าตักกว้าง 2.87 เมตร สูงเกือบ 3 เมตร ถูกพบที่ริมคลองสวนหมากในลักษณะคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่แต่มีลักษณะประหลาดคือ มีดินที่หุ้มไม่มิด และมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมีเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสว่างอารมณ์ จึงขอให้หลานชายและชาวบ้านช่วยกันถางเถาวัลย์ออกจึงพบกับพระพุทธรูปเชียงแสนขนาดใหญ่ เห็นพระพักตร์เหมือนอยู่ในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์  เรื่องบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) ประวัติความเป็นมาของวัดสว่างอารมณ์ 2) ประวัติของหลวงพ่อบุญมี เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสว่างอารมณ์ 3) ความเป็นมาของหลวงพ่ออุโมงค์        4) ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหลวงพ่ออุโมงค์และ 5) วิธี/ขั้นตอน/กระบวนการในการสักการะหลวงพ่ออุโมงค์

คำสำคัญ: หลวงพ่ออุโมงค์, กำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาวัดสว่างอารมณ์[แก้ไข]

         วัดสว่างอารมณ์ตั้งอยู่บริเวณปากคลองสวนหมาก เป็นวัดที่สร้างขึ้นด้วยศิลปะแบบพม่าผสมไทยโดยพ่อค้าชาวพม่า ภายในวัดมีปูชนียวัตถุที่สำคัญ คือ หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของ จังหวัดกำแพงเพชร พุทธลักษณะงดงาม บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกำแพงเพชร และอาณาจักรล้านนาในอดีต โดยประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหาร จากคำบอกเล่า พบหลวงพ่ออุโมงค์ในบริเวณเนินดินลักษณะคล้ายจอมปลวก ซึ่งชาวบ้านได้ขุดและพบโดยบังเอิญ โดยปรากฏลักษณะเหมือนประดิษฐานอยู่ภายในอุโมงค์ จึงเป็นที่มาของชื่อ หลวงพ่ออุโมงค์ ภายในวัดยังมีส่วนอื่น ๆ ที่น่าสนใจ เช่น ศาลาเก่าของวัดท่าหมัน ภายในประดิษฐาน หลวงพ่อมหามงคลนิมิต พระพุทธรูปศิลปะพม่า และมณฑปแบบพม่า 
         ผู้เขียนสรุปได้ว่า วัดสว่างอารมณ์ตั้งอยู่ที่ปากคลองสวนหมาก รูปแบบวัดเป็นศิลปะแบบพม่าผสมกับไทย ภายในวัดมีหลวงพ่ออุโมงค์ที่เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร และบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองกำแพงเพชรกับอาณาจักรล้านนาในอดีตและนอกจากหลวงพ่ออุโมงค์ ภายใน   วัดสว่างอารมณ์ยังมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย
         จากคำบอกเล่าเมื่อชุมชนเจริญขึ้นสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของคนไทยคือ วัด ชาวบ้านจึงมีการรวบรวมทุนทรัพย์สร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น เรียกว่า วัดซึ่งอยู่กลางหมู่บ้าน มีบริเวณประมาณ 4 – 5 ไร่ มีท่าน้ำ เป็นที่ขึ้นลงของล้อเกวียน เพื่อลากเข็นข้าวจากนามาเก็บไว้ยังยุ้งฉาง เผอิญท่าน้ำนั้นมีต้นหมันใหญ่เป็นสัญลักษณ์ จึงเรียกว่า “วัดท่าหมัน” หัวหน้าก่อสร้างวัดนี้ ชื่อว่าอาจารย์ช่วย ได้บวชอยู่จนมรณภาพ ชาวบ้านเห็นคุณงามความดีได้เก็บอัฐิก่อเป็นสถูปไว้เป็นที่ระลึก (อยู่ตรงหน้าบ้าน ส.รังคภูติ) เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นจึงได้รื้อถอนทิ้งไป เมื่ออาจารย์ช่วยมรณภาพ ได้มีอาจารย์แก้ว มาเป็นอาจารย์วัดได้บูรณะซ่อมแซมกว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ผู้คนจึงมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัด “ท่าหมันแก้วปุณณวาสน์” ซึ่งวัดเคยใช้เป็นโรงเรียนประชาบาลตำบล คลองสวนหมาก (นครชุม) เป็นโรงเรียนหลังแรก โรงเรียนประชาบาลตำบล คลองสวนหมาก 1 (วัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์) เมื่ออาจารย์แก้วสึกออกไป ได้มีอาจารย์ปลั่ง วังลึก เป็นเจ้าอาวาส ทำความเจริญให้แก่วัดยิ่งขึ้น ส่วนทางทิศเหนือของลำคลองสวนหมาก มีวัดเดิมอยู่ก่อนแล้ว อยู่บริเวณที่คลองสวนหมาก ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำปิง ไม่ทราบประวัติว่าใครเป็นผู้สร้าง เรียกกันว่า “วัดสองพี่น้อง” ปัจจุบันคือวัดสว่างอารมณ์  
         ผู้เขียนสรุปได้ว่า เมื่อชุมชนเจริญขึ้นชาวบ้านจึงรวบรวมทุนทรัพย์เพื่อสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น เรียกว่า วัด มีพื้นที่ประมาณ 4-5 ไร่ มีท่าน้ำที่มีต้นหมันขาดใหญ่จึงเรียกว่า วัดท่าหมัน หัวหน้าที่ก่อสร้างวัดนี้คือ อาจารย์ช่วย ซึ่งท่านได้บวชจนมรณภาพชาวบ้านจึงเก็บอัฐิก่อเป็นสถูปไว้แต่ตอนนี้ได้รื้อถอนไปแล้ว ต่อมาได้มีอาจารย์มาเป็นอาจารย์วัดและซ่อมแซมวัดให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม ชาวบ้านจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์ ต่อมาอาจารย์แก้วสึกออกไป ได้มีอาจารย์ปลั่ง วังลึก มาเป็นเจ้าอาวาส ส่วนทางทิศเหนือของลำคลองสวนหมากได้มีวัดอยู่แล้วเรียกว่าวัดสองพี่น้อง ปัจจุบันคือวัดสว่างอารมณ์
         วัดสว่างอารมณ์สร้างอยู่ในที่ดินเดิมของวัดร้างชื่อ วัดสองพี่น้อง เพราะบริเวณบ้านปากคลองเหนือเดิม มีวัดอยู่วัดหนึ่ง ห่างจากวัดสองพี่น้องไปทางเหนือน้ำของคลองสวนหมาก ประมาณ 800 เมตรแต่อยู่ฝั่งตรงข้ามเป็นวัดกลางหมู่บ้าน มีเนื้อที่ประมาณ 4 – 5 ไร่ มีท่าน้ำเป็นที่ขึ้น-ลงของล้อเกวียน ที่ลากเข็นข้าวจากนามาเก็บไว้ยังยุ้งฉาง ที่ท่าวัดนั้นมีต้นหมันใหญ่เป็นสัญลักษณ์ จึงได้ชื่อว่า “วัดท่าหมัน”
         ส่วนวัดสองพี่น้องนั้น มีความสัมพันธ์กับวัดท่าหมันอย่างใกล้ชิด เมื่อเดิมเป็นวัดร้าง ก็กลายเป็นที่หาของป่า ประเภทผักพื้นบ้านเห็ดและหน่อไม้ เป็นที่เผาศพและฝังศพ แล้วยังใช้เป็นที่ผูกช้างชั่วคราวของบริษัททำไม้ธัญญผลล่ำซำ จำกัด และช้างของชาวบ้าน ในเวลาที่นำช้างเข้าเมืองเพื่อเตรียมเสบียงอาหารก่อนเข้าไปทำงานในป่า 
         ผู้เขียนสรุปได้ว่า วัดสองพี่น้องเดิมเคยเป็นวัดร้าง จึงกลายเป็นที่หาของป่า เป็นที่เผาศพและฝั่งศพ แล้วยังใช้สำหรับผูกช้างไว้ชั่วคราวของบริษัททำไม้ และช้างของชาวบ้านเวลาที่จะนำช้างเข้าเมืองเพื่อเตรียมอาหารก่อนเข้าป่า
         ทั้งนี้ มีสตรีชาวมอญคนหนึ่งจากจังหวัดตากชื่อ แม่สายทอง ได้มาเป็นสะใภ้ของบ้านปากคลองเหนือในสกุลโตพุ่ม ได้นำพี่ชายซึ่งบวชเป็นพระ มาอยู่วัดสองพี่น้องด้วยองค์หนึ่ง ชื่อหลวงพ่อบุญมี โดยมีครอบครัวของน้องสาวเป็นโยมอุปัฏฐาก หลวงพ่อบุญมี ได้สังเกตเห็นว่าภายในวัดมีจอมปลวกใหญ่มีลักษณะประหลาด คือดินหุ้มไม่มิด ทางด้านที่หันหน้าสู่คลองสวนหมาก มีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมีจึงขอให้หลานชายซึ่งขณะนั้นเป็นกำนัน ชื่อกำนันชิน โตพุ่ม นำราษฎร และควาญช้างช่วยกันถางเถาวัลย์ออก ก็พบพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ หน้าตักกว้างประมาณ 2.87 เมตร สูงประมาณ 3 เมตร มีพุทธลักษณะงดงามยิ่ง (นับว่าเป็นหลักฐานสำคัญประกอบข้อเท็จจริงระหว่างความสัมพันธ์ของเมืองกำแพงเพชรกับหัวเมืองฝ่ายเหนือ) อยู่ภายในจอมปลวกนั้น และได้ทลายกองดินที่หุ้มองค์พระออกทั้งหมด ชาวบ้านที่อยู่ตรงข้ามกับวัดท่าหมันก็เริ่มมาทำบุญที่วัดสองพี่น้องทำให้คลายความน่ากลัวจากการเป็นวัดร้างไปได้มาก แต่ก็ยังใช้เป็นที่เผาศพและฝังศพเหมือนเดิม 
         ต่อมาเมื่อปี 2490 น้ำคลองสวนหมากได้กัดเซาะตลิ่งบริเวณท่าน้ำของวัดท่าหมันเข้าไปเกือบถึงศาลา ทางกรรมการวัดเห็นว่าเป็นอันตรายเพราะศาลาสร้างแบบตั้งเสาบนดิน ไม่ได้ฝังเสาแบบศาลาทั่วไป จึงได้ย้ายศาลาไปยังวัดสองพี่น้อง โดยมี ส่างหม่อง พ่อค้าไม้อีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณตาของตระกูลมากกุญชร ที่นครชุมในปัจจุบัน เป็นคู่เขยของพะโป้ และยังมีลูกสาวคนหนึ่งแต่งงานกับลูกชายแม่สายทอง เป็นแม่กองงานคุมราษฎรและควาญช้าง ทำการรื้อศาลาและผู้จัดการบริษัททำไม้ธัญญะผลล่ำซำ จำกัด ชื่อนายจุลินทร์ ล่ำซำ เป็นผู้ออกค่าจ้างก่อสร้างใหม่ โดยนำช่างจากจังหวัดตากมาสร้าง ชาวบ้านปากคลองเหนือจึงย้ายไปทำบุญที่วัดสองพี่น้อง โดยเดินข้ามคลองในฤดูแล้งและใช้เรือถ่อ เรือพายในฤดูน้ำหลาก เปลี่ยนชื่อวัดสองพี่น้องเป็นวัดสว่างอารมณ์ 
         วัดสว่างอารมณ์ มีหลวงพ่อบุญมี เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก เพราะอาจารย์ปลั่ง วังลึก ได้ลาสิกขาบทเสียก่อนโรงเรียนวัดท่าหมันแก้วปุณณวาสน์ ได้ย้ายไปตั้งที่ใหม่ ปัจจุบันคือ โรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร (บ้านนครชุม) วัดท่าหมันจึงหมดความสำคัญลง ที่ดินของวัดอยู่ในความดูแลของวัดสว่างอารมณ์ ได้ให้เอกชนเช่าทำที่อยู่อาศัยและสร้างอาคารพาณิชย์ กลายเป็นส่วนหนึ่งของตลาดนครชุม (กาญจนา จันทร์สิงห์, 2549)
         ผู้เขียนสรุปได้ว่า วัดสว่างอารมณ์มีหลวงพ่อบุญมีเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ส่วนโรงเรียนวัดท่าหมัน แก้วปุณณวาสน์ ได้ย้ายไปตั้งที่ใหม่ ปัจจุบันคือโรงเรียนอนุบาลเมืองกำแพงเพชร (บ้านนครชุม) วัดท่าหมันจึงหมดความสำคัญลงที่ดินของวัดจึงอยู่ในความดูแลของวัดสว่างอารมณ์ 

ประวัติหลวงพ่อบุญมี ธมฺมสโร เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสว่างอารมณ์[แก้ไข]

         จากประโยคที่ว่า “เนื้อเหมือนเนื้อ ถ้าไม่เอื้อก็เหมือนเนื้อกลางป่า เนื้อไม่เหมือนเนื้อ ถ้าเอื้อ ถ้าเฝี้อ ก็เหมือนเนื้ออาตมา” นี่คือวาทะของพระภิกษุชาวมอญ ที่มาธุดงค์จากจังหวัดตากมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้อง แห่งนี้ มีครอบครัวหนึ่ง น้องสาวชื่อ แม่สายทอง สะใภ้ของตระกูลโตพุ่ม เป็นโยมอุปัฏฐาก ท่านเป็นผู้สังเกตเห็นจอมปลวกประหลาดริมคลองสวนหมาก เมื่อถางแล้วก็พบวิหารคล้ายอุโมงค์ มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ภายในต่อมาท่านได้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสว่างงอารมณ์ ท่านมีเมตตาสูง ในสมัยของท่านนั้น โรงครัวจะมีอาหารสำหรับคนเดินทางไม่เคยขาด และท่านมีฌานถึงขั้นวาโยกสิณ เรื่องจริงมีว่า ในปี2485 ไฟไหม้ตลาดนครชุมลามมาตามบ้านเรือนริมคลอง ถึงบ้านเลขที่ 059 ท่านได้ไปเพ่งกสิณใกล้บริเวณนั้นโบกพัดในมือ 3 ครั้ง ลมก็เปลี่ยนทิศ ไฟก็หยุดลุกลาม ท่านมรณภาพในท่านั่งสมาธิ เมื่อมีการฌาปนกิจท่าน เหรียญรูปเหมือนของท่านที่ทำแจกในงาน ก็มีพุทธคุณแคล้วคลาด ปลอดภัยอีกด้วย (วัดสว่างอารมณ์, 2563) 
         ผู้เขียนสรุปได้ว่า หลวงพ่อบุญมี คือ พระภิกษุชาวมอญ ที่ธุดงค์มาจากจังหวัดตากแล้วได้มาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้อง ท่านได้สังเกตเห็นจอมปลวกชนาดใหญ่ที่ริมคลองสวนหมาก จึงใช้ให้ชาวบ้านไปถางและพบวิหารคล้ายอุโมงค์ ดังภาพที่ 1 
3 หลวงพ่อบุญมี.jpg

ภาพที่ 1 หลวงพ่อบุญมี ธมฺมสโร เจ้าอาวาสองค์แรงของวัดสว่างอารมณ์

ความเป็นมาของหลวงพ่ออุโมงค์[แก้ไข]

         หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสนองค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์หนึ่ง แต่ที่มีลักษณะคล้ายสิงห์สามซึ่งอาจจะเกิดจากการบูรณะ หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ในวิหารริมคลองสวนหมาก 
         มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชรมิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือเมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คนมาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช 1600 อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป ข้อสันนิษฐานข้อที่สองคือ เมื่อพระเจ้าชัยศิริ มาสร้างเมืองแปบ ในเขตกำแพงเพชร ได้สร้างหลวงพ่ออุโมงค์ขึ้น เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของพระสมัยเชียงแสนที่ปากคลองสวนหมาก
         ผู้เขียนสรุปได้ว่า มีข้อสันนิษฐานมากมายว่า หลวงพ่ออุโมงค์มาอยู่ที่กำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชรไม่ได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานแรกคือเมื่อพระเจ้าชัยสิริ อพยพคนมาตั้งเมืองแปบ ที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อพุทธศักราช 1600 อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย ข้อสันนิษฐานข้อที่สองคือ เมื่อพระเจ้าชัยสิริมาสร้างเมืองแปบ จึงได้สร้างหลวงพ่ออุโมงค์ขึ้น
         หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงกว่า 3 เมตร ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิ อยู่บริเวณพระนาภี พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่ ฐานมีบัวรอง ทั้งบัวคว่ำและบัวหงาย ฐานจมอยู่ระดับเดียวกับพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา (ศรีศักร วัลลิโภดม) งดงามอย่างที่สุด  
         ผู้เขียนข้อมูลสรุปได้ว่า หลวงพ่ออุโมงค์มีหน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงกว่า 3 เมตร เป็นปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิ อยู่บริเวณพระนาภี พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่ ฐานมีบัวรอง ทั้งบัวคว่ำและบัวหงาย
         หลวงพ่อบุญมีและหลวงพ่อทองหล่อ อดีตเจ้าอาวาสวัดสว่างอารมณ์ ได้เล่าให้ฟังว่า แต่เดิมหลวงพ่ออุโมงค์อยู่ริมคลองสวนหมาก พบในลักษณะคล้ายจอมปลวกขนาดใหญ่มีลักษณะประหลาด คือมีลักษณะดินหุ้มไม่มิด ทางด้านที่หันหน้าสู่คลองสวนหมากมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่รกทึบปกคลุมอยู่ หลวงพ่อบุญมีจึงขอให้หลานชายซึ่งขณะนั้นเป็นกำนัน ชิน โตพุ่ม นำราษฎร และควาญช้าง ช่วยกันถางเถาวัลย์ออก จึงพบพระพุทธรูปแบบเชียงแสนขนาดใหญ่ เห็นพระพักตร์เหมือนอยู่ในอุโมงค์ จึงเรียกกันว่าหลวงพ่ออุโมงค์ สันนิษฐานว่า คงหลบพวกพม่าที่มาตีเมืองในสมัยนั้น หรือปาฏิหาริย์ของท่านก็ไม่อาจทราบได้ หลังจากนั้นได้ทำวิหารถวายหลวงพ่ออุโมงค์ ปิดทองหลวงพ่ออุโมงค์ใหม่ทั้งองค์ 
         หลวงพ่อทองหล่อเล่าต่อไปว่า พระพุทธรูปหลวงพ่ออุโมงค์นี้ศักดิ์สิทธิ์นัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการที่ขอในเรื่องการสอบบรรจุศึกษาต่อ โดยมักจะแก้บนด้วยพวงมาลัยทั้งสดและแห้ง มีผู้ประสบความสำเร็จบ่อยครั้ง หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเมืองกำแพงเพชร มีพุทธลักษณะที่งดงามหาที่เปรียบมิได้ ถ้ามากำแพงเพชรควรจะได้มีโอกาสไปสักการบูชาหลวงพ่ออุโมงค์จะเป็นสิริมงคลต่อตนเองอย่างที่สุด ชาวปากคลองสวนหมากเชื่อว่า ในองค์หลวงพ่ออุโมงค์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เล่ากันว่าวันดีคืนดีพระบรมสารีริกธาตุจะแสดงปาฏิหาริย์เป็นดวงไฟกลมโต ลอยวนรอบวิหารหลวงพ่ออุโมงค์ ปัจจุบันนี้หลวงพ่ออุโมงค์ได้รับเลือกจากชมรมพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดกำแพงเพชร (สันติ อภัยราช, 2558) ดังภาพที่ 2 
1 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 2 หลวงพ่ออุโมงค์

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม[แก้ไข]

         มีพระเกศาเป็นก้นหอย พระเกตุมาลาเป็นดอกบัวตูม พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระขนงโก่ง พระเนตรโต เหลือบต่ำ พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม มีเส้นปล้องพระศอสามเส้น ดังภาพที่ 3
4 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 3 หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์

         พระอุระนูน ครองจีวรห่มเฉียงไปทางด้านขวา ขัดสมาธิราบ ฐานมีบัวรอง ทั้งบัวคว่ำและบัวหงาย ดังภาพที่ 4
5 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 4 หลวงพ่ออุโมงค์

         หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงกว่า 3 เมตร ขัดสมาธิราบพระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิ อยู่บริเวณพระนาภี พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่ ฐานมีบัวรอง ทั้งบัวคว่ำและบัวหงาย ดังภาพที่ 5 
ภาพที่ 5 หลวงพ่ออุโมงค์.jpg

ภาพที่ 5 หลวงพ่ออุโมงค์

วิธี/ขั้นตอน/กระบวนการในการสักการะ[แก้ไข]

         เข้าไปในวิหารหลวงพ่ออุโมงค์ จะพบกับจุดกราบไหว้ หน้าหลวงพ่ออุโมงค์องค์จำลอง โดยการกราบไหว้หรือสักการะจะใช้ธูปทั้งหมด 3 ดอก และกล่าวคาถาบูชาหลวงพ่ออุโมงค์ จะมีคาถาบูชาหลวงพ่ออุโมงค์ อยู่ด้านหน้าของหลวงพ่ออุโมงค์ หรือ คนส่วนมากจะกราบไหว้ บูชา ขอพรหลวงพ่ออุโมงค์ด้วยพวงมาลัยดอกไม้สด หรือพวงมาลัยดอกไม้แห้ง

บทสรุป[แก้ไข]

         ความเป็นมาของวัดสว่างอารมณ์ พบว่าวัดสว่างอารมณ์ตั้งอยู่ที่คลองสวนหมาก เป็นวัดที่มีศิลปะแบบพม่าผสมไทย ที่วัดสว่างอารมณ์มีหลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในกำแพงเพชร วัดสว่างอารมณ์เดิมแล้ว คือวัดร้างชื่อวัด สองพี่น้อง จนมีสตรีชาวมอญคนหนึ่งมาจากตาก ชื่อแม่สายทอง ได้มาเป็นสะใภ้ที่ปากคลองเหนือและได้นำพี่ชายที่บวชเป็นพระมาอยู่ที่วัดสองพี่น้อง ชื่อหลวงพ่อบุญมี เมื่อปี 2490 น้ำได้เซาะตลิ่งของวัดท่าหมัน กรรมการวัดจึงย้ายศาลาวัดท่าหมันมาไว้ที่วัดสองพี่น้อง ชาวบ้านจึงช่วยกันสร้างศาลาและชาวบ้านจึงย้ายมาทำบุญที่วัดสองพี่น้องและได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดสว่างอารมณ์ โดยมีหลวงพ่อบุญมีเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ประวัติหลวงพ่อบุญมี ธมฺมสโร เจ้าอาวาสองค์แรกของวัดสว่างอารมณ์ พบว่า หลวงพ่อบุญคือพระภิกษุชาวมอญที่มาจากจังหวัดตาก แล้วมาจำพรรษาที่วัดสองพี่น้อง และท่านได้สังเกตจอมปลวกขนาดใหญ่ที่มีลักษณะแปลก ๆ จึงให้ชาวบ้านถางออกและพบกับหลวงพ่ออุโมงค์ ความเป็นมาของหลวงพ่ออุโมงค์พบว่า หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปเชียงแสน ถูกพบที่วัดสว่างอารมณ์  มีสองข้อสันนิษฐานว่าท่านได้มาอยู่ที่กำแพงเพชรได้อย่างไร ซึ่งข้อสันนิษฐานแรกคือ เมื่อพระเจ้าชัยสิริอพยพผู้คนมาสร้างเมืองแปบ ในราวพุทธศักราช 1600 อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาด้วย ข้อสันนิฐานที่สองคือ เมื่อพระเจ้าชัยศิริมาสร้างเมืองแปบได้สร้างหลวงพ่ออุโมงค์ขึ้น ลักษณะทางสถาปัตยกรรม พบว่า หลวงพ่ออุโมงค์เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ หน้าตักกว้าง 2 เมตร สูงกว่า 3 เมตร ขัดสมาธิราบ พระองค์อวบอ้วน พระอุระนูน ชายสังฆาฏิ อยู่บริเวณพระนาภี พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่ ฐานมีบัวรอง ทั้งบัวคว่ำและบัวหงายวิธี/ขั้นตอน/กระบวนการในการสักการะ พบว่าคนส่วนใหญ่จะนิยมมากราบไหว้และขอพรเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องค้าขาย เรื่องการเรียน การบูชาขอพร ผู้คนมักจะใช้พวงมาลัยดอกไม้สด หรือพวงมาลัยดอกไม้แห้ง มาบูชาหลวงพ่ออุโมงค์

บรรณานุกรม[แก้ไข]

    กาญจนา จันทร์สิงห์. (2549). วัดสว่างอารมณ์. เข้าถึงได้จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=286&code_db=610009&code_type=01
    วัดสว่างอารมณ์. (2563). แผ่นผับโฆษณาและประชาสัมพันธ์วัดสว่างอารมณ์. กำแพงเพชร.
    สันติ อภัยราช. (2549). หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์. เข้าถึงได้จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1423&code_db=610012&code_type=01
    ----------. (2558). หนังสืออาจารย์สันติ. เข้าถึงได้จาก http://sunti-apairach.com/book/AllBookshowSec1_01.php